วิธีการใช้กรด Alpha-Hydroxy เพื่อลดริ้วรอย

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการใช้กรด Alpha-Hydroxy เพื่อลดริ้วรอย

ในอดีตมีรายงานว่าพระนางคลีโอพัตรานั้นได้อาบน้ำนมหมักเพื่อความสวยงาม ซึ่งในปัจจุบัน นักวิจัยเกี่ยวกับผิวหนังได้พบความลับนั้นที่ว่าด้วยกรดที่เปลี่ยนแปลงมาจากอาหารตามธรรมชาตินั้นสามารถช่วยลดริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ชะลอวัยและช่วยลดแม้กระทั่งสิว

ในปัจจุบัน คุณไม่จำเป็นต้องอาบน้ำนมหมักเพื่อให้ได้ประโยชน์ดังกล่าว เพราะกรด Alpha-hydroxy (AHA) นั้นได้กลายเป็นส่วนผสมอยู่ในโลชั่นและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวต่างๆ กรดชนิดนี้เปลี่ยนมาจากส่วนผสมทางธรรมชาติเช่นกรด citric จากส้มและมะนาว, กรด glycolic จากอ้อย, กรดแลคติกจากนม, กรด malic จากแอปเปิ้ล, กรด pyruvic จากมะละกอ และกรด tartaric จากองุ่น ซึ่งกรดเหล่านี้นั้นสามารถกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้โดยธรรมชาติ

AHA ทำงานอย่างไร?

AHA นั้นจะเข้าไปทำลายสารที่ยึดเซลล์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวเก่าและผิวหนัง ทำให้ผิวหนังชั้นบนสุดนั้นดูกระจ่างใสและมีสุขภาพดี นอกจากนั้นยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและ elastin แพทย์ผิวหนังบางส่วนเชื่อว่า AHA ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำทำให้เนื้อเยื่อนั้นคงความอ่อนนุ่มไว้ได้ ข้อเสียของสาร AHA นั้นก็คือมันจะทำให้ผิวหนังของคุณไวต่อแสงแดดมากขึ้น และหากคุณไม่ใช่ครีมกันแดด คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดริ้วรอยเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนั้นบางครั้งยังอาจทำให้ผิวหนังแดงและเกิดการระคายเคืองได้

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA

  • อย่าให้ความเข้มข้นที่ต่ำกว่านั้นหลอกลวงคุณ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA นั้นมักจะมีความเข้มข้นของ AHA ต่ำกว่า 10% ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นั้นอ่อนโยน (หากคุณทำตามวิธีการใช้ที่อยู่ข้างผลิตภัณฑ์) และออกแบบมาสำหรับการใช้เป็นประจำ เราแนะนำให้มองหาผลิตภัณฑ์ที่มี AHA เป็นส่วนผสมในลำดับที่ 2 หรือ 3 เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ
  • เป็นสิว หรือมีผิวหน้ามันและถูกทำลายโดยแสงแดดหรือไม่? ลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกรด salicylic กรดชนิดนี้เป็นกรด beta-hydroxy ซึ่งสามารถละลายในไขมันได้ในขณะที่กรด AHA นั้นไม่สามารถทำได้ นั่นทำให้กรด salicylic นั้นสามารถทะลุผ่านรูขุมขนที่มีน้ำมันและเข้าไปผลัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วซึ่งอยู่ด้านในได้ นอกจากนั้นยังระคายเคืองน้อยกว่า AHA อีกด้วย ข้อเสียก็คือกรด Salicylic นั้นอาจจะทำให้ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดดได้มากกว่ากรด AHA ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดหากใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้
  • ใจเย็นๆ ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยเหล่านี้นั้นมักจะมีฤทธิ์ไม่แรงมากนักและออกฤทธิ์ช้า คุณอาจจะต้องรอประมาณ 6 เดือนก่อนจะเห็นผล
  • ใช้ผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA เพียงชิ้นเดียวในแต่ละครั้ง อย่าใช้ทั้งโลชั่นและโฟมล้างหน้าพร้อมกันและอย่าใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ร่วมกับครีมลดริ้วรอยที่แพทย์สั่ง เพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดเซลล์ผิวเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไปนั้นจะทำให้ผิวหนังของคุณแดงและระคายเคืองได้
  • ใช้แต่พอดี ครีมขนาดเท่าเหรียญบาทนั้นก็เพียงพอต่อผิวหนังทั้งใบหน้า การใช้มากเกินไปนั้นจะทำให้ผิวหนังแดง แสบ คัน และเป็นแผลได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใกล้ๆ ดวงตา อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA บนเนื้อเยื่อรอบดวงตา ยกเว้นว่าจะเป็นครีมที่ออกแบบมาเพื่อผิวหนังบริเวณนี้ เพราะผลิตภัณฑ์ทั่วไปนั้นมักจะแรงเกินไปสำหรับผิวหนังบริเวณนี้
  • หากคุณมีผิวเข้ม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร AHA หรือ BHA เนื่องจากกลุ่มนี้นั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นและผิวหนังเปลี่ยนสีจากการใช้ AHA ได้มากกว่าผู้ที่มีสีผิวอ่อนกว่า
  • หากต้องการผลลัพธ์ที่เร็วขึ้น ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง เพราะแพทย์สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของ AHA ได้สูงถึง 30% แต่ข้อเสียก็คือคุณจะต้องทำว้ำทุกๆ 3-6 เดือน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้น 50-70% นั้นอาจทำให้ริ้วรอยหายไปได้ประมาณ 2-5 ปีแต่คุณก็อาจจะมีผิวหนังแดง, แตก ได้ในช่วง 1-4 สัปดาห์แรกหลังเริ่มการรักษา

15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Understanding Skin Care Products. WebMD. (https://www.webmd.com/beauty/skin-care-products)
Alpha Hydroxy Acids for Wrinkles and Aging Skin. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/alpha-hydroxy-acids-1068887)
Alpha Hydroxy Acid: 8 Skincare Benefits and How to Use it. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/alpha-hydroxy-acid)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป