การต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ของ Sharon Osbourne

แพทย์พบว่ามะเร็งลำไส้ได้แพร่กระจายออกนอกลำไส้
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ของ Sharon Osbourne

Sharon Osbourne เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงจากบทบาทแม่ที่ชื่นชอบดนตรี Heavy Metal ในรายการ reality show ทางช่อง MTV ชื่อ ‘The Osbournes’ และรายการโทรทัศน์เรื่อง The talk เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ในปี 2002 ครอบครัวของเธอมีส่วนช่วยเหลืออย่างมากและเธอเผชิญกับโรคอย่างกล้าหาญ มีรายงานว่าเธอสนับสนุนให้ลูกสาวที่ชื่อ Kelly เดินทางกลับนิวยอร์กเพื่อบันทึกรายการต่อ และให้สามี Ozzy ออกทัวร์ Ozzfest ของเขาต่อ รายการ reality show นี้ยังคงออกอากาศตามปกติในปีที่ 2 โดยมีการติดตาม Sharon ระหว่างที่เธอเข้ารับการรักษา 

มีรายงานว่า Sharon ซึ่งได้เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อนและภาวะปอดอักเสบในเวลาต่อมา และสามารถฟื้นตัวจากการรักษาโรคมะเร็งจนเป็นปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัดและการใช้ยาเคมีบำบัด 

 Sharon ซึ่งขณะนั้นอายุ 49 ปีและไม่มีประวัติครอบครัวในการเป็นมะเร็งลำไส้ เข้ารับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลืองโดยรอบบางส่วนออกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2002 หนึ่งในต่อมน้ำเหลืองที่ตัดออกพบว่ามีการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่งแสดงว่ามีการแพร่กระจายออกจากลำไส้ใหญ่แล้ว เธอเข้ารับการรักษาต่อด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่หลังจากการผ่าตัด หลังจากนั้นเธอสามารถฟื้นตัวจากการรักษาได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง 

ถึงแม้ว่ามะเร็งลำไส้จะเป็นมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีประชากรสหรัฐอเมริกาประมาณ 25% ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ 

ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวประกอบด้วยประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัวของการมีมะเร็งลำไส้หรือมีเนื้องอก โรคลำไส้อักเสบ อายุมากกว่า 50 ปี โรคอ้วน และการสูบบุหรี่ 

ความเสี่ยงนี้จะลดลงหากมีการออกกำลังกายในระดับปานกลาง ลดน้ำหนัก เลิกบุหรี่ และรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและผักในปริมาณมาก 

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ทำเผื่อให้สามารถตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีตรวจเลือดในอุจจาระทุกปี ตรวจส่องกล้องในลำไส้ทุก 5 ปี และกลืนแป้งทุก 5-10 ปีหรือส่องกล้องทางทวารหนักทุก 10 ปีเพื่อคัดกรองโรค 

ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้สูงจากการเป็นโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative Colitis) การมีประวัติมะเร็งลำไส้ในครอบครัว หรือเนื้องอกในลำไส้ อาจแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น 

Osbourne เข้ารับการผ่าตัดชนิด resection surgery ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้บ่อยที่สุด โดยจะตัดลำไส้หรือไส้ตรงที่เป็นโรคออกและตัดต่อมน้ำเหลืองและลำไส้ที่ดูปกติออกบางส่วน หลังจากนั้นจะนำลำไส้ปกติ 2 ด้านมาต่อกัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้ตามปกติมากที่สุด 

การรักษามะเร็งลำไส้ด้วยยาเคมีบำบัด

การใช้ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยา 1 ชนิดหรือมากกว่า เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและมักใช้หลังจากการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ ยาเคมีบำบัดจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง รายละเอียดเรื่องการใช้ยาเคมีบำบัดจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วยและความต้องการของแพทย์ ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดที่อาจเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยอาการคลื่นไส้และผมร่วง มักสามารถรักษาให้หายได้ 

ภายหลังจากการใช้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยส่วนมากจะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาได้ผล โดยการตรวจเลือดและการเอกซเรย์ระหว่างการตรวจติดตามการรักษา ทำให้แพทย์สามารถติดตามการดำเนินของโรคและช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษา


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sharon Osbourne Battles Colon Cancer. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/sharon-osbourne-battles-colon-cancer-1941551)
Sharon Osbourne Reaches Out to Colon Cancer Patients. WebMD. (https://www.webmd.com/colorectal-cancer/features/sharon-osbourne-cancer-survivor)
A Diet Plan for Before and After Colon Cancer Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/colorectal-cancer-basics/diet-plan-colon-cancer-treatment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป