กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease)

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ คือ เป็นรูปเคียว (sickle) ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ติดเชื้อง่าย มีอาการของโลหิตจาง บางรายอาจเจริญเติบโตช้า เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาที่ปอด

บทนำ

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) เป็นชื่อกลุ่มโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยชนิดที่ร้ายแรงที่สุดเราเรียกว่า โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anemia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะพบมากในชาวแอฟริกัน, แคริบเบียน, ตะวันออกกลาง, เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และชาวเอเชีย

ผู้ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะสร้างเม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะเม็ดเลือดแดงผิดปกติเหล่านี้จะมีชีวิตสั้น ไม่เหมือนเม็ดเลือดแดงปกติ และเม็ดเลือดแดงผิดปกติเหล่านี้จะอุดตันในหลอดเลือดด้วย

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเป็นโรคที่มีภาวะร้ายแรงและเป็นตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามการรักษาในระยะยาวสามารถช่วยจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

อาการของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

คนที่เกิดมาพร้อมกับโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวบางครั้งอาจประสบปัญหาตั้งแต่วัยเด็ก ถึงแม้ว่าเด็กส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยและมีชีวิตปกติอยู่เกือบตลอดเวลา

อาการหลักของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ได้แก่:

  • อาการปวด หรือเรียกว่า sickle cell crises ซึ่งสามารถมีอาการปวดรุนแรงและเป็นนานเป็นสัปดาห์ได้
  • มีความเสี่ยงของการติดเชื้อร้ายแรงเพิ่มขึ้น
  • โลหิตจาง (คือภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการ) ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย และหายใจหอบเหนื่อย

ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอื่นๆ เช่น การเจริญเติบโตช้า, โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาที่ปอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนที่ผิดปกตินี้ ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาส 25% เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

พ่อแม่ของเด็กมักไม่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เพราะตัวพ่อแม่เองเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเท่านั้น  (แต่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค)

การตรวจคัดกรองและการตรวจโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวมักสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่กำลังตั้งครรภ์ หรือทันทีที่เด็กคลอดออกมา

การตรวจคัดกรองโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวตั้งแต่ตั้งครรภ์จะถูกแนะนำในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดลูกป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวนี้ และเด็กทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคนี้ด้วยการตรวจเลือดทุกคน

การตรวจเลือดสามารถทำได้ทุกช่วงอายุเพื่อดูว่าคุณป่วยเป็นโรคนี้ หรือเป็นพาหะของยีนผิดปกตินี้หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดชีวิตของคนนั้น

มีวิธีการรักษาหลายวิธีที่จะช่วยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากโรคนี้ ตัวอย่างเช่น:

  • ช่วงที่มีอาการปวด บางครั้งสามารถป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำมากๆ และทำร่างกายให้อบอุ่น
  • อาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างไรตาม บางครั้งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยาแก้ปวดชนิดแรงที่โรงพยาบาล
  • สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะทุกวันและฉีดวัคซีนให้ครบอย่างเหมาะสม
  • หากมีอาการโลหิตจางอย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้เลือด
  • ยาที่ชื่อว่า ไฮดรอกซี่ยูเรีย (hydroxyurea) สามารถลดอาการที่เกิดขึ้นได้ หากอาการนั้นรบกวนชีวิตคุณหรือชีวิตบุตรหลานของคุณ
  • การให้เลือดเป็นประจำ (ทุก 3-4 สัปดาห์) อาจเป็นประโยชน์ ถ้าอาการยังมีอย่างต่อเนื่องหรือมีอาการแย่ลง หรือมีอาการแสดงของความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้

การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (stem cell) หรือปลูกถ่ายไขกระดูก สามารถทำให้โรคนี้หายขาดได้ แต่มักไม่ค่อยทำ เพราะมีความเสี่ยงจากการทำค่อนข้างมาก

อนาคตของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวมีอาการได้แตกต่างกันมากในแต่ละคน เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้สามารถมีความสุขและมีชีวิตได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามโรคนี้ก็ยังเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วย

โรคนี้สามารถทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (strokes), การติดเชื้อร้ายแรง และปัญหาที่ปอด ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ภาพรวมอายุขัยของผู้ป่วยโรคนี้มีแนวโน้มที่จะสั้นกว่าคนทั่วไป แต่ก็มีความแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวที่ผู้ป่วยเป็น ขึ้นกับวิธีในการรักษา และขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยรายนั้นๆ

ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะมีอายุอยู่ที่ 40-60 ปี อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวชนิดรุนแรงน้อยอาจไม่มีผลต่ออายุขัยเลย ซึ่งเราคาดหวังว่าจะมีการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ สำหรับโรคนี้ออกมาเรื่อยๆ

พาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

พาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หมายถึง ใครก็ตามที่มียีนผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวอยู่ในร่างกาย แต่คนๆ นั้นไม่ป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เราเรียกคนๆ นั้นว่าเป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

ผู้ที่เป็นพาหะของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวแต่ไม่ป่วยเป็นโรค จะมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดลูกมีภาวะนี้ถ้าคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคนี้ด้วย

คุณสามารถขอให้แพทย์ตรวจเลือดให้กับคุณได้ หากคุณเป็นพาหะของโรคนี้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/sickle-cell-disease#introduction


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sickle Cell Disease (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/sickle-cell-anemia.html)
21 Sickle Cell Anemia Symptoms, Genetics, Treatment, Life Expectancy. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/sickle_cell/article.htm)
Sickle Cell Disease | Sickle Cell Anemia. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/sicklecelldisease.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม