อาการปวดกระเพาะ/ท้อง (Stomach ache และ abdominal pain) มักใช้เรียกอาการปวดบิดหรือปวดตื้อ ๆ ภายในท้องของคุณ และมักจะมีระยะเวลาสั้น ๆ และไม่ใช่เรื่องร้ายแรง
อาการปวดท้องรุนแรงมักจะมาจากสาเหตุที่น่ากังวลใจต่าง ๆ และหากเกิดขึ้นกะทันหันหรือไม่ทันคาดคิด ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุของอาการนี้ โดยเฉพาะหากมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นที่ท้องเท่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดท้องและท้องอืด
อาการปวดท้องที่มีอาการท้องอืดร่วมด้วยมักเกิดมาจากลมภายในกระเพาะที่มีมากเกิน อาการนี้เกิดขึ้นบ่อยมากและอาจเป็นเรื่องที่น่าอับอายแต่ก็สามารถจัดการได้ง่ายมาก ๆ
เภสัชกรอาจทำการแนะนำยาทั่วไปอย่าง buscopan หรือ mebeverine แก่คนไข้ที่มีอาการนี้
ปวดท้องและท้องร่วงกะทันหัน
หากคุณมีอาการปวดท้องไม่นานและตามด้วยอาการท้องร่วง (diarrhoea) อาจเกิดมาจากการติดเชื้อที่กระเพาะอาหารและลำไส้ (gastroenteritis) ซึ่งสามารถดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ภาวะติดเชื้อที่กระเพาะอาหารและลำไส้อาจเกิดมาจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือจากการรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ (ภาวะอาหารเป็นพิษ)
หากคุณประสบกับอาการปวดท้องและท้องร่วงบ่อยครั้ง อาจบ่งชี้ว่าคุณเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวต่าง ๆ เช่นโรคลำไส้แปรปรวน ( irritable bowel syndrome - IBS) เป็นต้น
ปวดท้องรุนแรงและกะทันหัน
หากคุณมีอาการปวดรุนแรงกะทันหัน ควรติดต่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรงที่จะทรุดลงเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุร้ายแรงที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงมีดังนี้:
- ภาวะไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis): ภาวะบวมขึ้นของไส้ติ่ง (ถุงเนื้อคล้ายนิ้วที่เชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่) ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงที่หน้าท้องล่างทางขวามือ และต้องทำการผ่าตัดไส้ติ่งรักษา
- ภาวะเลือดออกหรือหรือกระเพาะอาหารเป็นรู (perforated stomach ulcer): การเลือดออกและแผลเปิดที่ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือ duodenum (ส่วนแรกของลำไส้เล็ก)
- โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (acute cholecystitis): ภาวะอักเสบที่ถุงน้ำดีที่มักเกิดจากนิ่ว หลาย ๆ กรณีรักษาได้ด้วยการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออก
- นิ่วไต (kidney stones): นิ่วขนาดเล็กสามารถเคลื่อนออกจากปัสสาวะได้ แต่นิ่วที่มีขนาดใหญ่สามารถเข้าไปอุดตันท่อไตต่าง ๆ ได้ โดยคุณจำต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อนำนิ่วออก
- โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (diverticulitis): การอักเสบของถุงขนาดเล็กภายในลำไส้ที่จำต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล
หากแพทย์คาดว่าคุณประสบกับภาวะสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น คุณจะถูกส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที โดยอาการปวดท้องรุนแรงกะทันหันอาจเกิดมาจากการติดเชื้อที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ หรืออาจเกิดมาจากกล้ามเนื้อดึงตัวหรือจากการบาดเจ็บก็ได้
อาการปวดท้องเรื้อรังหรือระยะยาว
ควรไปพบแพทย์เมื่อคุณหรือลูกของคุณมีอาการปวดท้องซ้ำซากแม้ว่าสาเหตุของอาการมักจะไม่ร้ายแรงและอาจจะสามารถจัดการได้ก็ตาม โดยสาเหตุทั่วไปที่พบกับผู้ใหญ่มีดังนี้:
IBS: ภาวะทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง หรือท้องผูกบ่อยครั้ง ความเจ็บปวดจากโรคนี้มักจะลดลงหลังการทำธุระ
โรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease - IBD): ภาวะระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของลำไส้ เช่นโรคโครห์น (Crohn's disease) และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis)
การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection - UTI) ชนิดที่เกิดเรื้อรัง: กรณีเช่นนี้คุณมักจะประสบกับอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ท้องผูก (constipation)
ปวดประจำเดือน: อาการปวดบิดของกล้ามเนื้อในผู้หญิงที่เชื่อมโยงกับการมีรอบประจำเดือน
ปัญหาที่กระเพาะอาหารอื่น ๆ : เช่นแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน หรือโรคผนังลำไส้อักเสบ เป็นต้น
สาเหตุทั่วไปที่พบกับเด็กมีดังนี้: ท้องผูก UTI ชนิดเรื้อรัง แสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน ภาวะไมเกรนช่องท้อง (abdominal migraines): ภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องซ้ำซากโดยไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด