คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร ?

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นการติดเชื้อของน้ำในไขสันหลัง ซึ่งน้ำดังกล่าวก็อยู่รอบ ๆ สมองเช่นกัน โดยบางครั้งก็อาจเรียกว่า spinal meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบมักมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การทราบสาเหตุเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากความรุนแรงของโรคและการรักษานั้นต่างกัน

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสนั้นมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าและหายได้โดยไม่ต้องให้การรักษาเฉพาะทาง ในขณะที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียอาจมีอาการค่อนข้างรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง การสูญเสียการได้ยิน หรือความบกพร่องในการเรียนรู้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในกรณีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย การทราบว่าแบคทีเรียชนิดใดเป็นตัวก่อโรคก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันเชื้อบางชนิดจากการแพร่กระจายและป้องกันไม่ให้ผู้อื่นติดเชื้อได้ ก่อนทศวรรษ 1990 Haemophilus influenza type b (Hib) เป็นเชื้อโรคหลักที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย แต่วัคซีนชนิดใหม่ ๆ ที่ให้กับเด็กทุกคนโดยเป็นส่วนหนึ่งของการได้รับวัคซีนตามมาตรฐานก็ช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคที่รุนแรงจากเชื้อดังกล่าวได้ โดยทุกวันนี้  Streptococcus pneumonia และ Neisseria meningitidies เป็นสาเหตุหลักของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการและอาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอะไรบ้าง ?

ไข้สูง ปวดศีรษะ และคอแข็ง เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ที่มีอายุมากกว่าสองปี อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาหลายชั่วโมง หรืออาจใช้เวลาหนึ่งถึงสองวัน อาการอื่น ๆ อาจมีทั้งคลื่นไส้อาเจียน ไม่สบายตาเมื่อต้องมองแสงจ้า สับสน และง่วงซึม ในทารกและเด็กเล็กอาจไม่พบอาการไข้ ปวดศีรษะ และคอแข็งที่มักพบได้ตามปกติ หรืออาจตรวจพบได้ยาก โดยเด็กเล็กอาจเพียงแค่ดูช้าๆ หรืออาจจะหงุดหงิด อาเจียน หรือกินได้น้อยลง เมื่อโรคเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการชักได้ ไม่ว่าอายุเท่าใดก็ตาม

จะวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อย่างไร ?

การวินิจฉัยให้ได้ตั้งแต่ระยะแรกและการรักษาเป็นสิ่งสำคัญมาก หากมีอาการ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที การวินิจฉัยมักทำได้จากการเพาะเชื้อจากตัวอย่างน้ำไขสันหลัง โดยได้น้ำไขสันหลังมาจากการเจาะตรวจ (spinal tap) ซึ่งจะแทงเข็มผ่านบริเวณหลังส่วนล่างเข้าไปยังบริเวณที่สามารถเก็บน้ำไขสันหลังมาตรวจได้

การระบุชนิดของแบคทีเรียที่ก่อโรคก็สำคัญต่อการเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องเช่นกัน

สามารถรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้หรือไม่ ?

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรคเป็นเรื่องสำคัญ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับแบคทีเรียก่อโรคที่พบได้บ่อยจะลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียให้ต่ำกว่า 15% ได้ ถึงแม้ว่าความเสี่ยงดังกล่าวจะสูงกว่าในผู้สูงอายุก็ตาม

เยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถติดต่อได้หรือไม่ ?

ได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียบางชนิดสามารถติดต่อได้ แบคทีเรียจะถูกแพร่กระจายผ่านทางการแลกเปลี่ยนลมหายใจและสารคัดหลั่งจากลำคอ (เช่น การไอ การจูบ) โชคดีที่ไม่มีแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดใดเลยที่ติดต่อได้ง่ายเหมือนกับโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และไม่ได้แพร่กระจายได้จากการสัมผัสหรือการหายใจเอาอากาศที่ผู้ป่วยใช้หายใจร่วมกันอยู่เข้าไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งแบคทีเรียก็แพร่กระจายไปสู่ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria meningitides (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า meningococcal meningitis) หรือเชื้อ Hib เป็นเวลานาน

คนที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือใครก็ตามที่ได้สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากปาก (เช่น แฟน) ถือว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria meningitides ควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้ติดโรค แต่ในตอนนี้ ไม่ได้แนะนำให้ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Hib ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ หากผู้สัมผัสมีอายุมากกว่าสี่ปีหรือน้อยกว่านั้นได้รับวัคซีนป้องกัน Hib ครบแล้ว

มีวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือไม่ ?

มี โดยมีทั้งวัคซีนป้องกัน Hib และบางสายพันธุ์ของ N. meningitides และหลาย ๆ ชนิดของ Streptococcus pneumonia วัคซีนสำหรับ Hib นั้นมีความปลอดภัยมากและมีประสิทธิภาพสูง

ยังมีวัคซีนที่ป้องกันสี่สายพันธุ์ของ N. meningitides ด้วย แต่ไม่ได้เป็นวัคซีนที่บรรจุอยู่ตามมาตรฐานในสหรัฐอเมริกา วัคซีนสำหรับเชื้อดังกล่าวยังใช้สำหรับการควบคุมการระบาดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria meningitides ในอเมริกาอีกด้วย

ควรรายงานว่ามีผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบให้ทางรัฐ หรือหน่วยงานสุขภาพท้องถิ่นรับทราบเพื่อติดตามผู้ใกล้ชิดหรือตรวจหาการระบาด นักศึกษามหาวิทยาลัยในปีการศึกษาใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในหอพักจัดว่ามีความเสี่ยงต่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria meningitides สูงกว่า และควรได้รับความรู้เกี่ยวกับวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้ว่าการระบาดใหญ่จะไม่ได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่บางประเทศก็มีการระบาดเป็นช่วง ๆ ผู้ที่เดินทางข้ามประเทศควรตรวจสอบว่ามีคำแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Neisseria meningitides สำหรับประเทศที่จะเดินทางไปหรือไม่ ผู้และควรได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนเดินทาง และสามารถขอรับข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่แนะนำให้รับวัคซีนดังกล่าวได้ โดยการติดต่อองค์การควบคุมและป้องกันการระบาด (CDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ (404)-332-4565

มีวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจาก S. pneumoniae (เรียกอีกชื่อว่า pneumococcal meningitis) ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อนี้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย โดยแนะนำให้รับวัคซีน pneumococcal polysaccharide ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีทุกคน และเด็กที่มีอายุอย่างน้อยสองปีที่มีโรคเรื้อรังบางชนิด มีวัคซีนที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่ (pneumococcal conjugate vaccine) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันการติดเชื้อ pneumococcus ในทารก และมีคำแนะนำให้ฉีดในเด็กทุกคนที่มีอายุมากกว่า 2 ปี


41 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bacterial meningitis: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9276)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)