ทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาวะตกไข่ผิดปกติ (Ovulatory Dysfunction) และภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation)

อาการ สาเหตุ และการรักษาภาวะไข่ไม่ตก
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาวะตกไข่ผิดปกติ (Ovulatory Dysfunction) และภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation)
ผู้หญิงหลายคนมีความสงสัยและกังวลเกี่ยวกับประจำเดือนที่มาผิดปกติ ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ เกิดปัญหากับระบบสืบพันธุ์ภายในหรือเปล่า ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิงผิดปกติ ก็คือภาวะไข่ไม่ตกนั่นเอง

ภาวะไข่ไม่ตกคืออะไร?

ภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) หมายถึง การที่ขาดฮอร์โมน progesterone การตกไข่ไป การตกไข่ (Ovulation) คือ การที่รังไข่มีการปล่อยไข่ออกมา โดยจะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามกระบวนการหากการตกไข่นั้นไม่ปกติ 

แต่ว่าไม่ได้ขาดหายไปเลยจะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะตกไข่น้อย (Oligoovulation) ทั้งภาวะไข่ไม่ตกหรือภาวะตกไข่น้อย ต่างเป็นประเภทหนึ่งของภาวะตกไข่ผิดปกติ ภาวะตกไข่ผิดปกติพบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงได้บ่อย โดยพบได้มากถึง 40% ของผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะไข่ไม่ตกหรือภาวะตกไข่ผิดปกติมีอะไรบ้าง?

โดยปกติแล้ว ผู้หญิงที่มีภาวะไข่ไม่ตกจะมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือเลวร้ายที่สุดอาจจะไม่มีประจำเดือนเลย 

หากรอบเดือนของคุณน้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 36 วัน นั้นอาจจะหมายถึงคุณมีภาวะตกไข่ผิดปกติ หรือหากรอบเดือนของคุณอยู่ในช่วง 21-36 วัน 

โดยที่ในแต่ละรอบเดือนนั้นไม่สม่ำเสมอ ก็เป็นอีกสัญญาณบอกถึงว่าคุณอาจจะมีภาวะตกไข่ผิดปกติ

ยกตัวอย่างเช่น หากเดือนนี้รอบเดือนของคุณอยู่ที่ 22 วัน เดือนถัดไป 35 วัน ซึ่งช่วงรอบเดือนทั้ง 2 นี้มีความต่างมาก (22 กับ 35 วัน) และอาจเป็นสัญญาณบอกถึงว่าอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่

มันเป็นไปได้ที่คุณมีรอบเดือนที่เกือบจะปกติ แต่ไม่มีการตกไข่ แม้ว่าจะพบภาวะนี้ไม่บ่อยก็ตาม การมีประจำเดือนที่ไม่มีการตกไข่เรียกว่า ภาวะรอบเดือนที่ไม่มีไข่ตก (Anovulatory cycle)

ภาวะไข่ไม่ตกและภาวะตกไข่ผิดปกติทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร?

สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก โอกาสมีบุตรมีประมาณ 25% ในแต่ละเดือน เพราะแม้ว่าจะมีการตกไข่ตามปกติก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในกรณีที่ผู้หญิงมีภาวะไข่ไม่ตก ก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เนื่องจากไม่มีไข่สำหรับการปฏิสนธิ หากผู้หญิงมีการตกไข่ที่ไม่ปกติก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง เนื่องจากมีการตกไข่บ่อยน้อยกว่าปกติ 

นอกจากนี้การตกไข่ที่ช้ากว่าปกติก็ไม่ได้ให้ไข่ที่มีคุณภาพดีเท่าไรนักและการตกไข่ที่ไม่ปกติยังบอกถึงฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงที่อาจจะทำงานได้ไม่ปกติเท่าไรนัก การที่ฮอร์โมนไม่ปกติบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหา ดังต่อไปนี้

  • ขาดมูกไข่ตก (Fertile cervical mucus)
  • ผนังมดลูกบาง หรือหนาเกินไป (ตำแหน่งที่ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะมาฝังตัว)
  • ระดับฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนต่ำผิดปกติ
  • ระยะ Luteal phase สั้นลง

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก?

ภาวะไข่ไม่ตกและภาวะตกไข่ผิดปกติต่างมีสาเหตุได้หลากหลาย สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะตกไข่ผิดปกติคือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome (PCOS)

นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ของภาวะตกไข่ผิดปกติหรือภาวะไข่ไม่ตก ได้แก่

  • ภาวะอ้วน
  • น้ำหนักตัวต่ำเกินไป
  • การออกกำลังกายหักโหม
  • ภาวะระดับโปรแลคตินสูง (Hyperprolactinemia)
  • ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนเวลาอันควร (Premature ovarian failure)
  • วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause) หรือสภาพรังไข่ต่ำ (Low ovarian reserves)
  • ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism))
  • มีความเครียดสูงเกินไป

จะวินิจฉัยภาวะไข่ไม่ตกได้อย่างไร?

แพทย์จะซักประวัติคุณเกี่ยวกับรอบประจำเดือน หากคุณมีรอบเดือนที่ผิดปกติหรือขาดหายไปแพทย์จะสงสัยภาวะตกไข่ผิดปกติ แพทย์อาจให้คุณตรวจและบันทึกอุณหภูมิร่างกายของคุณที่บ้านเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง

หลังจากนั้นแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน โดยระดับฮอร์โมนตัวหนึ่งที่รวมอยู่ด้วยคือการตรวจดู 21 progesterone หลังจากมีการตกไข่ ฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนจะสูงขึ้น ดังนั้นหากฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนของคุณไม่มีการเพิ่มขึ้น คุณอาจจะไม่มีการตกไข่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์อาจจะยังตรวจอัตราซาวนด์เพื่อดูขนาดและรูปร่างของมดลูกและรังไข่ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้ว่ารังไข่มีลักษณะเป็นถุงน้ำหรือไม่ (อาการหนึ่งของ PCOS) อัลตราซาวนด์สามารถใช้ตรวจดูการเจริญเติบโตของ Follicle และการตกไข่ แต่ว่าวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากคุณจำเป็นต้องอัลตราซาวนด์หลายครั้งระหว่างช่วง 1-2 สัปดาห์

มีวิธีรักษาภาวะไข่ไม่ตกได้อย่างไรบ้าง?

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก

ในผู้ป่วยที่มีภาวะไข่ไม่ตกหลายรายสามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันและอาหารการกิน หากน้ำหนักตัวที่ต่ำเกินไปหรือการออกกำลังกายหักโหมเป็นสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก การเพิ่มน้ำหนักตัวหรือลดการออกกำลังกายลงก็เพียงพอต่อการให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ เช่นเดียวกันกับภาวะอ้วน หากคุณมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนัก 10% จากเดิมก็สามารถช่วยให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ การรักษาภาวะไข่ไม่ตกที่พบได้บ่อย คือ ยารักษาภาวะมีบุตรยาก

Clomid เป็นยารักษาภาวะมีบุตรยากตัวแรกที่มีการนำมาใช้ Clomid สามารถทำให้ 80% ของผู้หญิงที่มีภาวะไข่ไม่ตกเกิดการตกไข่ได้ และช่วยให้ 45% สามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 6 เดือนที่ได้รับการรักษา หากการใช้ Clomid ไม่ได้ผล ก็ยังมีการรักษาภาวะมีบุตรยากอื่นให้ลองได้

ในผู้หญิงที่มี PCOS ยาที่เพิ่มความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitizing drugs) เช่น Metformin สามารถช่วยให้กลับมามีการตกไข่ได้ โดยต้องติดตามผลการรักษา 6 เดือนเพื่อดูว่า Metformin ได้ผลหรือไม่ หาก Metformin เพียงอย่างเดียวไม่ได้ผล การนำยารักษาภาวะมีบุตรยากมาใช้คู่กันสามารถเพิ่มโอกาสที่การรักษาจะได้ผลในผู้หญิงที่ใช้ยารักษาภาวะมีบุตรยากเพียงอย่างเดียวแล้วไม่มีการตกไข่

ยารักษาโรงมะเร็ง Letrozole (Femara) สามารถทำให้เกิดการตกไข่ได้ในผู้หญิงที่มี PCOS โดยมีโอกาสได้ผลสูงกว่า หากสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตกคือการที่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนเวลาอันควร หรือสภาพรังไข่ต่ำ (Low ovarian reserves)

ยารักษาภาวะมีบุตรยากก็มีโอกาสน้อยที่จะได้ผล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

แต่ในผู้หญิงบางคนที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อาจจะเลือกการรักษาด้วยเด็กหลอดแก้ว (IVF) ด้วยไข่ของผู้บริจาค

ลองใช้ เครื่องคำนวณวันไข่ตก อัตโนมัติได้ ที่นี่ คลิก >>


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicalnewstoday.com, Ovulatory Dysfunction and Anovulation (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318552.php), July 24, 2017
ncbi.nlm.nih.gov, Ovulatory Dysfunction and Anovulation (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK327781/)
verywellfamily.com, Ovulatory Dysfunction and Anovulation (https://www.verywellfamily.com/anovulation-and-ovulatory-dysfunction-1959926)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป