อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)

อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นทั้งจากภาวะทางกายภาพ และภาวะทางจิตใจ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัดจิตใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หมายถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหรือในอุ้งเชิงกรานระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ อาจรู้สึกเจ็บจี๊ดหรือรู้สึกเจ็บรุนแรงมาก โดยอาการเจ็บดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อน ระหว่าง หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์

ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถเกิดอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน และจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น หากรับประทานยาที่ทำให้ช่องคลอดแห้ง และติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นอย่างไร

อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์สามารถมีลักษณะแตกต่างกันไป ดังนี้

  • เจ็บในช่องคลอด
  • เจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ
  • เจ็บตรงกระเพาะปัสสาวะ
  • เจ็บระหว่างการสอดใส่
  • เจ็บระหว่างหรือภายหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดร้าวลึกลงไปในอุ้งเชิงกรานระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • เมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ยังไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่จะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลัง
  • เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเฉพาะคน
  • เจ็บเมื่อใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
  • เจ็บแบบปวดแสบปวดร้อน
  • เจ็บๆ คันๆ คล้ายโดนมดกัด
  • ปวดตุบๆ ข้างใน
  • ปวดเสียดคล้ายกับปวดประจำเดือน

สาเหตุของอาการเจ็บจากเพศสัมพันธ์

ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดจากเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากปัญหาทางกายภาพ ขณะที่บางคนอาจเจ็บปวดจากปัจจัยทางอารมณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • สาเหตุทางกายภาพทั่วไป ได้แก่
    • ภาวะช่องคลอดแห้ง ซึ่งอาจเกิดจาก ช่วงวัยหมดประจำเดือน การคลอดบุตร การให้นมบุตร การรับประทานยาบางชนิด การเร้าอารมณ์น้อยเกินไปก่อนมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
    • ความผิดปกติของผิวหนังที่ทำให้เกิดแผลแตก หรือคัน หรือแผลปวดแสบปวดร้อน
    • การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในระบบสืบพันธุ์
    • การบาดเจ็บจากการคลอดบุตร
    • อุบัติเหตุ
    • การผ่าตัดมดลูกหรือการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน
    • อาการปวดเรื้อรังบริเวณปากช่องคลอด (Vulvodynia)
    • ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)
    • ภาวะช่องคลอดหดเกร็ง (Vaginismus)
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
    • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
    • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease (PID))
    • เนื้องอกในมดลูก
    • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
    • การได้รับรังสีรักษา หรือเคมีบำบัด
  • สาเหตุจากปัจจัยทางอารมณ์ ได้แก่
    • ความเครียด ความกังวลซึ่งอาจส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดเกร็ง
    • ความอับอายเกี่ยวกับเรื่องเพศ
    • ปัญหาเรื่องความมั่นใจในรูปร่างและหน้าตา
    • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
    • ปัญหาความสัมพันธ์
    • ความผิดปกติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคของต่อมไทรอยด์
    • เคยโดนล่วงละเมิดทางเพศ
    • ประวัติการข่มขืน

การวินิจฉัยอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติทางการแพทย์และข้อมูลเรื่องเพศ จากนั้นจะตรวจดูบริเวณอุ้งเชิงกรานภายนอกและตรวจภายในเพื่อดูอาการต่างๆ เช่น

  • ความแห้งของช่องคลอด
  • การอักเสบ หรือการติดเชื้อ
  • ปัญหาทางกายวิภาค
  • หูดที่อวัยวะเพศ
  • แผลเป็นต่างๆ
  • ก้อนนูนผิดปกติ
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ในการตรวจภายใน แพทย์จะใช้อุปกรณ์เฉพาะเรียกว่า เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอด (Speculum) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจดูลักษณะช่องคลอดเช่นเดียวกับการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) เพื่อให้แพทย์สามารถใช้ก้านพันสำลีกดเบาๆ บริเวณช่องคลอด เพื่อระบุตำแหน่งของความเจ็บปวดได้แม่นยำมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติมตามอาการ เช่น การอัลตร้าซาวด์อุ้งเชิงกราน การตรวจเพาะเชื้อเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

การรักษาอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

หากมีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ดังนี้

  • มีเพศสัมพันธ์ตอนที่อารมณ์และจิตใจผ่อนคลาย
  • พูดคุยอย่างเปิดอกกับคู่รักเกี่ยวกับความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะให้หมดก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • อาบน้ำอุ่นก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้ยาแก้ปวดที่ขายตามร้านขายยาก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ประคบถุงน้ำแข็งบริเวณช่องคลอดเพื่อลดความปวดแสบปวดร้อนภายหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

แต่ถ้าดูแลตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หากเกิดจากการติดเชื้อหรือความผิดปกติทางการแพทย์ แพทย์อาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา หรือยาสเตียรอยด์เหน็บเฉพาะที่หรือชนิดฉีด

หากอาการเจ็บปวดเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง แพทย์อาจให้ฮอร์โมนเสริมจากยาเม็ด ครีม หรือวงแหวนยืดหยุ่นที่สามารถปลดปล่อยเอสโตรเจนปริมาณทีละน้อยลงในช่องคลอด ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อหนาตัวและทดทานต่อการเสียดสีมากขึ้น จึงช่วยลดอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ดี

ระหว่างทำการรักษาอาการเจ็บปวดดังกล่าว ผู้ป่วยควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่จนกว่าจะหายเป็นปกติ แต่ถ้าต้องการมีเพศสัมพันธ์จริงๆ ให้ใช้วิธีนวดคลึงกระตุ้นความรู้สึก การจูบ การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (Oral Sex) และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

การป้องกันอาการเจ็บปวดจากเพศสัมพันธ์

การปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บปวดจากเพศสัมพันธ์ได้บ้าง

  • รออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดก่อนกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง
  • ใช้สารหล่อลื่นที่ละลายน้ำได้เมื่อมีปัญหาช่องคลอดแห้ง
  • รักษาสุขอนามัยให้สะอาดเหมาะสม
  • ตรวจร่างกายเป็นประจำ
  • ป้องกันการติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
  • กระตุ้นการหล่อลื่นในช่องคลอดตามธรรมชาติด้วยการเร้าอารมณ์ที่นานเพียงพอ

ที่มาของข้อมูล

Anna Zernone Giorgi, What Causes Pain With Intercourse? (https://www.healthline.com/symptom/pain-with-intercourse), July 7, 2017.


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dyspareunia (painful intercourse): Causes and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/192590)
Painful intercourse (dyspareunia) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/painful-intercourse/symptoms-causes/syc-20375967)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด หากคู่นอนของคุณมีความเข้าใจ และรู้จักวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม