กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

“จิตเวช” ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

มีอาการทางจิตไม่ได้แปลว่า "บ้า" แต่ควรต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องจากจิตแพทย์ก่อน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
“จิตเวช” ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • “จิตเวช” เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดอารมณ์และพฤติกรรมโรคทางจิตเวชไม่แตกต่างจากโรคทางกายอื่นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศและทุกวัย โดยสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของโรค
  • โรคทางจิตเวชหากได้รับการรักษาเร็วในขณะที่เริ่มมีอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของจิตแพทย์จะมีโอกาสหาย และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไปได้ แต่หากปล่อยให้โรครุนแรงเรื้อรัง การรักษาอาจต้องใช้เวลานานและมีโอกาสที่โรคจะกำเริบซ้ำๆได้
  • หากมีความแปลกๆ ประหลาดๆ เช่น คิดว่าสื่อสารกับเทพ หรือเทวดาได้ หรือคิดว่าตัวเองเก่งเป็นผู้วิเศษ ย้ำคิดย้ำทำ คิดระแวง เกลียด กลัวแบบไร้เหตุผล กลัวในสิ่งที่ไม่มีจริง ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย หากมีพฤติกรรมนี้อาจเข้าข่ายว่า คุณเข้าข่ายเป็นโรคจิตเวช
  • หากยังลังเลไม่กล้ามาพบจิตแพทย์เพราะมัวแต่กลัวใครๆ กล่าวหาว่า “บ้า” ขอให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่และเปิดใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษา เมื่อนั้นคุณจะเข้าใจว่า "โรคทางจิตเวชนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนเคยเข้าใจ"
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิตกับจิตแพทย์

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า “จิตเวช” คือ อาการบ้า นั่นอาจเป็นเพราะเคยเห็นผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการขั้นรุนแรงแล้วตัดสินว่า โรคจิตเวชทุกโรคคือ “บ้า” ฉะนั้นจึงอยากให้ลองทำความเข้าใจและลองปรับเปลี่ยนทัศนะคติใหม่ 

โรคจิตเวช

โรคทางจิตเวชหากได้รับการรักษาเร็วในขณะที่เริ่มมีอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของจิตแพทย์จะมีโอกาสหาย และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไปได้ แต่หากปล่อยให้โรครุนแรงเรื้อรัง การรักษาอาจต้องใช้เวลานานและมีโอกาสที่โรคจะกำเริบซ้ำๆได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

“จิตเวช” เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดอารมณ์และพฤติกรรมโรคทางจิตเวชไม่แตกต่างจากโรคทางกายอื่นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศและทุกวัย โดยสาเหตุ อาการ และความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของโรค

ความแตกต่างของโรคทางจิตเวชกับโรคทางกาย

ถ้าจะหาความแตกต่างของโรคทางจิตเวช หรือโรคทางกาย ก็น่าจะเป็นเพราะสาเหตุของโรคทางจิตเวชดูเป็นสาเหตุที่จับต้องไม่ได้ต่างจากโรคทางกายที่มีสาเหตุของโรคเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น พบการติดเชื้อ มีอาการผิดปกติของร่างกายแสดงออกชัดเจน 

แต่โรคทางจิตเวชนั้นต้องใช้ความเข้าใจ ใช้เวลาใช้สัมพันธภาพที่เหมาะสมและใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยที่แตกต่างจากการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อเจาะหาความผิดปกติซึ่งอยู่ภายใต้ความคิดอารมณ์และความรู้สึก ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า


ความคิดอารมณ์และพฤติกรรมแบบใดที่เข้าข่ายโรคทางจิตเวช

ด้านความคิด

  • คิดแปลกๆ ประหลาดๆ เช่น คิดว่าสื่อสารกับเทพ หรือเทวดาได้ หรือคิดว่าตัวเองเก่งเป็นผู้วิเศษ 
  • ย้ำคิดย้ำทำ เช่น คิดว่ามือสกปรกแล้วต้องล้างมือตลอดเวลา
  • คิดไม่ตก ลังเล ไม่กล้าตัดสินใจ คิดวนเวียน-วกวน
  • คิดเร็ว คิดเยอะเกินปกติ จนพูด หรือทำไม่ทันความคิด
  • คิดช้าจนเฉื่อย บางครั้งเหมือนสมองหยุดทำงานไปเฉยๆ เหม่อลอย
  • คิดระแวง เช่น กลัวคนมาทำร้าย พูดเปรียบเปรย นินทา หรือส่งสัญญาณมาขู่ต่างๆ

ด้านอารมณ์

  • เกลียด กลัวแบบไร้เหตุผล กลัวในสิ่งที่ไม่มีจริง
  • ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย
  • คึกคัก ร่าเริง มั่นใจ เกินปกติ
  • โกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
  • อารมณ์ไม่คงที่ ควบคุมไม่ได้

ด้านพฤติกรรมและอาการแสดงออกทางกาย

มักเป็นผลมาจากความผิดปกติด้านความคิดและอารมณ์ส่งผ่านออกมาเป็นพฤติกรรมการแสดงออก เช่น นอนไม่หลับหลับ เฉื่อยช้า เศร้า ซึม นั่งเหม่อลอย แยกตัว ไม่สุงสิงกับใคร  ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยหอบแน่นหน้าอก  เบื่ออาหาร พูดติดๆขัดๆ ถามซ้ำๆ ทำซ้ำๆ 

พูดจาหยาบคาย หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เอะอะโวยวาย มีพฤติกรรมทำลายข้าวของ ทำร้ายคนอื่น 

หากพบว่า ตัวเราเอง หรือคนใกล้ชิด มีอาการผิดปกติดังกล่าว ให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ด้านจิตเวช หรือจิตแพทย์ เพื่อขอรับคำแนะนำในการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

หากยังลังเลไม่กล้ามาพบจิตแพทย์เพราะมัวแต่กลัวใครๆ กล่าวหาว่า “บ้า” ขอให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่และเปิดใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษา เมื่อนั้นคุณจะเข้าใจว่า "โรคทางจิตเวชนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนเคยเข้าใจ"

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิตกับจิตแพทย์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสุขภาพจิตคืออะไร เมื่อไหร่ควรตรวจ ค่าใช้จ่ายแพงไหม?
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Timothy J. Legg, Ph.D., CRNP, Understanding the symptoms of schizophrenia (https://www.medicalnewstoday.com/articles/36942.php), December 7, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)