เครื่องคำนวณวันไข่ตก

เครื่องคำนวณวันตกไข่ ช่วยให้ประเมินโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถรู้ได้หากประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่ไม่สามารถให้ข้อมูลชัดเจนเฉพาะบุคคลได้ จึงควรใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดและดูแลสุขภาพอื่นๆ เสมอ
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เครื่องคำนวณวันไข่ตก

สำหรับคู่รักหลายคู่แล้ว การตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผน บางคู่มีความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคู่ยังไม่พร้อม ดังนั้นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้คู่รักวางแผนเรื่องการตั้งครรภ์ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็คือ การนับรอบประจำเดือนและรอบการตกไข่ในเพศหญิง

กระบวนการมีประจำเดือนและตกไข่

ระบบสืบพันธุ์ภายในของเพศหญิงจะประกอบไปด้วยมดลูกที่มีรูปทรงคล้ายชมพู่และมีท่อนำไข่อยู่ทั้ง 2 ข้างของมดลูกเชื่อมต่อไปยังรังไข่ที่มีหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง

รังไข่ทั้ง 2 ข้างของมดลูกจะสลับกันผลิตไข่เดือนละ 1 ฟอง เพื่อรอการผสมจากอสุจิของเพศชาย ไข่ที่สุกพร้อมรับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวออกมายังท่อนำไข่ กระบวนการนี้เรียกว่า “การตกไข่” ซึ่งค่าเฉลี่ยจะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 15 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก

ในขณะเดียวกัน มดลูกจะสร้างผนังภายในให้หนาขึ้นเพื่อรอให้ไข่ที่รับการผสมแล้วมาฝังตัวจนเกิดการตั้งครรภ์ ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้จะทำให้อสุจิมีโอกาสเข้ามาผสมกับไข่ได้มาก แต่หากไม่มีการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่ จะทำให้ไข่สลายตัวและหลุดออกมาเป็นประจำเดือนพร้อมกับผนังภายในมดลูกที่สร้างขึ้นมา กระบวนการนี้โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นทุก 28 วัน 

ทำไมเราจึงควรบันทึกวันประจำเดือนมา?

การบันทึกรอบเดือนทำให้สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ว่าวันตกไข่จะอยู่ในช่วงไหนของเดือน ซึ่งเป็นประโยชน์กับการวางแผนเพื่อป้องกันหรือทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการบันทึกเพื่อดูว่าประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่ หากไม่ปกติก็สามารถสังเกตได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์เมื่อต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ เพื่อจะได้หาสาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกติได้อย่างแม่นยำขึ้น และแก้ไขได้ทันเวลา

สัญญาณเตือนว่ากำลังอยู่ในภาวะตกไข่

ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตกไข่จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนเป็นเพียงอาการเดียว บางคนอาจเป็นร่วมกันหลายอาการ ดังนี้ ปวดท้องน้อย ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการปวดหรือเสียดบริเวณท้องน้อย มีมูกใสบริเวณช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้บ่อยขณะตกไข่ มีเลือดออกเล็กน้อยบริเวณช่องคลอดเจ็บหน้า เจ็บบริเวณเต้านม

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พล. ต. รศ. นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล, อาการปวดท้องจากการตกไข่, (https://www.vibhavadi.com/fertility/knowledge.php?topic=&id=155), 08 กุมภาพันธ์ 2551.
ดร. รภัทร เอกนิธิเศรษฐ์, ระบบสืบพันธุ ์เพศหญิง (Female Reproductive System), (http://www.elfit.ssru.ac.th/rapat_ek/pluginfile.php/63/mod_page/content/66/ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป