กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ

หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa)

อาการของภาวะหูชั้นนอกอักเสบ อาการแทรกซ้อน สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะนี้ รวมถึงวิธีป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa)

เกี่ยวกับภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

กายวิภาคภายในหูของคนเรา ประกอบไปด้วย 3 ชั้น ได้แก่ หูชั้นนอก ซึ่งประกอบไปด้วย ใบหู ช่องรูหู ไปจนถึงเยื่อแก้วหู ต่อมาคือ หูชั้นกลาง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกระดูกหู และหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับระบบประสาทการได้ยินและการทรงตัว 

ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa) คือภาวะที่หูชั้นนอกเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะนี้มักถูกเรียกในทางการแพทย์ว่าโรค “หูนักว่ายน้ำ” (Swimmer’s ear) เนื่องจากมักเกิดภายหลังน้ำเข้าหู หรือมีความชื้นภายในช่องหู ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องหูมีความเปราะบาง เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ง่าย

อาการและสัญญาณของภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

ควรไปพบแพทย์หากมีอาการของภาวะหูชั้นนอกอักเสบดังต่อไปนี้

  • ปวดหู
  • มีอาการคันหรือระคายเคืองภายในหู
  • มีอาการบวมแดงบริเวณใบหูหรือภายในช่องหู
  • มีน้ำใสๆ หรือหนองออกจากหู
  • มีอาการตึงเจ็บขณะโยกบริเวณใบหู
  • มีภาวะสูญเสียการได้ยิน หรืออาการหูอื้อ

สาเหตุของภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดจากแบคทีเรียชนิด Pseudomonas aeruginosa หรือ Staphylococcus aureus ซึ่งมักเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่มีความชื้นสูง
  • การติดเชื้อรา มักพบในภาวะที่มีความชื้นในช่องหู อาการที่สงสัยว่าเป็นการติดเชื้อรา ได้แก่ ผู้ป่วยมักมีอาการคัน ระคายเคืองภายในหู
  • อาการระคายเคืองหรือปฏิกิริยาแพ้ ภาวะหูชั้นนอกอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้จากปฏิกิริยาหรือสารระคายเคืองที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น สารเคมีในสเปรย์ สบู่ แชมพู หรืออาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง

ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นนอกอักเสบ

  • ความชื้นภายในหู ความชื้นภายในช่องหู เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียกับเชื้อราที่ดีมาก มักเกิดภายหลังการว่ายน้ำ หรือมีน้ำเข้าหู
  • การบาดเจ็บภายในช่องหู ซึ่งมักเกิดจากการแคะหูหรือปั่นหู
  • สัมผัสสารเคมีบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • ภาวะโรคทางผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรคภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณผิวหนังภายในช่องหู
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ซึ่งอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามได้ง่าย

การรักษาภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

แพทย์มักพิจารณาสั่งยาหยอดหูเป็นการรักษาหลัก ซึ่งยาหยอดหูมีหลายชนิด ส่วนยารับประทานอื่นๆ แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ตามความเหมาะสม เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน หรือยาแก้ปวด

นอกจากยาหยอดหู การรักษามีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ทำความสะอาดรูหู โดยใช้สำลีพันปลายไม้ หรือพลาสติก เช็ดเบาๆด้วยความนุ่มนวล หรือใช้เครื่องดูดของเหลวดูดหนอง (โดยแพทย์)

2. รับประทานยาต้านจุลชีพ เพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องหูชั้นนอก ประมาณ 7-14 วัน (ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์)

3. ถ้ารูหูส่วนนอกบวมมาก แพทย์อาจใช้ผ้าก๊อซเล็กๆ ชุบยาสเตียรอยด์ช่วยลดบวม ใส่ไว้ในรูหูชั้นนอกประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อรูหูส่วนนอกยุบลง จึงใช้ยาหยอดหูซึ่งมียาต้านจุลชีพ (ที่แพทย์สั่งให้) หยอดวันละ 3-4 ครั้ง

4. ถ้ามีอาการปวดมาก อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น paracetamol ร่วมด้วยได้

5. ในรายที่เป็นหูชั้นนอกอักเสบชนิดร้ายแรง แพทย์อาจรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด

ยาหยอดหูที่ใช้รักษาภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

ยาหยอดหูที่แพทย์มักใช้รักษาภาวะหูชั้นนอกอักเสบมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

  • ยาหยอดหูปฏิชีวนะ รักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุได้
  • ยาหยอดหูคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาประเภทนี้สามารถช่วยลดอาการบวมภายในช่องหู
  • ยาหยอดหูต้านเชื้อรา ยาประเภทนี้สามารถรักษาภาวะติดเชื้อรา
  • ยาหยอดหูชนิดที่เป็นกรด เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างภายในช่องหู ทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมในช่องหู และลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

อย่างไรก็ตามการพิจารณาใช้ยาหยอดหู เป็นการพิจารณาตามดุลยพินิจของแพทย์ ท่านไม่ควรซื้อยาหยอดหูมาหยอดเอง เนื่องจากเป็นยาอันตราย หากใช้ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายแก่อวัยวะสำคัญภายในหูได้

การป้องกันภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการสร้างความบาดเจ็บภายในช่องหู ไม่สอดก้านสำลีหรือสิ่งของเข้าไปในหู ใช้ก้านสำลีก็ต่อเมื่อต้องการทำความสะอาดโดยรอบหูชั้นนอกเท่านั้น หากมีขี้หูสะสมมากควรปรึกษาแพทย์หูคอจมูก
  • ดูแลหูให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
  • หากคุณมีกิจกรรมว่ายน้ำบ่อยครั้ง ควรสวมหมวกว่ายน้ำหรือใช้ปลั๊กเสียบหูเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู (พยายามสอดอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงหากมีอาการระคายเคืองหู)

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน, ยาหยอดหู (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/17), 16 เมษายน 2552

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การทำความสะอาดหู
การทำความสะอาดหู

การทำความสะอาดหูด้วยตัวเองต้องทำอย่างไร ผลิตภัณฑ์ใดที่ใช้ในการล้างหู และถ้ามีขี้หูมากเกินไปจะเป็นอันตรายหรือเปล่า อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม
ขี้หูอุดตัน (Earwax build-up)
ขี้หูอุดตัน (Earwax build-up)

"ห้ามแคะขี้หูออกมาเองเด็ดขาด" อ่านสาเหตุและอาการของขี้หูอุดตัน รวมถึงวิธีรักษาที่ถูกต้อง

อ่านเพิ่ม