เด็กผู้หญิงควรได้รับการตรวจยีนในช่วงอายุ 13-15 ปี มาดูกันว่าการตรวจยีนเป็นอย่างไรและทำไมเด็กผู้หญิงจึงไม่ค่อยได้รับการตรวจยีนหรือตรวจภายในมากนัก
การตรวจยีนคืออะไร
สูตินรีเวชวิทยา (Gynecology) หรือที่มักเรียกสั้นๆ ว่า “ยีน” เป็นสาขาวิชาทางการแพทย์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง โดยการตรวจยีนมีลักษณะเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจฟัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ซึ่งการตรวจยีนถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพทางสูตินรีเวชของคุณสาวๆ และเพื่อตรวจหาปัญหาทางสุขภาพที่อาจเริ่มขึ้นก่อนการลุกลามเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งการตรวจยีนจะช่วยให้พบอาการผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่คุณจะรู้สึกเสียอีก เปรียบเหมือนทันตแพทย์พบว่าคุณมีฟันผุก่อนที่คุณจะรู้สึกปวดฟันนั่นล่ะ
แพทย์เรียกการตรวจสุขภาพแบบนี้ว่า “การตรวจยีน” ซึ่งไม่ได้มีการตรวจเช็คร่างกายมากนัก โดยแพทย์จะตรวจบริเวณเต้านมและตรวจภายใน แต่แพทย์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการซักถามพูดคุย โดยหัวข้อที่แพทย์จะซักถามหรือคุณอาจมีข้อสงสัย ดังนี้ เรื่องของรอบเดือน การเพิ่มขนาดหน้าอก การคุมกำเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ ความสัมพันธ์กับคนรัก การตั้งครรภ์ และลักษณะทางกายภาพของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งคุณมีเวลาในการสอบถามข้อสงสัยต่างๆ ที่มี เช่น หน้าอกดูเป็นอย่างไรบ้าง ควรโกนหรือแว๊กซ์ขนบริเวณนั้นหรือไม่ หรือสิ่งที่คุณได้ยินมาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถูกต้องรึเปล่า เป็นต้น
เมื่อไหร่ควรได้รับการตรวจยีน
แพทย์แนะนำให้เด็กผู้หญิงควรได้รับการตรวจยีนในช่วงอายุ 13-15 ปี ซึ่งเด็กผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธ์แล้วในช่วงอายุนี้ ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการตรวจเช็คว่าร่างกายมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตชองร่างกายปกติดีหรือไม่
หลังจากการพบแพทย์เพื่อการตรวจยีนในครั้งแรกแล้ว แพทย์จะนัดให้ตรวจยีนอีกปีละ 1 ครั้งแม้คุณจะไม่ได้มีอาการป่วย เนื่องจากระบบสืพันธุ์นั้นอยู่ภายในร่างกายซึ่งคุณจะไม่มีทางทราบได้เลยว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ หรือไม่ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ
เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ต้องการตรวจเต้านมหรือตรวจภายในจนกว่าจะอายุ 21 ปี แต่หากแพทย์สังเกตเห็นความผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด รอบเดือนขาด อวัยวะเพศบวมและมีอาการคัน มีตกขาวมากผิดปกติ หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ แพทย์จะทำการตรวจภายในเมื่อคุณพบแพทย์เพื่อตรวจยีนประจำปี และหากคนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคทางระบบสืบพันธุ์แพทย์จะทำการตรวจเต้านมและตรวจภายในด้วยเช่นกัน
แพทย์จะทำอย่างไรบ้างเมื่อไปตรวจยีน
เมื่อถึงเวลานัดตรวจยีน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลจะให้คุณกรอกประวัติทางสุขภาพของคุณ ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- วันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย
- มีโรคประจำตัวหรือไม่ เช่น โรคเบาหวานหรือหอบหืด
- ทานยาอะไรอยู่เป็นประจำหรือไม่
- เป็นโรคภูมิแพ้รึเปล่า
- การใช้ชีวิตประจำวันและพฤติกรรมทางสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายหรือการสูบบุหรี่
- ประวัติทางสุขภาพของคนในครอบครัว
- ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ปาก หรือทวารหนัก
- ประวัติการตั้งครรภ์
- ข้อมูลการคุมกำเนิดและรูปแบบวิธีการคุมกำเนิด
การตรวจยีน
เมื่อไปตรวจยีน พยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์จะชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิตให้คุณ จากนั้นแพทย์จะตรวจเช็คร่างกายด้วยสายตาก่อนอย่างการตรวจเต้านมโดยคุณต้องนอนเปลือยและมีผ้าห่มคลุมตัวไว้
แพทย์จะตรวจคลำบริเวณทรวงออกเพื่อดูตำแหน่งการเจริญเติบโตของหน้าอกและตรวจดูให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณเจริญเติบโตตามปกติและแพทย์จะตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกว่าเป็นไปตามปกติ แพทย์อาจวิเคราะห์ว่าคุณต้องได้รับการตรวจภายในซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกประหม่าแต่ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะการตรวจภายในไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ทว่าคุณอาจรู้สึกกดดันและอึดอัดเล็กน้อยในขณะตรวจภายใน ดังนั้นคุณไม่ควรกังวลใดๆ และทำตัวเองให้รู้สึกผ่อนคลาย พยายามหายใจเข้าออกลึกๆ และคิดถึงเรื่องที่จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายขึ้น หากการตรวจภายในครั้งนี้เป็นครั้งแรกของคุณ คุณจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะแพทย์จะอธิบายให้คุณเข้าใจกระบวนการก่อนการตรวจเช็คและหากคุณมีข้อสงสัย คุณจำเป็นต้องรีบถามแพทย์ทันที และหากคุณต้องการให้แพทย์หยุดขณะตรวจอยู่ คุณสามารถบอกให้แพทย์หยุดได้ทันทีเช่นกัน
หากคุณยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คุณควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล เนื่องจากแพทย์จะแนะนำให้หญิงทุกคนที่มีอายุระหว่าง 11-26 ปี ฉีดวัคซีนนี้ นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีด้วย กระบวนการตรวจเช็คของแพทย์แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แพทย์บางท่านจะพูดคุยสอบถามหรือซักประวัติทางสุขภาพของคุณก่อนจึงจะตรวจร่างกาย ในขณะที่แพทย์บางท่านจะตรวจร่างกายของคุณก่อน โดยการตรวจในแต่ละครั้งผู้ปกครองสามารถอยู่ในห้องตรวจกับคุณได้ แต่หากคุณอายและไม่ต้องการให้ใครอยู่ด้วยในห้องตรวจคุณก็สามารถบอกแพทย์หรือพยาบาลได้เช่นกัน ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะตรวจเช็คคุณเองตามลำพังและจะแยกไปคุยกับผู้ปกครองอีกทีเมื่อตรวจร่างกายแล้วเสร็จ
แพทย์ทราบดีว่าการตรวจรักษาของผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและจำเป็นต้องเป็นความลับ ซึ่งคุณสามารถถามแพทย์ได้โดยตรงว่าแพทย์จะแจ้งผลการตรวจร่างกายของคุณกับผู้ปกครองอย่างไร และหากคุณไม่ต้องการให้ผู้ปกครองทราบผลตรวจคุณสามารถบอกแพทย์ได้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว คุณสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตั้งแต่ตอนโทรนัดหมายเพื่อตรวจร่างกาย
การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หากคุณมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ แพทย์จะทำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย โดยแพทย์จะตรวจปัสสาวะหรือตรวจเนื้อเยื่อจากช่องคลอดเพื่อวิเคราะห์โรค หรือบางครั้งอาจต้องมีการตรวจเลือดด้วย
หากคุณพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล แพทย์สามารถนำเนื้อเยื่อหรือมูกบริเวณช่องคลอดไปตรวจเช็คได้ทันที แต่บางที่จะจัดชุดการเก็บตัวอย่างให้คุณนำไปเก็บเองได้ที่บ้าน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แพทย์จะเก็บข้อมูลการตรวจโรคของผู้ป่วยไว้เป็นความลับ แนะนำให้บอกแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับการรับผลตรวจที่คุณต้องการ และควรให้ข้อมูลการติดต่อฉุกเฉินหากทางสถานพยาบาลไม่สามารถติดต่อคุณได้
ถามเมื่อมีข้อสงสัย
คุณอาจได้ยินข้อมูลต่างๆ ที่เล่าลือกันมาเกี่ยวกับเพศและการมีเพศสัมพันธ์ การนัดแพทย์เพื่อตรวจยีนถือเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้คำตอบที่แท้จริงเกี่ยวเรื่องที่คุณสงสัย
เขียนโน๊ตคำถามต่างๆ ที่คุณอยากรู้ แล้วนำลิสต์คำถามเหล่านั้นติดไปด้วยในวันนัดพบแพทย์ และหากคุณอายที่จะถามคำถามกับแพทย์โดยตรง คุณเพียงยื่นลิสต์คำถามให้ไปแล้วรอฟังคำตอบจากแพทย์
กับบางหัวข้อคุณอาจเขอะเขินที่จะพูดถึง โดยเฉพาะหากคุณยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพูดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์หรือการมีความสัมพันธ์กับคนรักคือช่วงเวลาที่คุณพร้อมอยากจะรู้เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวเมื่อเวลานั้นมาถึงจริงๆ
ข้อดีของการพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อยิ่งพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งรู้สึกอึดอัดที่หรือเขอะเขินน้อยลง และจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะพูดกับผู้ปกครองได้ในทุกๆ เรื่อง ซึ่งแพทย์สามารถแนะนำเคล็ดลับการพูดคุยกับพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศอื่นๆ
ใครจะเป็นผู้ตรวจยีนของเรา
โดยปกติแล้วการตรวจยีนมักจะดำเนินการโดยสูตินรีแพทย์ แต่ก็ไม่ได้เสมอไป เพราะแพทย์ทางด้านการวางแผนครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพวัยรุ่น พยาบาล หรือกุมารแพทย์ สามารถทำการตรวจยีนให้คุณได้เช่นกัน ซึ่งเด็กผู้หญิงบางส่วนทำการตรวจร่างกาย ณ คลินิกเพื่อสุขภาพต่างๆ ในชุมชนได้
พบว่าทั้งแพทย์หญิงและแพทย์ชายสามารถทำการตรวจยีนให้คุณได้ สิ่งสำคัญคือ คุณต้องรู้สึกสบายใจกับผู้ตรวจมากที่สุด
การนัดหมายเพื่อตรวจยีน
หากคุณอายุ 13 ปีแล้วหรือมากกว่า และผู้ปกครองยังไม่เคยพูดถึงการตรวจยีน คุณสามารถบอกพวกเขาได้ว่าคุณสนใจอยากตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่ดีที่คุณให้ผู้ปกครองมีส่วนในการดูแลสุขภาพของคุณด้วย และหากคุณต้องไปพบแพทย์ คุณจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองไปกับคุณเนื่องด้วยข้อกำหนดทางประกันสุขภาพที่มีราคาแพง
หากคุณไม่ต้องการให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับการตรวจยีนของคุณ คุณสามารถไปตรวจตามศูนย์สุขภาพเพื่อการวางแผนครอบครัว ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์เหล่านี้ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีและค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจก็ไม่แพงอย่างที่คิด
ก่อนที่คุณจะไปพบแพทย์ อย่าลืมจดคำถามที่คุณมีและบันทึกวันที่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดไปด้วย นอกจากนี้ อย่าลืมนำบัตรประกันสุขภาพหรือข้อมูลประกันสุขภาพของคุณไปด้วยล่ะ
หลังจากการตรวจยีนแล้ว
ทางโรงพยาบาลหรือคลินิกที่คุณไปตรวจยีนจะแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับการนัดหมายครั้งต่อไป และหากแพทย์ไม่ได้กำหนดการนัดหมายให้คุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจอีกจนกว่าคุณจะรู้สึกถึงความผิดปกติใดๆ ที่เกิดกับร่างกายของคุณ
การตรวจยีนจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นคุณควรตรวจยีนเป็นประจำทุกปี แต่หากคุณไม่ต้องการกลับไปพบแพทย์คนเดิมอีก คุณสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลได้
ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/obgyn.html