กลุ่มยาสแตติน (Statins)

แนะนำยาในกลุ่มสแตติน ยาลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในกระแสเลือด ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กลุ่มยาสแตติน (Statins)

กลุ่มยาสแตติน (Statins) คือ กลุ่มยาที่ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในกระแสเลือด (LDL) ซึ่งหากมีระดับไขมันชนิดนี้สูงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก อาจนำไปสู่การตีบตันของหลอดเลือดแดง หรือก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจนอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และเพิ่มปริมาณไขมันตัวที่ดี (HDL) ได้

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มสแตติน

ยากลุ่มสแตติน หรือเรียกอีกชื่อว่า HMG-CoA reductase inhibitors มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA Reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญที่กระตุ้นการสร้างสเตอรอล (Sterols) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างคอเลสเตอรอลในตับต่อไป ดังนั้นด้วยกลไกนี้ยาจะช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กลุ่มยาสแตตินที่ใช้ในประเทศไทย

การเลือกใช้ยากลุ่มสแตตินนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย มีหลากหลายชนิดและความแรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย ระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วย และโรคร่วมหรือโรคประจำตัวของผู้ปวยแต่ละราย ยาสแตตินสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ตามประสิทธิในภาพในการลดไขมันชนิด LDL ดังตารางนี้

High intensity Statin
(ลดระดับ LDL ก่อนเริ่มรักษาลงได้มากกว่า 50%)
Moderate intensity Statin
(ลดระดับ LDL ก่อนเริ่มรักษาลงได้มากกว่า 30-50%)
Low intensity Statin
(ลดระดับ LDL ก่อนเริ่มรักษาลงได้มากกว่า 30%)
Atorvastatin 40-80 mg
Rosuvastatin 20 mg
Simvastatin 20-40 mg
Atorvastatin 10-20 mg
Rosuvastatin 5-10 mg
Pravastatin 40 mg
Fluvastatin 80 mg
Pitavastatin 2-4 mg
Simvastatin 10 mg
Pravastatin 10-20 mg
Fluvastatin 20-40 mg
Pitavastatin 1 mg


รายละเอียดของข้อดี-ข้อเสีย ของยาแต่ละตัว มีดังนี้

  1. Simvastatin เป็นยาแรกที่มักจะถูกเลือกใช้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี ราคาไม่แพง และอยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล สำหรับลดไขมันในเลือดจะรับประทาน 10-40 มิลลิกรัม วันละครั้ง เวลาเย็น อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจเกิดปฏิกิริยากับยาหลายชนิด มีผลข้างเคียงต่อตับ ไต และกล้ามเนื้อได้
  2. Atorvastatin รับประทาน 10-80 มิลลิกรัม วันละครั้ง ประสิทธิภาพสูง อยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล มีผลต่อไตน้อย จะใช้เมื่อผู้ป่วยใช้ยา Simvastatin ในขนาด 40 มิลลิกรัมติดต่อกัน 6 เดือนแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับ LDL ได้ถึงค่าเป้าหมาย หรือเกิดผลข้างเคียงจากยา Simvastatin ข้อเสียคือ ยานี้เกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ เช่น ยาต้านไวรัส ยามะเร็งบางชนิด
  3. Fluvastatin รับประทาน 20-80 มิลลิกรัม วันละครั้ง มีประสิทธิภาพการลดไขมันต่ำกว่ายา Simvastatin แต่เกิดปฏิกิริยากับยาอื่นได้น้อยกว่า และมีผลต่อไตต่ำ ไม่อยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล
  4. Pitavastatin รับประทาน 1-2 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดรับประทานสูงสุดเป็น 4 มิลลิกรัมต่อวัน เกิดปฏิกิริยากับยาอื่นได้น้อย มีผลข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อน้อย ไม่อยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล
  5. Pravastatin รับประทานที่ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง จากนั้นปรับเป็นขนาดเพื่อคงระดับการรักษา 10-40 มิลลิกรัมต่อวัน เกิดปฏิกิริยากับยาอื่นได้น้อยมาก แต่มีผลข้างเคียงต่อไตสูง ไม่อยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล
  6. Rosuvastatin รับประทานที่ 5-10 มิลลิกรัม วันละครั้ง หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ อาจปรับขนาดรับประทานเป็นวันละ 20 มิลลิกรัม เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลด LDL ราคาสูง ไม่อยู่ในบัญชียาหลักในโรงพยาบาล ใช้เมื่อผู้ป่วยมีระดับ LDL สูงและใช้ยาอื่นไม่ได้ผล

ผลข้างเคียงของการใช้ยากลุ่มสแตติน

โดยทั่วไป ยากลุ่มสแตตินจะมีผลข้างเคียงต่ำ แต่ก็อาจมีได้ในบางราย ผลดังกล่าว ได้แก่ ปวดท้อง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ เป็นต้น กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากกลุ่มยาสแตตินสูง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย ผู้ป่วยโรคหัวใจ

ยาสแตตินยังส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ โดยถ้าผู้ป่วยรู้สึกปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาระดับครีเอติน ไคเนส (Creatine Kinase (CK)) ซึ่งจะเป็นสารที่หลั่งออกมาในเลือดเมื่อมีกล้ามเนื้ออักเสบหรือถูกทำลาย

ค่าครีเอติน ไคเนส หากมีการตรวจวัดได้เกินกว่า 5 เท่าของค่าปกติ แพทย์อาจสั่งให้หยุดยาสแตติน เมื่อค่าครีเอติน ไคเนส กลับสู่ปกติ แพทย์จึงจะแนะนำให้กลับมาใช้ยา แต่ในขนาดที่ต่ำลงกว่าเดิมเพื่อป้องกันการทำลายกล้ามเนื้ออีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Preventive Services Task Force. "Statin Use for the Primary Prevention of Cardiovascular Disease in Adults - US Preventive Services Task Force Recommendation Statement." JAMA. November 16, 2016; 316(19):1997-2007. DOI: 10.1001/jama.2016.15450. (https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2584058)
Taylor, F.; Huffman, M.; and Ebrahim, S. "Statin Therapy for Primary Prevention of Cardiovascular Disease." JAMA. 2013; 310(22):2451-2. DOI: 10.1001/jama.2013.281348. (https://jamanetwork.com/journals/jama/article-abstract/1785551)
Thai Atherosclerosis Society, 2016 RCPT Dyslipidemia Clinical Practice Guideline (http://www.thaiheart.org/images/column_1487762586/2016%20RCPT%20Dyslipidemia%20Clinical%20Practice%20Guideline.pdf), 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม