กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Shin Splints (เจ็บหน้าแข้ง)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเจ็บหน้าแข็ง คือ อาการเจ็บปวดบริเวณหน้าขาสวนล่างบริเวณเข่าจนถึงข้อเท้า มักเกิดได้จากการเล่ยกีฬาในระดับปานกลาง หรือหนัก
  • อาการเจ็บหน้าแข้ง เป็นภาวะบาดเจ็บสะสมที่เกิดจากการบาดเจ็บซ้ำๆ ที่กระดูกกับกล้ามเนื้อ และข้อต่อของขาส่วนล่าง จนไปขัดขวางการฟื้นตัวของร่างกายตามธรรมชาติ
  • พฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม เช่น การวิ่งออกกำลังกายบนพื้นที่ไม่เรียบสม่ำเสมอ หรือขณะใส่รองเท้าเสื่อมสภาพสามารถทำให้เกิดอาาการเจ็บหน้าแข้งได้
  • ปัญหากล้ามเนื้อ และความยืดหยุนที่ไม่เพียงพอ หรืออ่อนแรงของร่างกายบริเวณต้นขา หรือบั้นท้ายก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าแข้งได้
  • คุณสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าแข้งได้ด้วยการหยุดพักกิจกรรมออกกำลังกาย ประคบเย็นบริเวณที่ยวม ยกขาให้สูง สวมผ้ารัดยาง ประมาณ 2 สัปดาห์อาการก็จะดีขึ้น แต่หากอาการรุนแรง แพทย์ก็อาจพิจารณาให้ผ่าตัดหน้าแข้ง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ

อาการเจ็บหน้าแข้ง คือ อาการเจ็บปวดบริเวณหน้าขาส่วนล่างที่เป็นท่อนขาระหว่างเข่ากับข้อเท้า อาการนี้มีอีกชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า "ภาวะ Medial Tibial Stress Syndrome (MTSS)"

อาการเจ็บหน้าแข้งสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับผู้ที่มีกิจกรรมทางร่างกายระดับปานกลางถึงหนักเป็นประจำ เช่น การเล่นกีฬาเทนนิส ฟุตบอล หรือบาสเก็ตบอลเป็นเวลานานๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการเจ็บหน้าแข้งเป็นภาวะบาดเจ็บสะสม (Cumulative Stress Disorder) ที่เกิดจากการถูกทุบ หรือมีแรงกดซ้ำๆ ที่กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อของขาส่วนล่างจนขัดขวางการฟื้นตัวกับการซ่อมแซมตามธรรมชาติของร่างกายลง 

บางครั้งอาจพบอาการเจ็บหน้าแข้งที่มีความรุนแรงมากจนทำให้ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ไม่ได้เลย

อาการเจ็บหน้าแข้ง

ผู้ที่มีอาการเจ็บแข้ง มักจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย

  • อาการปวดทื่อๆ ที่หน้าขาส่วนล่าง
  • อาการปวดระหว่างออกกำลังกาย
  • อาการปวดข้างๆ กระดูกหน้าแข้ง
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ
  • อาการเจ็บปวดตามแนวด้านในขาส่วนล่าง
  • อาการกดเจ็บหรือปวดเมื่อยตามแนวขาส่วนล่าง
  • อาการบวมในขาส่วนล่าง หากมีจะไม่ค่อยรุนแรงมาก
  • อาการชาและอ่อนแรงที่ขา

สาเหตุของอาการเจ็บหน้าแข้ง

อาการเจ็บหน้าแข้ง มักเป็นผลจากการที่เนื้อเยื่อ กระดูกและกล้ามเนื้อหน้าแข้งได้รับแรงในปริมาณมากเกินไป จึงทำให้กล้ามเนื้อบวมและเพิ่มแรงกดกระดูกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดและการอักเสบข

บางครั้งอาจพบอาการเจ็บหน้าแข้งที่เป็นจากภาวะกระดูกร้าว โดยภาวะนี้เกิดจากแรงกระแทกต่อเนื่องจนทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นที่กระดูกขา แต่ภาวะนี้สามารถหายได้เองจากการฟื้นตัวตามธรรมชาติของร่างกาย 

เว้นแต่ร่างกายจะไม่ได้พักจนไม่มีเวลาพอจะฟื้นตัว ซึ่งอาจทำให้รอยร้าวเหล่านั้นมีมากขึ้นจนทำให้กระดูกหักในเวลาต่อมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีกิจกรรมมากมายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการเจ็บหน้าแข้ง ได้แก่

  • ความผิดปกติทางสรีรวิทยาของร่างกาย เช่น อาการเท้าแบน (Flat Foot)
  • กล้ามเนื้อที่ต้นขาหรือบั้นท้ายอ่อนแรง
  • ร่างกายขาดความยืดหยุ่น
  • ใช้เทคนิคฝึกร่างกายที่ไม่เหมาะสม
  • การวิ่งลงเนิน
  • การวิ่งบนพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ
  • การวิ่งบนพื้นแข็ง เช่น บนถนนคอนกรีต
  • การวิ่งหรือออกกำลังกายขณะสวมใส่รองเท้าที่เสื่อมสภาพ หรือไม่เหมาะสม
  • การเล่นกีฬาที่มีการหยุดและดันร่างกายเร็วไป เช่น ฟุตบอล หรือสกีลงเนิน

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

ควรไปพบแพทย์หากอาการเจ็บแข้งไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั่วไป หรือหากพบอาการอื่นๆ ดังนี้

  • มีอาการเจ็บปวดรุนแรงที่หน้าแข้งหลังจากล้ม หรือประสบอุบัติเหตุ
  • เมื่อสัมผัสหน้าแข็งจะรู้สึกถึงความร้อนภายใน
  • หน้าแข้งมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด
  • มีอาการเจ็บที่แข้งแม้ว่า กำลังพักผ่อนอยู่

การวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าแข้ง

แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าแข็งได้ระหว่างการตรวจร่างกาย โดยจะมีการสอบถามเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรมทางร่างกายที่เกิดขึ้น และความบ่อยที่ทำกิจกรรมนั้นๆ

หากแพทย์สงสัยว่า อาการเจ็บหน้าแข็งอาจเกิดจากภาวะกระดูกร้าว หรือภาวะอื่นๆ แพทย์ก็อาจพิจารณาให้มีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพ หรือการเอกซเรย์ 

การรักษาอาการเจ็บหน้าแข้ง

ปกติแล้วการรักษาอาการเจ็บแข้ง สามารถทำได้ด้วยการหยุดพักจากกิจกรรมทางร่างกายบางอย่างเพื่อให้ขาได้เวลาพักบ้าง โดยหลังการพักผ่อนไม่กี่ชั่วโมงหรือ 1-2 วันจะรู้สึกได้ทันทีว่าอาการเจ็บจะลดลง หรือเกือบหายเป็นปกติ

ระยะเวลาการพักฟื้นที่แนะนำ คือ ประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงนี้สามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน หรือว่ายน้ำได้บ้าง และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อให้อาการดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยกขาให้สูง
  • ประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม
  • รับประทานยาต้านอักเสบที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น Ibuprofen (Advil) หรือ Naproxen Sodium (Aleve)
  • สวมใส่ผ้ารัดยาง
  • ใช้โฟมนวดตัว (Foam Roller)

หากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าแข็งรุนแรงมาก และมีอาการต่อเนื่องหลายเดือน แพทย์อาจรักษาด้วยการการผ่าตัดหน้าแข้ง (Fasciotomy) ซึ่งจะมีการกรีดเข้าเนื้อเยื่อ Fascia ที่ปกคลุมกล้ามเนื้อน่อง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหน้าแข้งลงบ้าง

วิธีป้องกันอาการเจ็บหน้าแข้ง

วิธีป้องกันอาการเจ็บแข้งที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อน่องขากับกล้ามเนื้อสะโพก โดยเฉพาะส่วนกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip Abductors) และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • สวมใส่รองเท้าที่พอดีและมีการรองรับที่ดี
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยรับแรงกระแทกต่าง ๆ
  • เลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักหบนพื้นผิวแข็งหรือไม่เรียบ
  • วอร์มร่างกายก่อนออกกำลัง
  • ยืดเส้นยืดสายร่างกายให้ถูกวิธี
  • บริหารนิ้วเท้าเป็นประจำเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อน่อง
  • ไม่ฝืนออกกำลังกายขณะมีความเจ็บปวด

การออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม หรือการหักโหมออกกำลังกายมากเกินไปสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นกระดูกหัก ดังนั้นอย่าคิดว่า คุณจึงอยากฝืนออกกำลังกายมาก หรือในท่า และสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บที่ต้องใช้เวลาในการรักษา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Shin Splints: Causes, Symptoms, Diagnosis, Treatments & Prevention. Cleveland Clinic. (Available via: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17467-shin-splints)
Shin splints: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/242169)
Shin Splints. Runner's World. (Available via: https://www.runnersworld.com/shin-splints/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)