กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเลิกบุหรี่

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเลิกบุหรี่

ประเทศไทยมีแนวโน้มประชากรที่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ.2557 พบว่ามีประชากรที่สูบบุหรี่มากถึง 11,400,000 คน การเลิกบุหรี่จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายคนคาดหวังให้ตัวเองหรือคนใกล้ตัวทำให้ได้ ฉะนั้นการทำความเข้าใจวิธีการเลิก จึงเป็นสิ่งสำคัญ

นิโคตินในบุหรี่ส่งผลอย่างไร?

ในบุหรี่นั้นประกอบด้วยสารพิษกว่าพันชนิด สารพิษหลักได้แก่ นิโคติน (nicotine) เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด สารนี้เองจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ไม่สำเร็จ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นิโคตินยังมีฤทธิ์เป็น vasoconstrictor คือทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หัวใจจึงต้องทำงานมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อการเลี้ยงร่างกาย นิโคตินจึงเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ 

ทาร์ (Tar) หรือน้ำมันดิน ทาร์จะเข้าไปเกาะภายในปอดและถุงลงทำให้การขยายตัวของถุงลมและการเลือกเปลี่ยนก๊าซบริเวณนั้นเกิดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อการแลกเปลี่ยนก๊าซน้อยลงจนร่างกายไม่พอใช้จะเห็นได้ว่าผู้ที่สูบบุหรี่มันมีอาการเหนื่อยหอบง่าย ทาร์ยังก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ 

นอกจากนี้ยังมีสารพิษอื่นอีกมาก เช่น แอมโมเนีย ทำให้แสบตา แสบจมูก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารอาร์เซนิก แคดเมียม ตะกั่ว ไนโตรซามีน ที่ล้วนเป็นสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น

การเลิกบุหรี่โดยใช้ยา

ยาที่ใช้สำหรับช่วยในการเลิกบุหรี่นั้น ที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้นิโคตินเพื่อทดแทนการเสพติดนิโคตินจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมียาตัวอื่นที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ บูโพรพิออน (bupropion) วาเรนิคลิน (varenicline) นอร์ทริปทิลีน (nortriptyline) เป็นต้น

การบำบัดโดยใช้นิโคตินทดแทนการสูบบุหรี่

การบำบัดโดยใช้นิโคตินทดแทน (nicotine replacement therapy; NRT) มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงและมีประสิทธิภาพรองลงมาจากการใช้ยาวาเรนิคลิน กลไกคือนิโคตินในตัวยาจะจับกับตัวรับนิโคตินิก อะเซทิลโคลีน (nicotinic acetylcholine

โดยการบำบัดนี้ นิโคตินจะไม่ได้เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็วอย่างการสูบบุหรี่ ซึ่งจะช่วยลดการอยากบุหรี่และอาการถอนบุหรี่ได้ รูปแบบของนิโคตินทดแทนที่พบได้ในร้านขายยา ได้แก่ นิโคตินในรูปแบบหมากฝรั่ง และนิโคตินในรูปแบบแผ่นแปะ ซึ่งก่อนการใช้นิโคตินทดแทนสำหรับการเลิกบุหรี่ ผู้ป่วยจะต้องหยุดสูบบุหรี่ก่อนเริ่มใช้ยาเพื่อป้องกันการได้รับนิโคตินเกินขนาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้หมากฝรั่งนิโคติน นิโคตินจะค่อยถูกดูดซึมผ่านผนังกระพุ้งแก้ม เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเลิกบุหรี่ ควรเคี้ยวอย่างน้อย 9 ชิ้นต่อวันในช่วง 6 สัปดาห์แรก และเคี้ยวมากที่สุด 24 ชิ้นต่อวัน 

วิธีการเคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินมีขั้นตอนคือ ขั้นแรกควรงดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรดอย่างน้อย 15 นาทีก่อนการใช้ยา จากนั้นให้ค่อยเคี้ยวหมากฝรั่งช้าๆจนได้รสเผ็ดซ่า ให้หยุดเคี้ยวแล้วพักหมากฝรั่งไว้ที่กระพุ้งแก้ม เมื่อรสเผ็ดซ่าหายไปให้นำหมากฝรั่งที่กระพุ้งแก้มาเคี้ยวใหม่จนได้รสเผ็ดซ่าอีกครั้ง ทำเช่นนี้สลับกันต่อเนื่อง 30 นาทีและควรเปลี่ยนบริเวณตำแหน่งที่อม 

ผลข้างเคียงของการใช้หมากฝรั่งนิโคติน คือ เจ็บปาก เจ็บกราม อาจระคายเคืองบริเวณเคี้ยว นอกจากนี้ไม่ควรกลืนน้ำลายในระหว่างเคี้ยวเนื่องจากการกลืนนิโคตินอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือเกิดอาการแสบอกได้  

นิโคตินอีกรูปแบบหนึ่งคือ รูปแบบแผ่นแปะ นิโคตินจะซึมผ่านทางผิวหนัง ตัวอย่างจะถูกปลดปล่อยอย่างต่อเนื่อง ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน โดย

  • ถ้าสูบบุหรี่มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มวนต่อวัน ให้ใช้แผ่นแปะนิโคตินขนาดรวม 21 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาดรวม 14 มิลลิกรัมต่อวันอีกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และใช้ขนาด 7 มิลลิกรัมต่อวันไปอีกสองสัปดาห์
  • ถ้าสูบบุหรี่น้อยกว่า 10 มวน ให้ข้ามขั้นตอนการใช้ 21 มิลลิกรัม โดยให้ใช้ขนาดรวม 14 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นใช้ขนาดรวม 7 มิลลิกรัมต่ออีกเป็นเวลาสองสัปดาห์

การใช้แผ่นแปะนิโคติน ควรแปะแผ่นแปะบริเวณที่ไม่มีขน เช่น บริเวรหน้าท้อง ไหล่ หลัง โดยติดแผ่นยาทุกวัน ในเวลาเดียวกัน ติดตลอด 24 ชั่วโมงไม่ต้องถอดออก แม้ว่าจะอาบน้ำก็ให้แปะแผ่นแปะไว้ด้วย ยกเว้นมีอาการนอนไม่หลับหรือฝันร้าย ให้แกะแผ่นแปะออกก่อนนอน เมื่อแปะแผ่นแปะแล้วไม่ต้องถูนวดเพราะจะทำให้การปลดปล่อยยาไม่สม่ำเสมอ ผลข้างเคียงที่พบได้ คือการระคายเคียงผิวหนังบริเวณที่แปะ จึงควรหลีกเลี่ยงการแปะแผ่นแปะนิโคตินซ้ำในบริเวณเดิม

การใช้ยาอื่นๆ ในการบำบัด

ยาที่ใช้ ได้แก่ bupropion varenicline และ nortriptyline โดยตัวยา bupropion และ varenicline ผู้ป่วยควรหยุดการใช้บุหรี่มาก่อน 1 ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการใช้ยา ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน varenicline อาจทำให้นอนไม่หลับ ฝันร้าย ส่วนยา nortriptyline ให้เริ่มใช้ยา 10 ถึง 28 วันก่อนที่จะเลิกบุหรี่ ผลข้างเคียงคือทำให้ปากแห้ง ง่วงนอนใจสั่น หัวใจเต้นเสียจังหวะ จึงต้องระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ การจะใช้ยาเหล่านี้รวมถึงการใช้นิโคตินทดแทน ผู้ที่สนใจที่จะเลิกบุหรี่สามารถติดต่อขอคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลและร้านขายยา


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 self-help tips to stop smoking. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/quit-smoking/10-self-help-tips-to-stop-smoking/)
Things You Shouldn't Do When You Quit Smoking. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/tips-for-when-you-quit-smoking-impatience-2824899)
What happens after you quit smoking? A timeline. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317956)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นิโคติน
นิโคติน

วิธีรับมือกับการขาดนิโคติน

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของบุหรี่ มีอะไรบ้าง? เรื่องราวจากผู้มีประสบการณ์
ประโยชน์ของบุหรี่ มีอะไรบ้าง? เรื่องราวจากผู้มีประสบการณ์

เรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของการสูบบุหรี่ คุ้มหรือไม่ ที่คุณจะเป็นทาสบุหรี่ต่อไป

อ่านเพิ่ม
8 โรคร้ายที่เกิดจากการสูบบุหรี่
8 โรคร้ายที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ทุกครั้งที่สูบบุหรี่เท่ากับว่า คุณกำลังเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ให้ร่างกายตนเองช้าๆ

อ่านเพิ่ม