กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Pseudobulbar Affect (ภาวะควบคุมการหัวเราะและร้องไห้ไม่ได้)

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะ ซูโดบัลบาร์อาฟเฟ็กต์ (Pseudobulbar Affect: PBA) หมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการร้องไห้และการหัวเราะของตัวเองได้ ผู้มีภาวะนี้อาจหัวเราะหรือร้องไห้โดยไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใดๆ เลย เช่น ร้องไห้เมื่อพบเรื่องชวนขบขัน หรือหัวเราะเมื่อเศร้ามากๆ และหากมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจหัวเราะหรือร้องไห้ต่อเนื่องได้เป็นเวลานานโดยไม่มีเหตุได้

ด้วยความผิดปกติในการแสดงอารมณ์ดังกล่าว คนทั่วไปจึงอาจเข้าใจผิดว่าผู้ที่มีภาวะ Pseudobulbar Affect มีความผิดปกติทางจิต นำไปสู่การกระทำบางอย่างที่ส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่มีภาวะนี้ จนไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมปกติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะ Pseudobulbar Affect

ภาวะ Pseudobulbar Affect ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า อาการแสดงมีหลายรูปแบบ ได้แก่

  • พูดไม่ชัด (Dysarthria) เกิดจากการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ ทำให้พูดช้า หรือพูดไม่ชัดเหมือนคนทั่วไป
  • เสียงแหบ (Dysphonia) เกิดจากกล้ามเนื้อควบคุมเส้นเสียงทำงานผิดปกติ เวลาพูดจะเหมือนเสียงแหบ หรือเหมือนเสียงกระซิบที่ต้องออกแรงเค้นเสียงออกมา
  • กลืนลำบาก (Dysphagia) ภาวะที่ทำให้การกลืนอาหารได้ยากหรือช้ากว่าปกติ อาจมีอาการสำลักอาหารง่ายร่วมอยู่ด้วย
  • การตอบสนองทางอารมณ์ที่ผิดปกติและเกินจริง (Emotional lability) โดยเฉพาะการร้องไห้และหัวเราะที่ควบคุมไม่ได้ และไม่ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะ Pseudobulbar Affect

ภาวะนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จึงส่งผลกระทบให้เกิดโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองในอนาคตได้

สาเหตุของภาวะ Pseudobulbar Affect

แพทย์เชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Pseudobulbar Affect คือการถูกกระทบกระเทือนที่ศีรษะบริเวณเปลือกสมอง (Cerebral cortex) รวมถึงการเกิดภาวะทางการแพทย์หลายชนิด จนทำให้สมองไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังก้านสมองส่วนล่างได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อการควบคุมทางอารมณ์และการแสดงออกทางสีหน้า

ภาวะทางสมองดังกล่าว ได้แก่

  • โรคเส้นเลือดในสมอง (Stroke)
  • โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • โรคเนื้องอกในสมอง (Brain tumor)
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis: MS)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS)

การวินิจฉัยภาวะ Pseudobulbar Affect

แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะ Pseudobulbar Affect หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบการเคลื่อนไหวใบหน้า การแสดงออกทางอารมณ์ การพูด และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

โรคนี้มีความใกล้เคียงกับโรคซึมเศร้า จึงทำให้มีการวินิจฉัยผิดอยู่บ่อยครั้ง แพทย์จึงอาจดำเนินการตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำ MRI ถ่ายภาพสมอง ในกรณีที่ต้องการผลตรวจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิธีการรักษาภาวะ Pseudobulbar Affect

เป้าหมายของการรักษาภาวะ Pseudobulbar Affect คือการลดความรุนแรง และความถี่ของการแสดงออกทางใบหน้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยาต้านเศร้า เช่น Tricyclic Antidepressants (TCAs) และ Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) หรือยารักษาภาวะ Pseudobulbar Affect โดยตรง เช่น Dextromethorphan Hydrobromide และ Quinidine Sulfate (Nuedexta) 


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Pseudobulbar Affect?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/pseudobulbar-affect/)
Pseudobulbar affect: prevalence and management. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3849173/)
Pseudobulbar Affect and MS: Causes, Patient Information. Healthline. (https://www.healthline.com/health/multiple-sclerosis/pseudobulbar-affect)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)