กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือ Crystal Meth

ข้อมูลและผลข้างเคียงที่รุนแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เมทแอมเฟตามีน
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือ Crystal Meth

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เมทแอมเฟตามีนคือ อีกประเภทของส่วนผสมในสังเคราะห์สำหรับผลิตยาบ้า มีลักษณะเป็นผลึกผงสีขาว หรือใสขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ของยาตัวนี้
  • ผลข้างเคียงจากการเสพเมทแอมเฟตามีนมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลข้างเคียงระยะสั้นได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันสูง อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ผลข้างเคียงระยะยาวของการเสพเมทแอมเฟตามีนจะส่งผลต่อระบบประสาทและเกิดปัญหาทางจิตอย่างรุนแรง เช่น ทำให้ผู้เสพรู้สึกหวาดระแวง รู้สึกหลอนเหมือนมีแมลงไต่ รวมถึงมีปัญหาฟันผุ มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมความเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • ผู้เสพเมทแอมเฟตามีนมักเสพยาชนิดนี้ร่วมกับบริโภคแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าเดิม อีกทั้งหากเสพยาผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ก็เสี่ยงติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของยาบ้าชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์รุนแรง และทำให้ผู้เสพเกิดอาการติดยาอย่างหนัก 

ความหมายของเมทแอมเฟตามีน

เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือ "เมท" เป็นยากระตุ้นประสาทที่มีความรุนแรงมากชนิดหนึ่ง ในอดีตเมทแอมเฟตามีนสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ทางการแพทย์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หลังจากพบว่า การใช้เมทอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนานนั้นส่งผลเสียร้ายแรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจ จึงไม่ใช้ยาชนิดนี้เพื่อการรักษาทางการแพทย์อีกต่อไป

เมทแอมเฟตามีนมีลักษณะเป็นผลึกผงสีขาว หรือใส ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของยา บางครั้งพบว่า ยาเมทจะมีลักษณะเป็นก้อนผลึกเล็กๆ คล้ายเศษแก้ว จึงเป็นที่มาของชื่อ "Meth Crystal" 

วิธีการเสพจะเป็นทั้งแบบรับประทานจากเม็ดแคปซูล สูดผงเข้าทางจมูก สูบเป็นบุหรี่ หรือฉีดเข้าทางเส้นเลือด

เมทแอมเฟตามีนจะออกฤทธิ์ทำให้ผู้เสพรู้สึกกระตือรือร้น ตื่นตัวกว่าปกติ มีแรงกระตุ้นทางเพศมากขึ้น รู้สึกว่า ตนเองมีพลังอำนาจน่าเกรงขาม และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น

ผลข้างเคียงระยะสั้นของเมทแอมเฟตามีน

หลังจากเสพยาเข้าไประยะหนึ่ง ยาเมทแอมเฟตามีนจะกระตุ้นสารเคมีในสมองชื่อ "โดปามีน" โดยทำงานระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง ทำหน้าที่นำส่งข้อมูลภายในสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ควบคุมความรู้สึกและพัฒนากลไกการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย

ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์จะขึ้นอยู่กับวิธีเสพ หากผู้เสพสูบยาเป็นมวน หรือฉีดยาเข้าทางเส้นเลือด อาการเมายาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและยาจะออกฤทธิ์อยู่เพียงไม่กี่นาที แต่ถ้าเสพโดยการรับประทานยาเม็ด หรือสูดเข้าทางจมูก ฤทธิ์ของยาจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการเสพยาเมทแอมเฟตามีนจะคล้ายคลึงกัน และอาการเมาค้างจากยาจะเกิดขึ้นได้นานถึง 14 ชั่วโมง โดยช่วงเวลาเมายาผู้เสพจะมีอาการต่อไปนี้ 

  • หัวใจเต้นเร็ว 
  • หายใจเร็วผิดปกติ 
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น 
  • อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

อาการเมายาเมทอาจทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมเสี่ยง และเป็นอันตรายได้ หรืออาจสร้างความเดือนร้อนต่อตนเองและผู้อื่นด้วย

ผลข้างเคียงระยะสั้นจากการเสพเมทแอมเฟตามีนเกินขนาด

การใช้เมทแอมเฟตามีนในปริมาณที่มากเกินไป นำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า "Hyperthermia" โดยร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เนื่องจากระบบการควบคุมอุณหภูมิร่างกายล้มเหลว ทำให้ผู้เสพเกิดอาการชัก และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ในปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะแต่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น การลดอุณหภูมิร่างกาย การให้ยาลดความดันโลหิต การให้ยาหล่อมประสาท เท่านั้น ส่วนการฟอกเลือดก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าได้ประโยชน์

นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงที่สังเกตได้ชัดอีกมากมายจากการเสพเมทแอมเฟตามีนเกินขนาด ดังนี้

ผลข้างเคียงระยะยาวของเมทแอมเฟตามีน

เมื่อเสพยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว สมองจะเคยชินกับภาวะที่สารโดปามีนเพิ่มระดับสูงทำให้ผู้เสพเกิดอาการดื้อยา และต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ที่เสพเมทแอมเฟตามีนจะเกิดอาการติดยาอย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การใช้ยาในระยะยาวอาจทำให้สมองเกิดความเสียหายและเกิดปัญหาทางจิตที่รุนแรง รวมทั้งเกิดความรู้สึกหวาดระแวง ประสาทหลอน และภาพลวงตา 

นอกจากนี้ผู้เสพยังเกิดความรู้สึกหลอนเหมือนมีแมลงไต่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ต้องคอยเกา และข่วนผิวหนังทั่วร่างกายจนเป็นรอยอยู่เสมอ

ปัญหาทางจิตที่เกิดจากการเสพยาเมทอาจเกิดขึ้นได้หลายปี หรืออาจจะเกิดอาการตลอดไปทั้งชีวิต แม้จะหยุดเสพยาแล้วก็ตาม ผลกระทบที่เป็นที่ทราบกันดีจากการเสพยาเมทคือ ปัญหาทางช่องปากที่รุนแรงที่ผู้เสพจะมีลักษณะฟันผุทั่วทั้งปาก 

เมื่อเวลาผ่านไป การเสพยาเมทจะทำให้ปริมาณของสารโดปามีนในสมองลดลง ทำให้สมองเกิดปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมกลไกของร่างกาย ส่งผลให้มีอาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 

นอกจากนี้การเสพยามาเป็นระยะเวลานานยังทำให้ผู้เสพประสบปัญหาทางสุขภาพ เช่น ปัญหาระบบทางเดินหายใจ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสียหาย ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการชัก และอาจเกิดภาวะหัวใจวายฉับพลัน

อาการอื่นๆ ที่สังเกตเห็นได้จากผลข้างเคียงระยะยาว มีดังนี้

  • เกิดภาวะสับสนและกระวนกระวายใจ
  • มีอาการย้ำคิดย้ำทำ
  • นอนไม่หลับ
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
  • มีอารมณ์แปรปรวน หรือเกิดพฤติกรรมทางจิตที่ผิดปกติ
  • ความจำเสื่อม
  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีพฤติกรรมที่แปลกไป และเป็นพฤติกรรมที่อาจก่อความรุนแรง

ผลกระทบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเมทแอมเฟตามีน

ผู้เสพสามารถตกอยู่ในภาวะใช้ยาเกินขนาดหากเสพยาในปริมาณที่มากเกินไปในครั้งเดียว สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการใช้ยาเกินขนาดคือ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ ประสาทหลอน และชัก 

นอกจากนี้การเสพยาเมทร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่นสามารถทำให้ผู้เสพเสียชีวิตได้

ผู้เสพส่วนมากเมื่อใช้ยาจะมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยและจะใช้ยาทุกๆ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แน่นอนที่พฤติกรรมเช่นนี้นั้นเป็นอันตรายมาก

นอกจากนี้การเสพยาเมทจะส่งผลต่อการทำงานของสารโดปามีน ทำให้ผู้เสพไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ และมีอารมณ์ทางเพศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ 

การฉีดยาเข้าทางกระแสเลือดทำให้ผู้เสพเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์และไวรัสตับจากการใช้เข็มร่วมกันได้อีกด้วย

เมทแอมเฟตามีนถูกผลิตขึ้นอย่างผิดกฎหมาย ส่วนสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบบางตัวก้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม แน่นอนที่ผู้เสพจะไม่มีทางทราบได้เลยว่า ยาที่เสพเข้าไปนั้นรุนแรงแค่ไหน หรือมีส่วนประกอบของสารเคมีใดบ้าง

เมทแอมเฟตามีนจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ที่มีอันตราย และถูกควบคุมเมื่อจำเป็นต้องใช้ทางการแพทย์ โดยการใช้ยาเมททางการแพทย์จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เสมอ 

การใช้ยาเมทโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ถือว่า ผิดกฎหมายเช่นเดียวกับการใช้เป็นยาเสพติดซึ่งมีโทษปรับ และจำคุก

วิธีเลิกการเสพยาเมทแอมเฟตามีน

เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติด ดังนั้นการจะเลิกยาจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ผู้ที่พยายามจะเลิกยาจะมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล เหนื่อยล้า และมีอาการลงแดงอย่างรุนแรง 

ส่วนผู้เสพที่พยายามเลิก หรืออาจเลิกไปเป็นปีแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเสพยาอีกครั้งได้

ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่จะรักษาอาการเสพติดยาเมทได้ การรักษาที่แนะนำจึงเป็นการเข้าร่วมกลุ่มพฤติกรรมบำบัด โดยการรับคำปรึกษา การช่วยเหลือ และกำลังใจจากแพทย์ หรือนักบำบัดยา 

การรักษาที่ได้ผลอีกอย่างหนึ่งคือ การให้รางวัลกับผู้ที่สามารถเลิกยาได้อย่างเด็ดขาด

หากคุณกำลังอยู่ในภาวะเสพติดยาเมท แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือนักบำบัดและเข้าร่วมกลุ่มบำบัด เพราะการช่วยเหลือ การสนับสนุน และกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นการบำบัด

การเสพเมทแอมเฟตามีนนั้นทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงและน่ากลัว คุณอาจเคยเห็นผู้เสพ หรือเคยอ่านข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียจากการเสพที่ทำลายชีวิตทั้งชีวิตของผู้เสพ 

ดังนั้นพยายามไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดชนิดนี้ และอยู่ให้ไกลมันมากที่สุด เพราะหากคุณติดมันแล้วจะเลิกเสพยากมาก ทางที่ดีคือ อย่าได้ลองมันอย่างเด็ดขาด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Steven Dowshen, Methamphetamine(Meth), (http://kidshealth.org/en/teens/meth.html), 31 July 2020.
Schep LJ, Slaughter RJ, Beasley DM (August 2010). "The clinical toxicology of metamfetamine". Clinical Toxicology. 48 (7): 675–694.
Riviello, Ralph J. (2010). Manual of forensic emergency medicine : a guide for clinicians. Sudbury, Mass.: Jones and Bartlett Publishers. p. 41. ISBN 978-0-7637-4462-5. Archived from the original on 18 March 2017. Retrieved 4 September 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารเสพติดสังเคราะห์ มีอะไรบ้าง ให้โทษอย่างไร
สารเสพติดสังเคราะห์ มีอะไรบ้าง ให้โทษอย่างไร

รวมโทษของยาเสพติดสังเคราะห์ มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร มีโทษทางกฎหมายยังไง

อ่านเพิ่ม
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษที่แพร่หลายมากอันดับต้นๆ ของประเทศ
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษที่แพร่หลายมากอันดับต้นๆ ของประเทศ

เรียนรู้ฤทธิ์ของยาบ้า วิธีสังเกตุอาการผู้เสพติดยาบ้า และโทษตามกฎหมาย

อ่านเพิ่ม
แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า Amphetamines
แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า Amphetamines

ฤทธิ์อันตรายจากยาบ้า ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ที่ทำให้คุณควรอยู่ห่างจากมัน

อ่านเพิ่ม