ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คุณสมบัติของทานาคาและสูตรทานาคาพอกหน้า

แนะนำ 3 สูตรทานาคาพอกหน้า พร้อมวิธีผสมและข้อควรระวัง เพื่อผิวสวยอย่างปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณสมบัติของทานาคาและสูตรทานาคาพอกหน้า

ทานาคา” (หรือชื่อเรียกในประเทศไทยว่า “ต้นกระแจะ”) เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มหญิงสาวประเทศพม่า นิยมใช้เปลือกและต้นนำมาบดให้เป็นผงสีเหลืองอ่อน ใช้บำรุงผิวบรรณและป้องกันมลภาวะจากแสงแดด ทานาคามีฤทธิ์เย็น ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางอย่างแพร่หลาย ส่วนที่นำมาใช้คือเปลือกของรากและลำต้น

คุณสมบัติของทานาคา

  1. ทานาคามีสารประกอบชื่อมาร์เมซิน (Marmesin) มีสรรพคุณกรองรังสีอุลตราไวโอเลต จึงช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างดี
  2. มีสารอาร์บูมิน (Arbutin) มีคุณสมบัติในการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรอยฝ้า กระ จุดด่างดำ นอกจากนี้ยังสามารถรักษารอยแผลเป็น และลดรอยเหี่ยวย่นต่างๆ ได้อีกด้วย
  3. ช่วยทำให้ผิวพรรณอ่อนนุ่ม มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง ลดการเกิดผด ผื่น อาการแพ้ต่างๆ เหมาะสำหรับทุกวัย
  5. มีสารซูเบอโรซิน (Suberosin) มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการเกิดสิว และไม่ก่อให้เกิดสิวใหม่
  6. ช่วยลดความมันบนใบหน้า

วิธีใช้ทานาคาพอกหน้าอย่างถูกต้อง

คุณสามารถนำทานาคามาผสมกับน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง แล้วพอกหน้าทิ้งไว้ทั้งวัน เพื่อให้ทานาคาช่วยป้องกันแสงแดด ลดการเกิดฝ้า กระ บนใบหน้า หรือถ้าหากอยากเพิ่มสรรพคุณในการรักษาผิว เช่น เพิ่มความชุ่มชื้น ลดความมันส่วนเกิน รักษาสิว รอยแผลเป็น หรือจุดด่างดำต่างๆ สามารถเพิ่มสมุนไพรอย่างน้ำมะนาว น้ำผึ้ง หรือโยเกิร์ต ลงไปได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทรีตเมนต์หน้า นวดหน้าวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 96 บาท ลดสูงสุด 98%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3 สูตรทานาคารักษาผิว

  1. น้ำผึ้ง + น้ำ + ผงทานาคา

    สูตรนี้จะได้สรรพคุณของน้ำผึ้งมาช่วยทำให้ผิวหน้าบริเวณที่มีรอยแผลเป็นจากสิวมีความชุ่มชื้น และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว ทั้งยังลดการอักเสบจากสิวได้เป็นอย่างดี
    วิธีใช้คือ นำส่วนผสมทั้งหมดอย่างละเท่าๆ กัน มาผสมให้เข้ากัน แล้วทาเบาๆ ทั่วใบหน้า หรือเน้นเฉพาะบริเวณที่เป็นสิว พอกทิ้งไว้ 10-15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
    ข้อควรระวัง ควรทดสอบน้ำผึ้งก่อนว่ามีแหล่งที่มาจากที่ใด เนื่องจากบางคนอาจแพ้น้ำผึ้งที่มาจากเกสรดอกไม้

  2. น้ำมะนาว/น้ำมะขามปียก + ผงทานาคา

    น้ำมะนาวและน้ำมะขามเปียก เป็นกรดที่ได้จากผลไม้ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อกรด AHA (Alpha Hydroxy Acids) มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้าที่ตายแล้วให้ลอกออกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดรอยฝ้ากระ จุดด่างดำ ทำให้รอยแผลเป็น ริ้วรอยเหี่ยวย่นต่างๆ ลดลง
    วิธีใช้คือ นำน้ำมะนาวหรือใช้เนื้อครีมหรือน้ำมะขามเปียก มาผสมกับแป้งทานาคาให้เข้ากัน จากนั้นพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นบริเวณดวงตาและปากทิ้ง ทิ้งไว้ 10-15 นาที ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้สูตรพอกหน้านี้บ่อยจนเกินไป เนื่องจากกรดจากธรรมชาติจะกัดเซลล์ผิวจนทำให้ผิวหน้าบาง ไวต่อแดด ทำให้เกิดฝ้าและกระได้

  3. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ + ผงทานาคา

    ประโยชน์ของโยเกิร์ต นอกจากจะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายแล้ว ยังสามารถนำมาสครับผิวหรือพอกผิวได้อีกด้วย จะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพให้หลุดออกไปอย่างอ่อนโยน ช่วยให้บำรุงผิวหน้าให้เปล่งปลั่ง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นสำหรับผิวที่ขาดน้ำนอกจากนี้ยังช่วยกำจัดสิวหัวดำ สิวเสี้ยน
    วิธีใช้คือ ผสมโยเกิร์ตและผงทานาคา อัตราส่วน 1:1 พอกหรือขัดผิวอย่างเบามือ เป็นวงกลมทั่วทั้งใบหน้า จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ข้อควรระวังการใช้ทานาคา

การขัดผิวหน้าควรทำไม่เกินเดือนละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากกลไกของร่างกายจะมีระยะเวลาในการผลัดเซลล์ผิว ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไปอาจทำให้ผิวบางได้

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากทานาคาในท้องตลาดมากมาย ผู้บริโภคควรเลือกผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานการผลิตจากกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ผงทานาคายังมีไม่มากนัก ดังนั้นควรทดสอบอาการแพ้บริเวณท้องแขนก่อนนำมาทาที่ใบหน้า หากไม่มีอาการระคายเคืองจึงนำมาใช้กับผิวหนังบริเวณอื่น


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์, ตรีรัตน์ สุขสวัสดิ์, วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. การประเมินการปนเปื้อนแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์ทานาคาที่จำหน่ายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_42_No_4_P_781-791.pdf), 2557.
ศิริพร เหลียงกอบกิจ. น้ำผึ้งกับการรักษาแผล(http://www.medplant.mahidol.ac.th/publish/newsletter/arc/213-03.pdf), 2547.
พร้อมจิต ศรลัมพ์. หน้าสวยด้วย “ทานาคาของเมียนม่าร์หรือกระแจะของไทย” (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0122.pdf), เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค. 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป