ยาหรืออาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มในเพศชายกับภาวะการมีบุตรยาก

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาหรืออาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มในเพศชายกับภาวะการมีบุตรยาก

ปัญหาภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นทั่วโลก ในปัจจุบันพบว่ามีคู่รักถึง 1 ใน 6 คู่ที่ประสบภาวะนี้ และพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ประสบภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้นจากปัญหาทางสุขภาพในเพศชาย ซึ่งคำแนะนำในการเยียวยารักษาปัญหาภาวะมีบุตรยากในเพศชายนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การออกกำลังกาย ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการใช้ยาหรืออาหารเสริมก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดปัญหาจากภาวะการมีบุตรยากได้ดีอีกวิธีหนึ่งด้วย ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอการเจาะลึกอาหารเสริมและยาที่จะช่วยเยียวยาปัญหาภาวะมีบุตรยากในเพศชาย ซึ่งมีข้อมูลดังต่อไปนี้

สารอาหารที่ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มในเพศชาย

การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของสเปิร์มทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามมีสารอาหารบางชนิดที่ช่วยในการเพิ่มจำนวนของสเปิร์มโดยตรงอันได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Vitamin C 

โดยควรบริโภควันละ 2000 – 6000 mg เพื่อป้องกันมิให้สเปิร์มรวมตัวหรือติดกันอันจะส่งผลต่อการปฏิสนธิได้

Zinc 

โดยควรบริโภควันละ 100 – 200 mg พบว่า Zinc สามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน Testosterone ได้นอกจากนี้ยังพบอีกว่า Zinc สามารถช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้การเคลื่อนที่ของสเปิร์มดีมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากสารอาหารข้างต้นแล้วยังมีสารอาหารอื่นๆที่ส่งผลต่อปริมาณของสเปิร์มอีกด้วย นั่นคือ กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย (9 - 12 g ต่อวัน) vitamin E (800 IU ต่อวัน) และ vitamin B12 (1,000 mcg ต่อวัน) ซึ่งสารอาหารเหล่านี้สามารถพบได้ในอาหารทั่วไปและในอาหารเสริมต่างๆ

Zbec

อาหารเสริม Zbec ประกอบด้วย Vitamin B1 15 mg Vitamin B2 10.2 mg Vitamin B6 10 mg Vitamin B12 6 mcg Vitamin C 600 mg Vitamin E 45 IU Niacin 100 mg Pantothenic acid 25 mg และ Zinc 22.5 mg มีข้อบ่งใช้คือ ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการขาดวิตามิน B และวิตามิน C ขนาดบริโภคคือ ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีให้ใช้ 1 เม็ดทุกวัน และควรบริโภคพร้อมกับอาหาร

อาหารเสริม Zbec ไม่สามารถใช้เพื่อรักษาโรคโลหิตจางอย่างร้ายแรง (pernicious anemia) ได้และ อาหารเสริม Zbec จัดเป็นยาอันตรายตามการจัดโดยองค์การอาหารและยา ประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องให้เภสัชกรเป็นผู้ส่งมอบยา แม้ว่ายา Zbec จะไม่มีข้อบ่งใช้ถึงการเพิ่มปริมาณสเปิร์มสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก แต่คาดว่าผลของสังกะสีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนช่วยเกี่ยวข้องกับการสร้างสเปิร์ม

Clomiphene

ยา Clomiphene มีสารสำคัญคือ Clomiphene citrate ข้อบ่งใช้คือ กระตุ้นการทำงานของการตกไข่ในคนไข้ที่มีภาวะการตกไข่ที่ผิดปกติซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ขนาดบริโภคในเพศหญิงคือ 50 mg เป็นเวลา 5 วันโดยเริ่มจากวันที่ 5 ที่มีประจำเดือนหรือเวลาใดก็ได้หากมีภาวะประจำเดือนขาด ถ้ายังไม่มีการตกไข่ให้เพิ่มขนาดใช้เป็น 100 mg เป็นระยะเวลา 5 วันโดยให้เริ่มใช้ 30 วันหลังจากการใช้ครั้งก่อน ขนาดบริโภคสูงสุด ไม่เกิน 100 mg เป็นระยะเวลา 5 วัน (Mims Thailand)

ยา Clomiphene ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับ หรือมีประวัติการทำงานของตับผิดปกติ มีประวัติการป่วยเป็นมะเร็งโพรงมดลูกหรือซีสต์ที่รังไข่และต้องไม่มีการตั้งครรภ์ในขณะที่มีการใช้ยา ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์อาจพบว่ามีการขยายตัวขึ้นของรังไข่ มีอาการ Vasomotor flushes ได้แก่ หน้าแดง มีเหงื่อออกตอนกลางคืน คนไข้อาจมีอาการเจ็บที่ท้องหรืออุ้งเชิงกราน คลื่นไส้หรืออาเจียน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยา Clomiphene กลไกการทำงานของยาจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อม Pituitary gland ที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะเพศให้ผลิตฮอร์โมน Testosterone และสเปิร์มให้มากขึ้น โดยหากยาชนิดนี้ถูกใช้ในเพศชายจะมีขนาดบริโภคครั้งละ 1 เม็ดจำนวน 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ การใช้แต่ละครั้งจะใช้ติดต่อกัน 3 ถึง 6 เดือนตราบเท่าที่ระดับฮอร์โมนยังอยู่ในระดับปกติ การใช้ยานี้มีความปลอดภัยและสามารถใช้ได้ติดต่อกันมากสุดถึง 2 ปีหากใช้ในขนาดที่ต่ำ และยา Clomiphene จัดเป็นยาอันตรายตามการจัดโดยองค์การอาหารและยา ประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องให้เภสัชกรเป็นผู้ส่งมอบยา

แม้ว่าจะมีอาหารเสริมและยามากมายในท้องตลาดตามร้านขายยาต่างๆ แต่ก็พบว่ายาส่วนมากมักจะถูกใช้โดยอาศัยฤทธิ์ที่ไม่อยู่ในฉลากยา หรือที่เรียกว่า Off label ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์หรืออาจก่อให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่มีคุณภาพได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องใช้วิจารณญาณ ในการเลือกซื้อและบริโภคยาหรืออาหารเสริมเหล่านี้ โดยแนะนำให้สอบถามเภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้งก่อนทำการซื้อหรือบริโภคยาใดๆ เพื่อสุขภาพของทุกท่านเอง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to increase sperm count: 14 tips to boost fertility naturally. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320010)
Ahmadi S, et al. (2016). Antioxidant supplements and semen parameters: An evidence based review. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5203687/)
10 Ways to Boost Male Fertility and Increase Sperm Count. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/boost-male-fertility-sperm-count)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป

อ่านเพิ่ม