อาการปวดของผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
บางครั้งผู้ป่วยที่ปวดมากอาจจะมีรอยโรคที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ปวดน้อยก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวด ขอให้เชื่อผู้ป่วยไว้ก่อนเสมอ อาการปวดของผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีปัจจัยสนับสนุน ดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
-
ตัวโรคของผู้ป่วยโดยตรงที่ก่อให้เกิดอาการปวด แบ่งเป็น
- อาการปวดแบบชัดเจน เช่น ผู้ป่วยท่ีเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมีก้อนขนาดใหญ่ที่เต้านม อาจมีอาการปวดแบบชัดเจนท่ีบริเวณก้อน
- อาการปวดแบบไม่ชัดเจน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลําไส้ และเกิดภาวะลําไส้อุดตัน อาจบ่นว่าปวดทั่วๆ ท้อง แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าปวดท่ีตําแหน่งใด ผู้ป่วยอาจบอกว่าปวดแบบตื้อๆ แน่นๆ ได้
- อาการปวดแบบสัมพันธ์กับเส้นประสาท เช่น ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่กระจายไปที่กระดูกสันหลังอาจรู้สึกเสียวแปล๊บๆ บริเวณท่ีต้นขาที่มีเส้นประสาทจากกระดูกสันหลังมาเลี้ยงได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บจี๊ดๆ คล้ายถูกไฟฟ้าช็อตหรือเข็มตําได้
-
อารมณ์ของผู้ป่วย อารมณ์มีผลต่ออาการปวดของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยท่ีมีอารมณ์ซึมเศร้าทําให้มองเหตุการณ์ทุกอย่างเป็น เชิงลบ อาจส่งผลให้ความอดทนต่ออาการเจ็บปวดน้อยลง ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ขันอาจจะใช้มุมมองเชิงบวกในการแก้ไขปัญหา
-
บุคลิกภาพของผู้ป่วย บุคลิกภาพอาจส่งผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดได้หลากหลายขึ้นกับอายุและสถานการณ์ท่ีผู้ป่วยเผชิญ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาตัวเองมาตั้งแต่เด็ก อาจจะมีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว ได้มากกว่าผู้ป่วยที่พึ่งพิงผู้อื่น นอกจากนี้ผู้ป่วยท่ีมีความวิตกกังวลได้ง่ายอาจจะเช่ือมโยงอาการปวดกับระยะของโรคที่เป็นมากขึ้นทำให้เกิดความกลัวและอดทนต่อความปวดได้น้อยลงได้
-
ประสบการณ์ของผู้ป่วย ประสบการณ์ในอดีตของผู้ป่วยอาจส่งผล ต่อระดับการรับรู้ความปวด ผู้ป่วยที่เคยผ่านประสบการณ์ชีวิต หนักๆ มาก่อน เช่น เคยคลอดลูกโดยไม่ได้ใช้การบล็อกหลังระงับปวดอาจจะรู้สึกทนต่ออาการปวดจากโรคมะเร็งได้มากกว่าคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
-
ครอบครัว การมีครอบครัวคอยช่วยให้กําลังใจและดูแล ทําให้ ผู้ป่วยมี ความอบอุ่นใจและเป็นวิธีการรักษาอาการปวดได้เป็นอย่างดี ในขณะท่ีมีข้อมูลวิจัยบอกว่าผู้ป่วยท่ีอยู่ตัวคนเดียวมักมีแนวโน้มท่ีต้องใช้ยาแก้ปวดในขนาดท่ีสูงกว่า เนื่องจากความรู้สึกกลัวว่าหากมีอาการมากข้ึนแล้วจะจัดการไม่ได้และไม่มีคนช่วยดูแล
- การเข้าถึงระบบสุขภาพ เช่น ผู้ป่วยท่ีไม่มีสิทธิการรักษาและไม่มี เงิน ในการรักษาพยาบาลอาจจะต้องอดทนต่ออาการปวดมากกว่า ผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงระบบสุขภาพได้สะดวก
ระหว่างทางของการเจ็บป่วยตั้งแต่เริ่มรู้การวินิจฉัยไปจนถึง ปลายทางของชีวิต ผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจจะต้องเจอกับอาการต่างๆ หลากหลายมากมาย ถึงแม้จะไม่อาจรักษาให้อาการหลายๆ อย่างหายขาดได้ แต่การรู้เทคนิคการดูแลผู้ป่วยสําหรับอาการต่างๆ ที่พบบ่อยเหล่านี้อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยก้าวผ่านวันเวลาและความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ดีขึ้น
สำหรับทางการแพทย์ เรามีแบบสอบถามที่เรียกว่า ESAS (Edmonton Symptoms Assessment System) ไว้สําหรับ ให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยลองตอบดูก่อน ซึ่งพบว่ามีอาการที่พบบ่อยสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมากถึง 9 อาการ และผู้ป่วยสามารถเติมอาการอื่นๆ ที่พบบ่อยลงเพิ่มเติมในข้อ 10 ได้ การดูแลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ควรเริ่มจากการดูแลโดยยังไม่ต้องใช้ยาก่อน แต่หากอาการเป็นมากขึ้นจนเริ่มควบคุมได้ยากจึงควรพิจารณาใช้ยาเพิ่มเติม
อาการปวด
สําหรับอาการปวดสามารถอ่านได้ในหัวข้อเรื่องอาการปวดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน
อาการอ่อนเพลีย
วิธีดูแล คือ ให้พักบ่อยและนานขึ้นระหว่างการทํากิจกรรมท่ีเคยทํา ทําความเข้าใจว่าอาการอ่อนเพลียอาจเป็นส่วนหนึ่งของ โรคที่เป็น ไม่ควรหักโหมหรือสร้างมาตรฐานสูงเกินไปสําหรับตัว ผู้ป่วย
อาการคลื่นไส้อาเจียน
วิธีดูแล มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาการกลิ่นฉุนและอาหารที่ไม่น่ารับประทาน
- ให้กินน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- เลี่ยงอาหารมันเลี่ยงอาหารรสจัด
- รักษาความสะอาดในช่องปาก
- จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งหลังมื้ออาหาร
- ดูแลเรื่องความกังวลของผู้ป่วยเพราะความกังวลอาจเป็นสาเหตุของการอาเจียนได้
- อาจพิจารณาให้ยากินแก้อาเจียนหากยังไม่ดีข้ึนควรฉีดยา
อาการซึมเศร้า
วิธีดูแล คือ รับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย ให้กําลังใจด้วยคําพูดดีๆ แก้ไขอาการทางกายท่ีเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย เช่น อาการปวด อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเหนื่อยหอบ หรืออาการอื่นๆ หากภาวะซึมเศร้าเป็นรุนแรงขึ้นอาจพิจารณาให้ยาต้าน อารมณ์ซึมเศร้า
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการวิตกกังวล
วิธีดูแล มีดังนี้
- รับฟังความรู้สึกของผู้ป่วยและเร่ืองราวที่กังวล
- ให้คําอธิบายเรื่องที่กังวล
- ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการเรื่องท่ีกังวลอยู่หากทําได้
- หากอาการเป็นมากข้ึนอาจพิจารณาให้ยาคลายกังวล
อาการง่วงซึม
วิธีดูแล คือ หาสาเหตุว่าเป็นจากการได้รับยาคลายกังวล ยานอนหลับ หรือยาแก้ปวดมากเกินไปหรือไม่ หากไม่พบสาเหตุ อาจเป็นส่วนหน่ึงของอาการอ่อนเพลีย ควรให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มท่ีบางครั้งผู้ป่วยอาจใช้วิธีเก็บพลังงานสะสม และอาจจะกระปรี้กระเปร่าขึ้นในวันถัดไป
อาการเบื่ออาหาร
วิธีดูแล มีดังนี้
- ให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ตนเองชอบ
- ให้กินน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- ผู้ป่วยมักกินได้มากที่สุดในมื้อเช้า และเมื่อกินในมื้อเช้าแล้ว อาจรู้สึกไม่อยากกินในมื้อถัดไป
- เลี่ยงอาหารมันเลี่ยงอาหารรสจัด
- รักษาความสะอาดในช่องปาก
- หาสาเหตุที่อาจแก้ไขได้เช่นท้องผูกปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน หรือซึมเศร้า
- อาจพิจารณาใช้ยาเจริญอาหารกลุ่มสเตียรอยด์หากไม่มี
ข้อห้าม: ญาติหรือผู้ดูแลควรทําความเข้าใจว่า ไม่ใช่ความผิดของญาติ หรือผู้ดูแลที่ดูแลไม่ดี แต่เป็นอาการของโรคที่เป็นมากขึ้นที่ทําให้ ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร
อาการเหนื่อยหอบ
วิธีดูแล มีดังนี้
- ให้พักเหนื่อย
- ไม่ทํากิจกรรมที่หักโหมเกินไป เลือกทํากิจกรรมที่ ผ่อนคลาย
- ฝึกการหายใจ หรือการกําหนดลมหายใจ
- ใช้พัดลมเป่าให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นสบาย
โดยท่ัวไปการให้ออกซิเจนมักไม่ได้ช่วยให้อาการหอบลดลง ในผู้ป่วยกลุ่มน้ี เนื่องจากออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยมักไม่ต่ํา แต่ การให้ออกซิเจนอาจช่วยให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลรู้สึกคลาย ความกังวลได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การดูแลอาการเหนื่อยของผู้ป่วยจึงควรเป็นการแก้ไขท่ี สาเหตุ เช่น หากเป็นจากการมีน้ําในปอดปริมาณมาก อาจต้องใช้ วิธีการเจาะน้ําในปอดออก อย่างไรก็ตามน้ําในปอดสามารถกลับมาใหม่ได้ เนื่องจากตัวโรคยังคงดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาจพิจารณาใช้ยากลุ่มมอร์ฟีนช่วยลดอาการเหนื่อยควบคู่ไปด้วยหรือเป็นทางเลือกหลักกรณทีผู้ป่วยไมอ่ยากใช้วิธีเจาะน้ำในปอดออก ในผู้ป่วยท่ีมีอาการเหนื่อยหอบมักมีความวิตกกังวลร่วมด้วยจากความกลัวเรื่องอาการที่เก่ียวข้องกับการหายใจไม่สะดวก การให้ยาคลายกังวลอาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายข้ึนได้
สบายดีทั้งกายและใจ
สําหรับข้อนี้เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยรู้สึกสบายดีมากหรือน้อยเพียงใดเป็นการวัดคุณภาพชีวิตแบบคัดกรองเบื้องต้นด้วยแบบสอบถาม หากผู้ป่วยให้คะแนนข้อนี้น้อย อาจลองถามดูว่ามีอะไรที่ผู้ป่วยยังอยากทําอยู่และยังไม่ได้ทําหรือไม่
อาการอื่นๆ
อาการอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะเติมอาการที่พบบ่อยๆ เช่น ท้องผูก กระวนกระวาย มีน้ําในท้อง นอนไม่หลับ หรืออาการอื่นๆ ได้ โดย จะขอกล่าวเพิ่มเติมถึงอาการบางอย่างที่พบได้บ่อย ดังนี้
- อาการสับสนกระวนกระวาย วิธีดูแล คือ หาสาเหตุ เช่น อาจจะเป็นจากการติดเชื้อในร่างกาย ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง โรคไต หรืออาจจะเป็นจากการได้ยามอร์ฟีนมากเกินไปแล้วแก้ไขตามสาเหตุก่อน ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและไม่เปลี่ยนแปลงผู้ดูแลบ่อยเกินไป อาจให้ยาแก้อาการสับสนกระวนกระวายเพิ่มเติมหากหาสาเหตุไม่พบชัดเจน เนื่องจากอาการสับสนกระวนกระวายอาจเป็นอาการหนึ่งที่บอกว่าผู้ป่วยเข้าใกล้ระยะใกล้เสียชีวิต
- อาการท้องผูก วิธีดูแล คือ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ําให้เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารและดื่มน้ําน้อยลง อาจต้องให้ยาระบาย ร่วมด้วย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีนอยู่จะทําให้ ลําไส้เคลื่อนไหวช้าลง จึงควรต้องใช้ยาระบายร่วมด้วยเสมอ พิจารณาสวนทางทวารหนักหากผู้ป่วยยังไม่ถ่ายอุจจาระ ประมาณ 3 วัน
- มีน้ําในท้องและขาบวม วิธีดูแล คือ หากผู้ป่วยไม่ได้รู้สึก อึดอัดทรมานมากอาจจะ ไม่ต้องทําอะไร หากทราบว่าค่าโปรตีนไข่ขาว (albumin) ในเลือดต่ำ พิจารณากินไข่ขาวเพิ่มเติมวันละ 3-4 ฟอง โดยทําเมนูจากไข่ขาว ให้หลากหลายจะช่วยให้ไม่เบื่อจนเกินไป และจะช่วยลดอาการ บวมได้ เนื่องจากไข่ขาวเป็นโปรตีนที่ช่วยดูดซับน้ําให้อยู่ในเส้นเลือด เมื่อระดับไข่ขาวในเลือดเพิ่มขึ้น น้ำจะไม่ไหล่รั่วออกมานอกเส้นเลือด จนเกิดอาการบวม อาจพิจารณาให้ยาขับปัสสาวะเพิ่มเติมด้วยสําหรับอาการน้ําในท้อง อาจใช้วิธีการเจาะน้ําในท้องออกเพิ่มเติม แต่ควรทราบข้อมูลว่าอาการน้ําในท้องสามารถกลับมาเป็น ใหม่ได้ และอาจต้องมีการเจาะออกเมื่อเร่ิมมีอาการรบกวนผู้ป่วย
- นอนไม่หลับ วิธีดูแล คือ ปรับเวลาการเข้านอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่นอนกลางวันหากไม่จําเป็น หรือหากนอนกลางวันไม่ ควรเกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรทํากิจกรรมหลายอย่างเกินไปก่อนเข้านอนเพราะจะเป็นเหมือนการกระตุ้นร่างกายมากเกินไป ไม่ควรดื่มน้ําก่อนนอนทันที ควรเว้นระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อให้มีเวลาเข้าห้องน้ําก่อน เข้านอนจริง และเลือกใช้ยานอนหลับเมื่อลองใช้ทุกวิธีแล้วยังนอนไม่หลับ
ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara