กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจกระดูก สิ่งสำคัญสำหรับวัยสูงอายุ

กระดูกเป็นโครงพยุงร่างกายและแหล่งสะสมแคลเซียมสำคัญ หากละเลยอาจมีเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนโดยไม่ทันตั้งตัว เสี่ยงพิการถาวรได้!
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตรวจกระดูก สิ่งสำคัญสำหรับวัยสูงอายุ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพกระดูก มุ่งเน้นไปที่สุขภาพของกระดูก เพื่อวางแผนป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อต่อภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเป็นหลัก
  • ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือกระดูกบาง (Osteopenia) จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยต่อกระดูก แต่อุบัติเหตุนั้นทำให้กระดูกหักและการเชื่อมต่อกันเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์
  • การตรวจกระดูกปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบพิเศษอีกหลายชนิด เช่น ตรวจเลือด หรือตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก เช่น ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป สตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น มีน้ำหนักตัวน้อย หรือผู้ที่มีประวัติกระดูกหักบ่อยๆ
  • การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก

กระดูก (Bone) เป็นโครงสร้างที่สำคัญ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงร่างพยุงร่างกายแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมที่สำคัญอีกด้วย 

ความผิดปกติของกระดูกที่พบในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การหักหรือแตก (Fracture) เนื่องจากอุบัติเหตุ ซึ่งพบได้ในทุกเพศทุกวัย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การตรวจกระดูกเป็นเรื่องสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสามารถวางแผนป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อย่างทันท่วงที 

ภาวะกระดูกพรุนนี้ หากใครเป็นขึ้นมา เวลาหกล้มหรือ หรือเกิดอุบัติเหตุแล้วกระดูกหักก็มีโอกาสพิการตลอดชีวิตได้ 

การตรวจสุขภาพกระดูกคืออะไร?

การตรวจสุขภาพกระดูก คล้ายกับการตรวจสุขภาพทั่วไปแต่มุ่งเน้นไปที่สุขภาพของกระดูก เพื่อวางแผนป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อต่อภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นภัยเงียบที่อันตรายมาก 

ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือกระดูกบาง (Osteopenia) จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยต่อกระดูก แต่อุบัติเหตุนั้นทำให้กระดูกหักและการเชื่อมต่อกันเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ 

มีรายงานว่าผู้ป่วจำนวนมากมีกระดูกผิดรูป กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสียชีวิตภายในหนึ่งปีเนื่องจากอาการแทรกซ้อนต่างๆ หลังจากประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก 

ด้วยเหตุนี้การตรวจสุขภาพกระดูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้แพทย์วางแผนการป้องกัน และรักษาได้อย่างทันท่วงที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีตรวจกระดูก

การตรวจกระดูกปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบพิเศษอีกหลายชนิด เช่น ตรวจเลือด หรือตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นต้น

วิธีตรวจกระดูกที่เป็นที่นิยมมี 3 วิธี ดังนี้

1. การสังเกตลักษณะภายนอกของร่างกาย (General appearance)

วิธีนี้ช่วยบ่งบอกถึงภาวะกระดูกพรุนได้ โดยในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสันหลังค่อม ตัวเตี้ยลง อาจจะเป็นสัญญาณของกระดูกสันหลังพรุนหรือทรุดตัวได้ 

ข้อเสียของการสังเกตคือ กว่าจะพบภาวะผิดปกติดังกล่าว ผู้ป่วยมักจะมีภาวะกระดูกพรุนรุนแรงแล้ว

2. ใช้ภาพถ่ายเอกซเรย์ (X-ray)

จากภาพถ่ายเอกซเรย์ของผู้ที่มีกระดูกพรุน จะพบว่าภาพบริเวณกระดูกมีสีดำขึ้น เพราะความหนาแน่นของกระดูกลดลง โพรงกระดูกกว้างขึ้น เห็นลายกระดูกหยาบๆ และในผู้ป่วยบางรายอาจจะเห็นขอบของกระดูกเป็นสีขาวชัดเจน 

นอกจากนี้ยังอาจเห็นรอยร้าวของกระดูก หรือการทรุดตัวของกระดูกด้วย มักพบความผิดปกติเหล่านี้โดยบังเอิญ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อเสียคือ ไม่สามารถบอกระดับความรุนแรงของภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนได้ชัดเจน ทำให้การประเมินผลการรักษาเป็นไปได้ยาก
การถ่ายเอกซเรย์อาจอยู่ในท่ายืนหรือนั่ง ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของผู้ที่รับการตรวจ

3. การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Minineral Density: BMD)

โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงาน (Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner)  วิธีนี้ผู้รับการตรวจจะสัมผัสรังสีเอกซเรย์น้อยกว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกทั่วไป จึงนับว่าปลอดภัยสูง 

บริเวณที่นิยมทำการตรวจตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ กระดูกสันหลังระดับเอวและกระดูกสะโพก ใช้เวลาการตรวจเพียง 5-10 นาที ขึ้นกับบริเวณที่ทำการตรวจ ให้ผลเป็นค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกเทียบกับค่ามวลกระดูกมาตรฐาน (T-score) 

  • ค่า T-Score มากกว่า -1 ขึ้นไป หมายถึง กระดูกหนาแน่นปกติ (Normal bone)
  • ค่า T-Score อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 หมายถึง เป็นโรคมวลกระดูกน้อยหรือกระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T-Score ต่ำกว่า -2.5 หมายถึง เป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

การตรวจกระดูกด้วยวิธีตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกจัดว่าแม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ และสามารถใช้ติดตามผลของรักษาได้ด้วย ซึ่งการตรวจซ้ำสามารถทำได้ทุก 1-2 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก?

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก มีดังนี้

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายที่มีภาวะเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น มีน้ำหนักตัวน้อย (BMI น้อยกว่า 19 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) รับประทานยาที่มีผลทำให้มวลกระดูกลดลง หรือมีประวัติกระดูกหัก เป็นต้น
  • ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักบ่อยๆ แม้จะประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิดที่ส่งผลต่อภาวะมวลกระดูกต่ำ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคต่อมไทรอยด์และโรคต่อมพาราไทรอยด์ เบาหวาน โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง การดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคลมชัก ยารักษามะเร็ง ยารักษาโรคไทรอยด์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังอาจจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงอีกหลายกลุ่มที่ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป

การตรวจกระดูกมีประโยชน์อย่างไร?

ดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้วว่า การตรวจสุขภาพกระดูก โดยตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกนั้นมีประโยชน์อย่างมากในการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่ต่อการพิการที่จะเกิดขึ้นจากภาวะกระดูกพรุน 

นอกจากนี้ยังช่วยให้แพทย์ประเมินความรุนแรง วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษาได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย 

ก่อนเข้ารับการตรวจกระดูกควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไป การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ 

แต่หากสงสัยว่ามีการตั้งครรภ์ หรือมีประวัติการรักษาด้วยการกลืนแร่ หรือฉีดสารทึบแสงเพื่อการวินิจฉัยโรค ควรแจ้งต่อแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการรักษา 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจมวลกระดูก ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Leyland S, Clark E, Gray A. The role of exercise after osteoporotic vertebral fracture. Injury. 2019 Apr;50(4):825-826.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัว
กระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัว

เข้าใจสาเหตุ อันตราย การตรวจ และการป้องกันกระดูกพรุน

อ่านเพิ่ม