กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

จะรู้ได้อย่างไรว่าไข่ตก? มาดูวิธีนับวันไข่ตกแม่นๆ กัน

เมื่ออยู่ในช่วงไข่ตก จะมีอาการบางอย่างบ่งบอกให้รู้ เช่น เจ็บตึงเต้านม มีตกขาว ฯลฯ การคำนวณไข่ตก เช่น วัดอุณหภูมิ นับวัน ใช้แอปคำนวณ
เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะรู้ได้อย่างไรว่าไข่ตก? มาดูวิธีนับวันไข่ตกแม่นๆ กัน

การตกไข่ คือการที่ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงเคลื่อนที่จากรังไข่ไปยังท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ การตกไข่ของสาวๆ เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนหลายตัว เช่น ช่วงเวลาก่อนตกไข่ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน FSH ออกมาเพื่อกระตุ้นให้ไข่สุกและทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น ส่วนช่วงที่มีการตกไข่ ฮอร์โมน LH ในร่างกายก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้ช่องคลอดมีความเปลี่ยนแปลง เตรียมพร้อมสำหรับการสืบพันธุ์ ความสำคัญของวันตกไข่ คือเป็นช่วงที่ร่างกายสาวๆ พร้อมต่อการตั้งครรภ์ ดังนั้น ใครที่อยากมีลูกก็ควรรู้วันตกไข่ของตัวเอง และเลือกมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้นั่นเอง

อาการที่บ่งบอกว่าไข่ตก

เมื่ออยู่ในช่วงไข่ตก ร่างกายสตรีอาจมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. มีมูกลื่นที่ช่องคลอด

ช่วงใกล้วันตกไข่ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงมีการหลั่งมูกใสๆ ที่ทำให้ช่องคลอดลื่นขึ้น พร้อมให้อสุจิเข้ามาผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น หากลองใช้นิ้วแตะดูแล้วพบมูกที่ใสและยืด นั่นเป็นสัญญาณหนึ่งของไข่ตกล่ะ!

2. มีตกขาวหรือเลือดออกเล็กน้อย

สังเกตว่าบางครั้งเราจะมีตกขาวสีออกน้ำตาล หรือมีเลือดออกนิดๆ จากช่องคลอดทั้งที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน นั่นเป็นเพราะในช่วงตกไข่ ฟอลลิเคิลที่ล้อมรอบไข่นั้นแตกออก ทำให้มีเลือดปนออกมาด้วย อาการแบบนี้จะเกิดเพียง 1-2 วันในช่วงที่ไข่ตก หากมีเลือดออกกะปริบกะปรอยนานเป็นเดือนๆ แบบนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์

3. เจ็บคัดเต้านม

เป็นอาการที่พบได้บ้างเช่นกันในช่วงตกไข่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายๆ ตัวในร่างกายนั่นเอง

4. มีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตกไข่ จะทำให้สาวๆ มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น ซึ่งก็สัมพันธ์กับโอกาสในการสืบพันธุ์ที่มากขึ้นในช่วงที่ร่างกายพร้อมต่อการตั้งครรภ์

5. ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงไข่ตก ปากมดลูกจะเปิดมากขึ้น และนุ่มขึ้น เพื่อให้พร้อมต่อการสืบพันธุ์ ต่างจากช่วงที่ผ่านวันตกไข่ไปแล้ว ซึ่งปากมดลูกจะเริ่มแข็ง

วิธีตรวจสอบวันไข่ตก

วิธีตรวจสอบวันไข่ตกมีหลายแนวทาง ซึ่งอาจใช้การสังเกตหรือการจดบันทึกประกอบ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ตรวจสอบวันไข่ตกโดยใช้การนับวัน

โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่จะตกในช่วง 14 วันก่อนมีประจำเดือน ดังนั้น สำหรับคนที่ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอและค่อนข้างตรง ให้ใช้วิธีบันทึกวันแรกที่มีประจำเดือน และกำหนดเป็นวันที่ 1 นับไปจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนในเดือนถัดไป นับระยะเวลาของรอบเดือนหนึ่งๆ ว่ามีกี่วัน

เช่น หากรอบเดือนหนึ่งมี 28 วัน ไข่จะตกช่วง 14 วันก่อนมีประจำเดือน คือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน แต่หากรอบเดือนของเรามี 30 วัน ไข่ก็จะตกประมาณวันที่ 16 ของรอบเดือน นับจากวันที่ประจำเดือนมาวันแรก เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้อาจคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สามารถช่วยคำนวณวันไข่ตกได้ ด้วยการใส่วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุด ร่วมกับความยาวของรอบเดือน ของใช้แอปฯ คำนวณ ที่นี่

2. ตรวจสอบวันไข่ตกโดยใช้วิธีวัดอุณหภูมิร่างกาย

โดยปกติในช่วงต้นของรอบเดือน อุณหภูมิร่างกายของเราจะค่อนข้างคงที่ แต่ในช่วงก่อนตกไข่ อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย และกลับมาสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็วในช่วงตกไข่ ดังนั้น สาวๆ อาจใช้วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายช่วงตื่นนอนทุกวันและบันทึกไว้ หากช่วงไหนอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้คาดเดาว่านั่นคือช่วงไข่ตกนั่นเอง

3. ตรวจสอบวันไข่ตกโดยสังเกตมูกที่ช่องคลอด

ในช่วงตกไข่ช่องคลอดของเราจะมีมูกที่ลื่นกว่าปกติ ดังนั้น เราสามารถสังเกตได้ว่า ช่วงไหนที่ช่องคลอดมีมูกออกมามาก และมูกมีลักษณะใส ลื่น และยืดได้ นั่นก็แสดงว่าร่างกายกำลังอยู่ในช่วงตกไข่

4. ตรวจสอบวันไข่ตกโดยตรวจปัสสาวะโดยใช้ชุดทดสอบ

ในช่วงวันตกไข่ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนลูทิไนซิง หรือ LH ออกมา ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะ ปัจจุบันมีชุดตรวจฮอร์โมนดังกล่าวให้เราหาซื้อมาตรวจเองได้ง่ายๆ เพียงปัสสาวะลงบนแถบทดสอบ แล้วเทียบผลที่เกิดขึ้นตามคู่มือ ข้อแนะนำคือ ควรตรวจหลังตื่นนอนซึ่งปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง และควรตรวจในเวลาเดิมซ้ำๆ ทุกวันจนกว่าจะเจอวันตกไข่


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovulation Calculator & Calendar - Determine Your Most Fertile Days. WebMD. (https://www.webmd.com/healthtool-ovulation-calculator)
Ovulation calculator. BabyCentre UK. (https://www.babycentre.co.uk/ovulation-calculator)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม