ชื่อกรดซาลิไซลิกอาจฟังไม่คุ้นหู แต่หากพูดถึงยาแอสไพรินหรือกรด BHA หลายคนคงคุ้นเคยกันดี สาร กรด และยาที่กล่าวถึงไปนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าเราแพ้กรดซาลิไซลิก เราจะแพ้ยาแอสไพรินด้วยหรือไม่ ใครบ้างไม่ควรใช้สารเหล่านี้ HonestDocs มีคำตอบ
กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) คืออะไร?
กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) เป็นกรดอินทรีย์ ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่ละลายในน้ำ ละลายได้ในแอลกอฮอล์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สามารถสร้างได้จากพืชและการสังเคราะห์ทางเคมี โดยมีชื่อทางเคมีว่า ออร์โทไฮดรอกซีเบนโซอิกแอซิด (Ortho Hydroxybenzoic acid) หรือ เบตาไฮดรอกซีเบนโซอิกแอซิด (Beta Hydroxybenzoic acid: BHA)
กรดซาลิไซลิกมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางอุตสาหกรรม เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางเพื่อให้ผิวดูกระจ่างใส หรือใช้ทางการแพทย์เพื่อลอกผิวหนัง รักษาโรคหูด ตาปลา
อนุพันธ์ของกรดซาลิไซลิก นำมาใช้เป็นยาแก้ปวด ลดอักเสบ เป็นต้น
สามารถพบกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) ได้ที่ใดบ้าง?
กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) สามารถพบได้ในเปลือกและใบของต้นวิลโลว (Willow) สมัยก่อนชาวสุเมเรียนและอียิปต์จะใช้สารนี้เพื่อลดอาการปวด ลดอาการอักเสบ ลดไข้
ปี ค.ศ. 1763 ได้มีการทดลองใช้เปลือกของต้นวิลโลว ซึ่งมีสารที่เรียกว่าซาลิซิน (Salicin) มารักษาโรคไข้มาลาเรีย พบว่าสามารถรักษาได้สำเร็จ จึงมีการทดลองหาโครงสร้างทางเคมี โดยสกัดสารออกมา เรียกว่า ซาลิไซลิกแอซิด (Salicylic acid)
ในปี ค.ศ. 1897 ได้มีการพัฒนาโครงสร้างสารดังกล่าว กลายเป็นอะซีทิลซาลิไซลิกแอซิด (Acetylsalicylic acid) หรือยาแอสไพริน (Aspirin) ยาแก้ปวด ลดอักเสบ ลดไข้ และยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กรดซาลิไซลิค มีประโยชน์อย่างไร?
นอกจากเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาแอสไพรินแล้ว กรดซาลิไซลิกยังมีประโยชน์อีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติทางเคมีที่เป็นกรด สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้
ประโยชน์ของกรดซาลิไซลิกทางด้านความงามและเครื่องสำอาง
กรดซาลิไซลิก หรือที่รู้จักกันดีในนามของ BHA เป็นสารที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางหลายชนิด และใช้ผสมในแชมพูขจัดรังแค
ด้วยคุณสมบัติที่เป็นกรดจึงสามารถลอกผิวหนังชั้นนอกสุด ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดความหมองคล้ำ ฝ้า กระ
ช่วยป้องกันสิวอักเสบได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ
อย่างไรก็ตาม การใช้กรดซาลิไซลิกในเครื่องสำอางยังคงต้องจำกัดความเข้มข้นในการใช้ โดย อย. อนุญาตให้ใช้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 2.00% สำหรับผลิตภัณฑ์ทาผิว เพื่อป้องกันอันตรายจากกรดที่สามารถกัดผิวหนัง และเกิดอันตรายต่อผิวได้
ประโยชน์ของกรดซาลิไซลิกทางการแพทย์
นอกจากเป็นสารตั้งต้นในการผลิตแอสไพรินแล้ว กรดซาลิไซลิกยังถูกนำมาใช้ในการรักษาสิว ผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน หูด และตาปลาได้ด้วย โดยความเข้มข้นที่ใช้ค่อนข้างสูง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้ อนุพันธ์ของกรดซาลิไซลิกยังผสมอยู่ในยาธาตุน้ำขาวหลายยี่ห้อ โดยใช้ชื่อที่เรียกว่าซาลอล (Salol) หรือฟีนิลซาลิไซเลต (Phenyl salicylate) และยังมีผสมในยาทาถูนวดต่างๆ เรียกว่า เมทิลซาลิไซเลต (Methyl salicylate)
ดังนั้น การรับประทานยาธาตุน้ำขาว หรือการใช้ยาทาถูนวด จึงมีข้อควรระวังในผู้ที่แพ้ยาหรือโครงสร้างของกรดซาลิไซลิก เเละไม่ควรใช้ยาในรูปแบบรับประทานเกินขนาด
เพราะหากใช้ยาปริมาณสูงจะทำให้เกิดภาวะเลือกเป็นกรด (Lactic acidosis salicylates) โดยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ระคายเคืองทางเดินอาหาร หากใช้ยาปริมาณสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึม ชัก และมีภาวะเลือดออกได้
ประโยชน์ของกรดซาลิไซลิกทางทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร
ในอดีต มีการใช้กรดซาลิไซลิกเพื่อเป็นสารกันบูดและกันราเนื่องจากสารนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ โดยเฉพาะของหมักของดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง
เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากมีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์กัดกร่อน เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ ทำลายเยื่อบุทางเดินอาหารและลำไส้
หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นเเผลในทางเดินอาหาร
ในบางรายแพ้โครงสร้างของกรดซาลิไซลิก อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังพุพอง หายใจติดขัด ชัก หมดสติ
ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย จึงมีประกาศให้กรดซาลิไซลิกเป็นสารห้ามใช้ในอาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536
คนท้องสามารถใช้กรดซาลิไซลิกได้หรือไม่?
หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภายนอกหรือการรับประทาน
สำหรับการใช้ภายนอกโดยการทาที่ผิวหนัง เพื่อลดสิว ฝ้า กระ หรือแม้กระทั่งการรักษาหูด ตาปลา พบว่ามีผลต่อตัวอ่อนของสัตว์ทดลอง ส่วนในมนุษย์ยังไม่มีการทดลอง
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้กรดซาลิไซลิกรูปแบบรับประทาน เช่น ยาแอสไพริน เด็กที่เกิดมามีความเสี่ยงจะทำให้เกิดอาการผนังหน้าท้องไม่ปิด (Gastroschisis) หรือมีน้ำหนักตัวตอนคลอดน้อย
นอกจากนี้ยายังขับออกทางน้ำนม ส่งผลต่อลูกน้อยได้อีกด้วย
ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้กรดซาลิไซลิก
การใช้กรดซาลิไซลิกไม่ว่าจะในรูปแบบใด ผู้ใช้ควรระวังดังนี้
- ในรูปแบบใช้ภายนอก หากใช้กรดซาลิไซลิกที่มีความเข้มข้นสูง มีความเป็นกรดมาก (pH ต่ำ) จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิว ผิวแดง อักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อน เช่น รอบดวงตา ทาภายในปาก บริเวณที่มีแผลเปิด และห้ามใช้ในเด็กทารก
- ระมัดระวังการใช้ในผู้ที่แพ้ยา หรือโครงสร้างของยานี้
- หากใช้แล้วมีความผิดปกติ เช่น เกิดผื่น คัน หายใจติดขัด ควรหยุดใช้ยา และรีบไปพบแพทย์ทันที