ปกติแล้ว ต่อมสร้างขี้หูที่อยู่ระหว่างช่องหูชั้นนอกกับเยื่อบุแก้วหู จะผลิตขี้หูออกมาในปริมาณที่เพียงพอต่อการป้องกันรูหูจากน้ำ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส แมลง และสัตว์ต่างๆ โดยลักษณะขี้หูของแต่ละคนจะแตกต่างกัน เช่น บางคนมีขี้หูเปียก บางคนมีขี้หูแห้ง บางคนมีขี้หูมาก บางคนมีขี้หูน้อย ซึ่งขี้หูจะเคลื่อนที่ออกจากเยื่อบุแก้วหูไปยังด้านนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องแคะออก
แต่ในบางครั้ง หูของเราอาจมีการสร้างขี้หูมากผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตัน และหูอื้อตามมา ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จำเป็นต้องกำจัดขี้หูออก สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ดูดขี้หู แคะขี้หู ใช้ยาหยอดหู หรือสารละลายน้ำให้ขี้หูนุ่มลง เป็นต้น
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การใช้ยาหยอดหู หรือสารละลายน้ำต่างๆ เช่น น้ำเกลือ น้ำมันมะกอก (Olive Oil) น้ำมันพาราฟิน (Paraffin oil) กลีเซอรีน (Glycerin) เป็นหนึ่งในวิธีล้างหู หรือกำจัดขี้หูที่สามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม การแคะขี้หูหลังจากใช้สารดังกล่าวให้ขี้หูนุ่มลง จะต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง และไม่ควรใช้ของแข็ง เพราะอาจทำให้บาดเจ็บได้
สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ใช้กำจัดขี้หูได้
สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นส่วนประกอบสำคัญในยาหยอดหูส่วนใหญ่ ซึ่งแพทย์นิยมให้ผู้ป่วยใช้หยอดหูเพื่อทำให้ขี้หูนิ่มลง และสามารถแคะออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด สามารถทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัย ราคาไม่แพง และมีประสิทธิภาพ
ไม่ควรล้างหูโดยใช้น้ำด้วยตัวเอง เพราะหากไม่ได้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มักจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
วิธีการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการกำจัดขี้หู
สารละลายส่วนใหญ่นั้นมีส่วนผสมของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งจะช่วยทำให้ขี้หูแตกตัว และนิ่มลง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายทั่วไป โดยมีวิธีการใช้ดังนี้
- นอนตะแคงให้หูข้างหนึ่งหงายขึ้น
- หยอดยาหยอดหูตามคำแนะนำที่ฉลาก ลงไปในหูข้างที่หงายขึ้น
- นอนค้างไว้ 5 นาที เพื่อให้สารทำปฏิกิริยากับขี้หู
- ลุกขึ้นนั่งเป็นเวลา 5 นาที ก่อนใช้ทิชชู่เช็ดที่หูส่วนนอกเพื่อซับน้ำที่ไหลออกมา
- ทำซ้ำที่หูอีกข้างหนึ่ง
นอกจากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แล้ว คุณสามารถผสมสารละลายหยอดหูขึ้นมาเองโดยการใช้น้ำส้มสายชูกลั่นและน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
ข้อควรระวัง
- อย่าลืมทำตามขั้นตอนที่ระบุไว้ที่ข้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งคุณอาจจะต้องหยอดมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาหลายวัน
- หากคุณมีการบาดเจ็บในหู ไม่ควรใช้ยาหยอดหู เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อและปวดได้
- อย่าใช้ไม้ หรือวัตถุแปลกปลอมเข้าไปแคะหู หากคุณรู้สึกว่ามีขี้หูสะสมมากเกินไป และทำให้รู้สึกไม่สบาย ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ดูดขี้หูออกให้จะปลอดภัยกว่า
วิธีอื่นๆ ในการกำจัดขี้หู
หากการใช้ยาหยอดหูไม่ได้ผล คุณอาจใช้ไซริงค์ในการล้างหูได้ แต่อย่าลืมทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด หากคุณไม่แน่ใจ หรือไม่รู้วิธีใช้อย่างชัดเจน ควรไปพบแพทย์เพื่อศึกษาวิธีการใช้อย่างถูกต้องเสียก่อน
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ข้อห้ามในการกำจัดขี้หู
คุณอาจเข้าใจว่า การใช้สำลี หรือกิ๊ฟดำ หรือไม้แคะหู ทำความสะอาดหูได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะการใช้วัตถุแปลกปลอมเข้าไปแคะหูนั้นจะยิ่งทำให้ขี้หูถูกดันเข้าไปในส่วนที่ลึกขึ้นจนเกิดการอุดตัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รูหู และเยื่อแก้วหูได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมา
การมีขี้หูมากเกินไปอันตรายอย่างไร
- ขี้หูเกิดการอุดตัน ทำให้หูอื้อ และมีปัญหาในการได้ยิน
- ทำให้เกิดอาการปวด คัน หรือได้ยินเสียงในหู และมีสารคัดหลั่งออกจากหูได้
- เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย และทำให้เกิดการติดเชื้อ
- แพทย์มองด้านในหูไม่เห็นเวลาที่ตรวจ ทำให้อาจมองไม่เห็นอาการผิดปกติที่รุนแรงได้
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการปวด สูญเสียการได้ยิน หรือรู้สึกไม่สบายภายในหู เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่มากกว่าการมีขี้หูสะสม โดยเฉพาะอาการของโรคเกี่ยวกับหู เช่น หูน้ำหนวกร้ายแรง หูชั้นในอักเสบ โรคหินปูในหูชั้นในหลุด หรือมะเร็งหู เป็นต้น ซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นจนทำให้สูญเสียการได้ยินถาวรได้
การไปพบแพทย์จะทำให้รู้ต้นตอของสาเหตุ และสามารถกำหนดวิธีการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้
หูของคนส่วนใหญ่นั้นมีขี้หูในปริมาณที่พอดีต่อการป้องกันการติดเชื้อ น้ำ แมลง และสัตว์ต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็นต้องทำการกำจัดขี้หู หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา เพราะขี้หูนั้นจะหลุดออกมาได้เอง อย่างไรก็ตาม หูของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกว่า ตัวเองมีขี้หูมากกว่าปกติ ถ้าหากมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้