ภาวะปวดประจำเดือน (Painful Menstruation)

ภาวะปวดประจำเดือน เป็นสิ่งที่ผู้หญิงแทบทุกคนจะต้องเคยเป็น บางคนอาจปวดน้อย บางคนอาจปวดมาก แต่ถ้ามีอาการรุนแรง อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกาย
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะปวดประจำเดือน (Painful Menstruation)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะปวดประจำเดือน อาจทำให้รู้สึกปวด มีอาการตะคริว และรู้สึกไม่สบายตัวบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากเจ็บปวดมาก จนทำให้ต้องหยุดงาน หยุดเรียน ไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ ถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติ

ภาวะปวดประจำเดือนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ภาวะปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) มักเกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน และระหว่างมีประจำเดือน
  2. ภาวะปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) มักเกิดขึ้นภายหลังการมีประจำเดือนวันแรก โดยการเกิดภาวะที่มีผลต่อมดลูกหรืออวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเนื้องอกในมดลูก สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้

สาเหตุของภาวะปวดประจำเดือน

ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะปวดประจำเดือน แต่ผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ มีโอกาสที่จะเกิดภาวะปวดประจำเดือนสูง

  • มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • บุคคลในครอบครัวเคยมีอาการปวดประจำเดือนอย่างหนัก
  • สูบบุหรี่
  • ประจำเดือนมามากอยู่เสมอ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ไม่เคยตั้งครรภ์
  • เข้าสู่วัยสาวตั้งแต่อายุ 11 ปี

บางกรณีอาจพบว่าภาวะปวดประจำเดือนเป็นผลมาจากความผิดปกติทางการแพทย์ เช่น

  • กลุ่มอาการปวดก่อนช่วงประจำเดือน (Premenstrual syndrome: PMS) กลุ่มอาการดังกล่าวทำให้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนและค่อยๆ หายไปหลังจากประจำเดือนมาแล้ว
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นความผิดปกติที่ทำให้เซลล์จากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตในตำแหน่งอื่นของร่างกาย ปกติมักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ รังไข่ หรืออวัยวะในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง สามารถทำให้เกิดแรงกดบนมดลูก หรือทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติและเกิดความเจ็บปวดได้
  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) การติดเชื้อของมดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นำไปสู่การอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์และทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
  • ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) ภาวะที่เยื่อบุมดลูกเติบโตเข้าไปในผนังกล้ามเนื้อของมดลูก ทำให้เจ็บปวดจากการอักเสบและแรงกดทับ
  • ปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis) ภาวะที่ทำให้ปากมดลูกมีขนาดเล็ก และทำให้ประจำเดือนไหลช้า ส่งผลให้แรงดันภายในมดลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตามมา

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

หากอาการปวดประจำเดือนรบกวนกิจวัตรประจำวัน และมีอาการต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีความเจ็บปวดต่อเนื่องหลังใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  • มีความเจ็บปวดอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน
  • มีลิ่มเลือดออกมาพร้อมประจำเดือน
  • มีอาการปวดเกร็ง ตามมาด้วยอาการถ่ายเหลวและคลื่นไส้
  • ปวดอุ้งเชิงกราน แม้ไม่ได้มีประจำเดือน

หากมีอาการปวดท้องเกร็ง ร่วมกับเป็นไข้ มีตกขาวผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะในอุ้งเชิงกรานจนนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยภาวะปวดประจำเดือน

แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุพื้นฐานของภาวะปวดประจำเดือน จากนั้นจึงตรวจร่างกายและอาจตรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน เพื่อตรวจสอบความผิดปกติใดๆ ในระบบสืบพันธุ์ และเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ

หากแพทย์ประเมินว่าอาการปวดประจำเดือน อาจเกิดจากโรคต่างๆ ก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • อัลตร้าซาวด์ เป็นการใช้หัวอุปกรณ์สร้างคลื่นเสียงเพื่อส่องดูโครงสร้างภายในร่างกาย
  • การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) การถ่ายภาพรังสีเพื่อสร้างภาพภายในร่างกาย
  • การสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI) การถ่ายภาพโดยใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพภายในร่างกาย
  • การส่องกล้องตรวจภายใน (Laparoscopy) การเจาะแผลเล็กๆ ในช่องท้อง และค่อยๆ ใส่หลอดใยแก้วนำแสงด้วยกล้อง เพื่อดูลักษณะโครงสร้างภายในช่องท้อง

การรักษภาวะปวดประจำเดือน

ภาวะปวดประจำเดือน สามารถบรรเทาอาการด้วยตัวเองได้ ด้วยการปฏิบัติดังนร้

  • ใช้แผ่นความร้อนประคบบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือด้านหลัง
  • อาบน้ำอุ่น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือเล่นโยคะ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
  • การเล่นโยคะ
  • รับประทานยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ก่อนถึงกำหนดประจำเดือน
  • รับประทานวิตามิน B6 วิตามิน B1 วิตามิน E กรดไขมันโอเมก้า 3 แคลเซียมและแมกนีเซียมเสริม
  • ลดการบริโภคเกลือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีนและน้ำตาล เพื่อป้องกันอาการท้องอืด

หากการดูแลด้วยตนเองที่บ้านไม่สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีฤทธิ์แก้ปวด และลดการอักเสบ สามารถหาซื้อบางชนิดได้จากร้านขายยา
  • ยาแก้ปวด ยาหลายชนิดสามารถหาซื้อได้ตามร้ายขายยาโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เช่น Ibuprofen หรือ Naproxen Sodium
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาซึมเศร้าสามารถช่วยลดอาการอารมณ์แปรปรวนที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการปวดก่อนมีประจำเดือน (PMS)
  • การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน มีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด แผ่นแปะ ห่วงคุมกำเนิดในช่องคลอด การฉีด ยาฝัง ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวสามารถป้องกันการตกไข่ จึงช่วยควบคุมอาการปวดประจำเดือนได้
  • การผ่าตัด ถูกนำมาใช้รักษาอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเนื้องอกในมดลูก ในบางครั้งอาจพบการผ่าตัดมดลูกออก (Hysterectomy) ซึ่งเป็นการรักษาลำดับสุดท้าย หากการรักษาอื่นไม่ได้ผลและผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดรุนแรง แต่ถ้าผ่าตัดมดลูกออกก็จะไม่สามารถมีลูกได้อีกต่อไป ตัวเลือกนี้มักใช้ในผู้หญิงที่ไม่ได้วางแผนว่าจะตั้งครรภ์ หรือไม่ต้องการมีบุตรอีกต่อไปแล้ว

ที่มาของข้อมูล

Janelle Martel and Erica Cirino, What Causes Painful Menstruation? (https://www.healthline.com/symptom/painful-menstruation), February 2, 2017.


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Period Pain | Menstrual Cramps. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/periodpain.html)
Menstrual cramps: Causes and management. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/157333)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)