ทานปลาดิบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรค จากพยาธิในตัวปลา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทานปลาดิบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรค จากพยาธิในตัวปลา

สำหรับคนชอบเข้าร้านอาหารญี่ปุ่นและชื่นชอบทานปลาดิบมากเป็นพิเศษควรระวัง เพราะร่างกายอาจเจอเชื้อโรคในปลาดิบได้ แม้การทานปลาดิบจะเป็นประเพณีการทานอาหารที่เน้นสุขภาพ แต่เมื่อเจอกับสภาพแวดล้อมบ้านเรา ที่อาจมีความร้อนชื้นมากกว่า ปลาดิบสด ๆก็อาจมีพยาธิและเชื้อโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ดังต่อไปนี้
พยาธิ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในปลาทะเลก็มีพยาธิเหมือนกับปลาในแม้น้ำบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นพยาธิใบไม้ พยาธิตัวจี๊ด หรือพยาธิตัวกลมแต่ใช้ชื่อว่า พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) ซึ่งตัวพยาธิเหล่านี้ชอบและเจริญเติบโตได้ดีในอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ จนทำให้เกิดอาการอาเจียน อาจเพราะร่างกายต้องการขับพยาธิออกจากลำไส้ และหากพยาธิหลุดไปในทางเดินอาหาร หรือเข้าไปในช่องท้อง อาจเกิดก้อนในกระเพาะอาหาร จนทำให้ปวดท้อง ปวดที่กระเพาะอาหาร ลำไส้อุดตัน หรืออาจมีอาการคล้าย ๆ ปวดไส้ติ่งอักเสบก็ได้ นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดภายใน 1-5 วันหลังรับประทานปลาดิบที่มีพยาธินี้เข้าไป หรือหากรวดเร็วสุดก็รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนหลังจากที่รับประทานปลาดิบเข้าไปภายใน 1 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาหารเป็นพิษ ท้องร่วง บิด และอหิวาตกโรค

สำหรับทุกกระบวนการผลิตปลาดิบ ตั้งแต่ การจับ การเก็บรักษา การล้างมือไม่สะอาด ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการเฉือนปลาดิบของพ่อครัว ก่อนที่จะส่งต่อมากถึงคนทาน มักจะมีเชื้อโรคตัวเล็กตัวน้อยหลายชนิดติดตามมาทำร้ายสุขภาพด้วย เช่น เชื้ออีโคไล, เชื้อวิบริโอ, เชื้อซาลโมเนลลา,เชื้อวิบริโอ คอเลอเร, เชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส, เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และพยาธิตัวกลมกลุ่มอนิซาคิส ซึ่งเชื้อโรคนี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องเสีย บิด หรืออหิวาตกโรคได้ บางรายอาจมีอาการรุนแรงจนต้องส่งโรงพยาบาลเลยก็ได้

อาการคันคอ

สำหรับ Tingling Throat Syndrome หรือกลุ่มอาการจั๊กจี้ในลำคอ ตลอดจนรู้สึกว่าคันที่คอหอย โดยอาจเกิดขึ้นเพราะพยาธิเดินทางจากหลอดอาหารแล้วมาที่คอหอย บางครั้งตัวอ่อนของพยาธินี้อาจออกมาปนอยู่กับเสมหะที่เราถ่มเสลดออกมาก็ได้ นอกจากนี้อาจจะมีอาการไอร่วมด้วย และบริเวณลำคออาจเกิดการอักเสบได้

เสี่ยงกับคอเลสเตอรอล

ในคนที่ชอบกินไข่ปลามากเป็นพิเศษ อาจเสี่ยงกับคอเรสเตอรอลได้เพราะในไข่ปลาอาจมีคอเลสเตอรอลสูง จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะรับประทานไข่ปลาครั้งละมาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว

ขาดวิตามิน

ในปลาดิบ รวมไปถึงอาหารประเภทสุก ๆ ดิบ ๆทั้งหลาย มีสารต้านวิตามินบี 1 หรือเอนไซม์
ธัยอะมิเนสอยู่ ดังนั้นหากรับประทานปลาดิบเข้าไปก็อาจจะเกิดภาวะสารต้านวิตามินย่อยสลายไปเฉย ๆ ทางที่ดีก่อนรับประทาน ควรเลือกวิธีปรุงสุกก็จะช่วยทำลายตัวเอนไซม์สลายวิตามินบี 1 ได้

โรคเกาต์อาจจะกำเริบ

ซูชิหรือปลาดิบมักมีกรดยูริกค่อนข้างสูง และเมื่อกินคู่กับกับโชยุหรือซอสเค็มก็อาจจะทำให้อาการโรคเกาต์กำเริบได้ รวมไปถึงคนที่มีแนวโน้มหรือประวัติเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ควรที่จะเลี่ยงการรับประทานปลาดิบ ซาซิมิ หรือซูชิด้วยเช่นกัน

แม้จะชอบทานปลาดิบขนาดไหน แต่หากรับประทานไปแล้วต้องเสี่ยงต่ออาการต่างๆแบบนี้ก็คงไม่ดีกับสุขภาพแน่ ๆ ฉะนั้นทางที่ดีหันมารับประทานอาหารที่ปรุงสุกสด และใหม่ หรือหากไม่สามารถห้ามใจต่อปลาดิบได้ อย่างน้อยก็ควรรู้วิธีการรับประทานปลาดิบที่ถูกต้อง รับประทานไม่บ่อยจนเกินไป หรือเลือกร้านที่ดูสะอาดสะอ้านก็อาจช่วยให้การรับประทานปลาดิบอร่อยมีอรรถรสและปลอดภัยมากขึ้นได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fish and Fishery Products Hazards and Controls Guidance. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/media/80777/download)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป