ภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แพร่เข้าไปในรังไข่ และมะเร็งรังไข่คืออะไร

การวินิจฉัยที่ผิดพลาดของภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแพร่กระจาย (Metastatic Colon Cancer)
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แพร่เข้าไปในรังไข่ และมะเร็งรังไข่คืออะไร

คุณมีภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย ไปยังรังไข่ตั้งแต่เมื่อไหร่?  และคุณมีโรคมะเร็งรังไข่ตั้งแต่เมื่อไหร่? คำถามลักษณะนี้ดูเหมือนแปลกมาก แต่ควรเป็นข้อกังวลใจที่ใหญ่มาก ยาที่ใช้รักษาอาการมะเร็งอาจไม่ได้ใช้ดีกับทุกภาวะมะเร็ง

ภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายไปยังรังไข่

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแพร่กระจายไปยังรังไข่โดยผ่านผนังหน้าท้องที่หนา และได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง (Mesenteric lymph nodes)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่แพร่กระจายไปยังรังไข่ มักจะมีการวินิจฉัยผิดบ่อยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มต้น(Primary Ovarian Carcinoma)

ผู้หญิงที่มีประวัติของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายไปยังรังไข่ จำเป็นต้องระวังการวินิจฉัยโรคที่ผิด โดยเฉพาะกรณีมีเนื้องอกที่รังไข่ร่วมกับอาการหนาตัวของเยื่อบุมดลูก (Endometrioid or mucinous carcinoma ) ทำให้โอกาสตรวจเจอเซลล์มะเร็งรังไข่มากกว่ามะเร็งลำไส้ ส่วนที่แพร่กระจายเหล่านี้อาจเป็นแบบถุงน้ำ (Cystic) และไม่รุนแรง เมื่อตรวจสอบโดยกล้องจุลทรรศน์อาจทำให้แพทย์ และนักพยาธิวิทยาเข้าใจผิดได้ โดยวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในรังไข่แทนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะแพร่กระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปสู่รังไข่

การวินิจฉัยที่ผิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? เซลล์มะเร็งแต่ละชนิดไม่ได้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดหรือ?

การมองเซลล์มะเร็งภายใต้กล้องจุลทรรศน์บางครั้งก็ยากที่จะแยกประเภทของเซลล์แต่ละชนิด

เซลล์มะเร็งมีความผิดปกติที่ปรากฏในลักษณะของเซลล์ชัดเจน บางครั้งก็ยากที่จะบอกได้ว่าเซลล์มะเร็งที่เห็นเริ่มต้นจากจุดไหน แพทย์ใช้คำว่า "ความแตกต่าง" เพื่ออธิบายลักษณะของเซลล์มะเร็ง เซลล์เนื้องอกอาจดูเหมือนเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น ในขณะที่เซลล์ของมะเร็งที่พัฒนาไปมากจะแตกต่างอย่างชัดเจนไม่ได้มีลักษณะเหมือนเซลล์ปกติในร่างกายของเรา

ในช่วงเริ่มต้น เนื้อเยื่อบางอย่างในร่างกายมีลักษณะคล้ายกัน ดังนั้นเซลล์มะเร็งจากอวัยวะ 2 แห่งที่แตกต่างกันอาจมีลักษณะเซลล์ที่คล้ายกัน

ใครที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอการวินิจฉัยผิด?

คนมีความเสี่ยงจะเจอการวินิจฉัยผิด คือกรณีที่ นักพยาธิวิทยาไม่ได้ตรวจสอบประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากมักพบเวลาเดียวกันกับเนื้องอกในรังไข่ แต่กรณีที่เป็นไปได้หากทำการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งรังไข่ก่อนการตรวจเจอมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม นักพยาธิวิทยาสามารถใช้การย้อมสีที่เซลล์เพื่อแยกลักษณะเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายออกจากเซลล์มะเร็งรังไข่ด้วยกล้องจุลทรรศน์

เมื่อไหร่ที่แนวโน้มจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่ามะเร็งรังไข่?

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ระยะแรก  และมีลักษณะการหนาตัวของเนื้อเยื่อมดลูก (Endometrioid or mucinous type) ควรขอความเห็นที่สองของแพทย์เพื่อยืนยันผลตรวจพยาธิสภาพ เพื่อตัดความเป็นไปได้ของโรคมะเร็งสำไส้ระยะลุกลามออกไป

ถ้าผู้ป่วยมีประวัติของมะเร็งลำไส้ใหญ่และความเห็นที่สองของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าควรมีการตรวจที่ละเอียดขึ้น แม้ว่าจะมีรังไข่หนึ่งข้างที่มีมีลักษณะการหนาตัวของเนื้อเยื่อมดลูกหรือรังไข่ (Endometrioid or mucinous type)  การตรวจเพิ่มเติมคือตรวจการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลำไส้ในตับ ซึ่งเป็นภาวะปกติของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายและแทบจะไม่เกิดกับโรคมะเร็งรังไข่เลย

บทสรุป

ไม่มีใครอยากได้ยินว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ในตัวเขาได้แพร่กระจายไปยังรังไข่ แต่การวินิจฉัยที่ถูกต้องเป็นการดีกว่า เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องแยกจากโรคมะเร็งรังไข่ พยายามตั้งคำถาม. และเรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งของคุณ รับฟังความคิดเห็นที่สองของผู้เชี่ยวชาญ  ไม่เพียงแต่ในเรื่องเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมและการให้ยารักษามะเร็ง รวมถึงรายงานของนักพยาธิวิทยาและผลการวินิจฉัยด้วย ควรมีส่วนร่วมและออกความเห็นต่อการดูแลภาวะมะเร็งและสุขภาพของคุณด้วยตัวคุณเอง


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovarian Cancer: Practice Essentials, Background, Pathophysiology (https://emedicine.medscape.com/article/255771-overview)
Ovarian Cancer Risk Factors. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer/causes-risks-prevention/risk-factors.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม
การต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ของ Sharon Osbourne
การต่อสู้กับโรคมะเร็งลำไส้ของ Sharon Osbourne

แพทย์พบว่ามะเร็งลำไส้ได้แพร่กระจายออกนอกลำไส้

อ่านเพิ่ม