โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่กระดูกอ่อนแอลงจากการสูญเสียมวลกระดูก หรือการสร้างกระดูกใหม่ทดแทนน้อยเกินไป เป็นผลให้กระดูกเปราะบางและสามารถแตกหักได้ง่ายขึ้น คุณอาจไม่ทราบว่าคุณมีโรคกระดูกพรุนจนกว่าจะเกิดกระดูกหักก็เป็นได้
ภาพรวม
เนื่องจากโรคหอบหืดนั้นคือ ภาวะการอักเสบของทางเดินหายใจในปอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นถูกสั่งให้ควบคุมภาวะของโรคด้วยกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดต่างๆ ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน เช่น prednisolone เป็นยาต้านการอักเสบชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพมากที่สุดที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด อย่างไรก็ตาม ยานี้มีผลข้างเคียงที่ทราบกันดีหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสูญเสียกระดูกซึ่งเป็นผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็น โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากสเตียรอยด์ (steroid-induced osteoporosis) หรือ โรคกระดูกพรุนจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (glucocorticoid-induced osteoporosis)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมเป็นกลุ่มยาต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งปลอดภัยกว่ายาชนิดรับประทานอย่างมาก เนื่องจากยาในรูปแบบออกฤทธิ์จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายส่วนอื่นๆได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้ยาที่สูงขึ้นของยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรวมทั้งโรคกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้มักใช้ยาสเตียรอยด์ในปริมาณต่ำที่สุดเท่าที่จำเป็น และมักสั่งยายาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมมากกว่าชนิดรับประทานหากเป็นไปได้ และใช้ปริมาณยาที่ต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมอาการหอบหืดของผู้ป่วยได้
หากคุณจำเป็นต้องได้รับยา prednisolone ทุกวันหรือยาที่คล้ายกันเพื่อควบคุมโรคหอบหืดของคุณ แพทย์ของคุณอาจส่งตรวจความหนาแน่นของกระดูกของคุณ โดยปกติ การทดสอบความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone mineral density tests) จะแนะนำให้ทำให้ผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 65 ขึ้นไป ถ้าคุณใช้ยาสเตียรอยด์ในการควบคุมโรคหอบหืด คุณอาจจำเป็นต้องทำการตรวจมวลกระดูกไวกว่านั้น แพทย์ของคุณจะแจ้งความถี่ของการตรวจสอบความหนาแน่นของกระดูกที่เหมาะสม การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก ไม่ได้เป็นกระบวนการที่น่ากลัวหรือซับซ้อน การตรวจนั้นจะคล้ายกับการฉายภาพรังสีเอกซเรย์แต่จะใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่ามาก
ใครเป็นโรคกระดูกพรุนได้บ้าง?
ประชากรที่อายุมากกว่า 50 ปีประมาณ 10 ล้านคนเป็นโรคกระดูกพรุน และอีกเกือบ 34 ล้านคนมีมวลกระดูกต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคตามมา ผู้สูงอายุโดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือนนั้นมีความเสี่ยงมากที่สุด ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ได้แก่
- ประวัติโรคภายในครอบครัว
- เชื้อชาติ (ชาวเอเชีย และชาวอเมริกันผิวขาวมีความเสี่ยงสูงกว่าชาวแอฟริกัน - อเมริกัน)
- การได้รับปริมาณแคลเซียม และวิตามินดีไม่เพียงพอ
- ขาดการออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
- น้ำหนักตัวน้อย
- เพศ (มักพบบ่อยในเพศหญิง)
- การดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด
- การรับประทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (glucocorticoids) หรือใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดดมในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
- การรับประทานยากันชัก
- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง และระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำในผู้ชาย
ตำแหน่งกระดูกหักที่พบบ่อยที่สุด คือ กระดูกขนาดเล็กที่ด้านหลังของโครงสร้างลำตัว และข้อต่อต่างๆ เช่น กระดูกสันหลัง, ข้อมือ, ต้นแขน, กระดูกเชิงกราน และกระดูกสะโพก ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักตำแหน่งหนึ่งแล้วนั้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักเพิ่มเติมในตำแหน่งอื่นอีก กระดูกหักอาจส่งผลให้เกิดอาการปวด เคลื่อนไหวได้น้อยลงหรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย และอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดในที่สุด
อาการ
ในช่วงเริ่มแรกของโรคกระดูกพรุนนั้น คุณอาจไม่พบอาการปวดหรืออาการแสดงใดๆ แต่เมื่อกระดูกอ่อนแอลงเรื่อยๆ จะเริ่มเกิดอาการต่างๆ ได้แก่:
- อาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะปวดรุนแรงมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นได้หากมีการแตกหักของกระดูก หรือกระดูกสันหลังทรุดตัวลง
- ความสูงลดลง และหลังโก่งโค้งงอ
- การแตกหักของกระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก หรือกระดูกอื่น ๆ
การสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงสามถึงหกเดือนแรกของการใช้ยา หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ภายในปีแรกของการใช้ยา และจากนั้นอัตราการสูญเสียจะค่อยๆลดลงไปจนถึง 2 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จนกว่าจะหยุดยานั้นลง
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
หนึ่งในวิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น คือ การได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพออยู่เสมอ คณะกรรมการอาหารและโภชนาการของสถาบันการแพทย์แห่งสถาบันการศึกษาแห่งชาติได้ตั้งค่าปริมาณแคลเซียมที่จำเป็นได้รับต่อวันไว้ ดังนี้:
- อายุ 1 ถึง 3 ปี: 700 มก. / วัน
- อายุ 4 ถึง 8 ปี: 1,000 มก. / วัน
- อายุ 9 ถึง 13 ปี: 1,300 มก. / วัน
- อายุ 14 ถึง 18 ปี: 1,300 มก. / วัน (รวมถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร)
- อายุ 19 ถึง 50 ปี: 1,000 มก. / วัน (รวมถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร)
- ผู้ชายที่อายุระหว่าง 51 ถึง 70 ปี: 1,000 มก. / วัน
- ผู้หญิงอายุระหว่าง 51 ถึง 70 ปี: 1,200 มก. / วัน
- อายุ 71 ปีขึ้นไป: 1,200 มก. / วัน
โดยแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีถ้ารับประทานกับมื้ออาหารในปริมาณน้อย ๆ ตลอดทั้งวัน แหล่งแคลเซียมที่มีความเข้มข้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์จากนม หากคุณไม่สามารถดื่มนมได้ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีอื่น ๆ ในการเพิ่มปริมาณแคลเซียมต่อวันของคุณ
คุณควรตรวจสอบระดับวิตามินดีด้วยเช่นกัน วิตามินดีจะช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย และสามารถลดการสลายและการสูญเสียกระดูกตามมา ประชากรจำนวนมากขาดวิตามินดี และต้องการอาหารเสริมซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
วิธีเพิ่มเติมในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่
- การออกกำลังกาย กีฬาที่ออกแรงต้านน้ำหนัก และกีฬาเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง ความถี่ที่ต้องการ คือ การออกกำลังกายวันเว้นวัน หรือสี่ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนระยะเวลาต่อครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความหนักของการออกกำลังกาย ถ้าคุณไม่ได้ออกแรงนานแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นการออกกำลังกายอีกครั้ง ว่าต้องเริ่มอย่างไรบ้าง
- ตัวอย่างของการออกกำลังกายที่ออกแรงต้านน้ำหนัก ได้แก่ การเดินเร็ว การปีนเขา การขึ้นบันได การวิ่งเหยาะ การเต้น และการเล่นเทนนิส
- ตัวอย่างของการออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้แก่ การยกน้ำหนัก เวทเทรนนิ่ง และการออกแรงต้านแรงถ่วงต่างๆ
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเกินจำเป็น
- หากคุณเป็นผู้ชายที่ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ตรวจเลือด เพื่อให้แน่ใจว่าระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ของคุณไม่ได้มีค่าต่ำจนเกินไป
ที่มา http://acaai.org/asthma/condit...