ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินคืออะไร กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะเป็นอะไรหรือเปล่า และยาคุมแบบ 1 เม็ด กับ 2 เม็ด มีผลข้างเคียงต่างกันหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 21 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินคืออะไร กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะเป็นอะไรหรือเปล่า และยาคุมแบบ 1 เม็ด กับ 2 เม็ด มีผลข้างเคียงต่างกันหรือไม่?

ยาคุมฉุกเฉิน หรือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill) คือยาฮอร์โมน เช่นเดียวกับยาคุมกำเนิดธรรมดา ที่ผลิตออกมาเพื่อใช้เฉพาะในเหตุการณ์จำเป็นฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว แต่เนื่องจากตัวยาชนิดนี้มีขนาดฮอร์โมนสูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นมีส่วนประกอบจาก 2 ฮอร์โมน ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ดังนั้นผลข้างเคียงจึงแบ่งออกเป็นผลจากฮอร์โมน 2 ตัวดังกล่าว

ผลจากฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ได้แก่

  • คลื่นไส้อาเจียน มึนศรีษะ ปวดศรีษะ
  • เกิดฝ้า
  • มีเลือดออกกะปริดกะปรอยจากช่องคลอด
  • รู้สึกคัดตึงเต้านม
  • อารมณ์ไม่คงที่ มีอาการหงุดหงิดหรือเศร้าใจง่าย

ผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

  • ประจำเดือนผิดปกติ เช่น อาจจะมาน้อยหรือไม่มาเลย
  • ตัวบวม น้ำหนักขึ้น
  • รู้สึกคัดตึงเต้านม
  • เป็นสิว หน้ามัน มีขนดกขึ้น

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่อกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย

เมื่อมีการใช้ยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมนเพศเป็นส่วนประกอบบ่อยๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะผิดปกติต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศ เป็นสารที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนอื่นๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตที่ทำหน้าที่ควบคุมความดัน และระบบไหลเวียนโลหิต จึงทำให้มีผล เช่น อาจทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว หรืออาจจะเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันตามหลอดเลือดส่วนปลาย เกิดเป็นภาวะสมองหรือหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งหากคุณมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยต้องรีบไปพบแพทย์

  • ปวดท้อง
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ปวดศรีษะ
  • ปวดตาฉับพลัน หรือการมองเห็นผิดปกติ
  • ปวดขาผิดปกติ ร่วมกับอาจมีอาการสีผิวบริเวณขาผิดปกติ

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว สองเม็ด ต่างกันหรือไม่ อย่างไร?

ยาคุมฉุกเฉิน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีอยู่ 2 แบบหลักๆ ได้แก่ ยาคุมฉุกเฉินชนิด 1 เม็ด กับยาคุมฉุกเฉินชนิด 2 เม็ด แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบรวมกันแล้วก็จะได้ยาในปริมาณเท่ากัน คือ 1.5 มิลลิกรัม ดังนั้น ชนิด 2 เม็ดจึงเปรียบเสมือนการแบ่งกินยา ลักษณะของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเหมือนกัน แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่า

สรุปได้ว่า ยาคุมฉุกเฉินแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน แบบเม็ดเดียวก็จะสะดวกต่อการกิน และทำให้กินไปครั้งเดียวเลย ไม่ต้องเสี่ยงว่ากินยาไม่ครบตามปริมาณกำหนด ส่วนแบบ 2 เม็ด ข้อดีคือผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินจะรุนแรงน้อยกว่า

ที่มาของข้อมูล

ผศ. ดร. นพ. เกษมสิษฐ์ แก้วเกียรติคุณ, การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด (เอกสารการเรียนการสอนคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล), 28 มีนาคม 2560.

Phillip G.Stubblefield, and Danielle M.Roncari, Family planning (Berek&Novek’s Gynecology Fifteenth Edition), 2011


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Missed Your Birth Control Pill? What to Do, Side Effects, Pregnancy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control/missed-birth-control-pill)
Emergency Contraception Side Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/health/emergency-contraception/possible-side-effects)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป