เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ อาหารพื้นบ้านล้านนา มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ อาหารพื้นบ้านล้านนา มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ เป็นเห็ดราที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก พบได้ในช่วงหน้าฝน มีรสชาติและรูปทรงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในประเทศไทยเห็ดชนิดนี้พบได้ที่ภาคเหนือ จะหมุนเวียนเกิดขึ้นตามฤดูกาลเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในรอบปี ใครที่ชอบรับประทาน เห็ดเผาะ จะรู้ดีว่ามีรสชาติอร่อย

แม้ว่าสีสันภายนอกจะดูไม่สวยงาม แต่หากได้ลิ้มลอง รับรองว่าจะต้องติดใจ นิยมนำมาทำอาหารหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนึ่ง ทำแกง ยำ หรือผัด นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ด้วยสารอาหารต่างๆ มากมายที่ดีต่อร่างกาย จะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่หาทานยากก็ว่าได้

ลักษณะของเห็ดเผาะ

เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบ (Barometer Earthstars, hygroscopic earthstar, false earthstar) ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Astraeus hygrometricus อยู่ในวงศ์ Diplocystaceae ซึ่งถือว่าเป็นเห็ดราชนิดหนึ่งที่มีสีสันและหน้าตาเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว ขณะที่ยังเป็นต้นอ่อนไม่มีดอก คล้ายเห็ดราในกลุ่ม Basidiomycota ลักษณะของเห็ดจะเป็นลูกกลาม สีดำเข้ม ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ แต่การกระจายพันธุ์ของเห็ดชนิดนี้พบได้ทั่วโลกที่อยู่ในเขตอบอุ่นและมีความร้อน

การเจริญเติบโตของเห็ดจะมีการเติบโตร่วมกับต้นไม้ซึ่งจะเกี่ยวสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัย เนื่องจากต้นไม้จะมีรากและกลุ่มใยของเห็ดราชนิดนี้อยู่ ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจากสารอาหารที่มาจากเห็ด โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ส่วนเห็ดราจะได้คาร์โบไฮเดรตและการสังเคราะห์แสงจากต้นไม้

[caption id="" align="alignnone" width="680"] เห็ดเผาะ[/caption]

ตั้งแต่โบราณ เห็ดชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในการแพทย์ทางเลือกของจีน ใช้เป็นยาห้ามเลือด โดยนำเอาส่วนของผงสปอร์มาทาที่บาดแผลเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล และยังมีส่วนช่วยป้องกันการอักเสบของเท้าและมือ ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณ ที่ในปัจจุบันเราอาจจะไม่เคยได้ยินกันแล้ว

วิธีกินเห็ดเผาะ

เนื่องจาก เห็ดเผาะ มีรสชาติอร่อย เป็นพืชสมุนไพรรสหวานเย็น มีสรรพคุณบำรุงร่างกายไปในตัว โดยเฉพาะการบำรุงกำลังและช่วยแก้ช้ำใน เราจะพบ เห็ดเผาะ ช่วงฤดูฝนในภาคเหนือและบางส่วนในภาคอีสาน มีชาวบ้านเก็บตามตีนเขามาวางจำหน่าย ซึ่งเห็ดที่สดใหม่จะอยู่ในดิน ต้องใช้วิธีขุดหาออกมา ทำให้ต้องล้างทำความสะอาดดินภายนอกออกจนหมดก่อนนำมาใช้ทำอาหาร

สำหรับเมนูที่นิยมนั้น กินได้ทั้งแบบสดและต้มสุกแล้ว ส่วนมากจะนำเอามานึ่งจิ้มน้ำพริก ทำเป็นเมนูแกงคั่วเห็ดเผาะผสมกับใบชะอม แกงเห็ดเผาะใส่ปลาย่าง ยำเห็ดเผาะ ผัดกระเพราเห็ดเผาะ เห็ดเผาะผัดน้ำมันหอย หรือจิ้มสดกับน้ำพริกก็ได้ความอร่อยเวลาเคี้ยวที่มีความกรุบกรอบด้านนอก ส่วนด้านในจะเป็นเนื้อนุ่มๆ

ประโยชน์จากเห็ดเผาะที่ดีต่อสุขภาพ

  1. คุณค่าอาหารของเห็ดเผาะ หากเทียบในสัดส่วน 100 กรัมจะประกอบไปด้วยพลังงานประมาณ 45 กิโลแคลอรี มีน้ำ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอะซิน และวิตามินซี อีกด้วย
  2. ในทางสมุนไพร เห็ดเผาะจะให้ประโยชน์เป็นตัวช่วยบำรุงร่างกาย ลดอาการร้อนใน เนื่องจากมีฤทธิ์เย็น แก้ชำในและชูกำลัง ช่วยสมานแผล ลดอาการอักเสบและบวม แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น บรรเทาอาการคันตามร่างกาย และยังมีส่วนช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งอีกด้วย

ข้อควรระมัดระวังในการรับประทาน

เห็ดเผาะเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย แต่ก็ต้องระมัดระวังในการรับประทาน หากรับประทานในปริมาณมากๆ จะทำให้อืดท้อง จนมีลมในกระเพาะมาก และที่สำคัญเห็ดเผาะจะมีเห็ดที่หน้าตาใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นเห็ดพิษ เรียกว่าเห็ดไข่หงส์ หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

[caption id="" align="alignnone" width="640"] เห็ดไข่หงส์[/caption]

ดังนั้นก่อนหาเห็ดเผาะมาประกอบอาหาร ควรให้มั่นใจว่าเห็ดที่ได้มา เป็นการเก็บจากชาวบ้านที่มีความรู้ อย่าเก็บด้วยตัวเองหากไม่มั่นใจ เพราะจะกลายเป็นว่าได้เห็ดพิษมากินแทนก็เป็นได้


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mushrooms: Nutritional value and health benefits. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/278858)
Mushroom Pictures: Types, Health benefits, and Tips for Cooking. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/ss/slideshow-all-about-mushrooms)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป