Mary pink vs Maple forte

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Mary pink vs Maple forte

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาคุมฉุกเฉินที่มีใช้ในปัจจุบัน มีมากมายหลายยี่ห้อนะคะ แถมยังมีทั้งชนิดที่มี 1 เม็ด และชนิดที่มี 2 เม็ด แล้วควรจะเลือกแบบไหนถึงจะดีกว่ากันล่ะ วันนี้ขอจับเอา “แมรี่ พิงค์” มาเปรียบเทียบกับ “เมเปิ้ล ฟอร์ท”บ้างนะคะ ใครจะอยู่ ใครจะไป ถ้าสงสัยก็ตามมาดูเลยค่า

แลกหมัดยกที่ 1 : รูปแบบและตัวยาสำคัญ

  • ใน 1 แผงประกอบด้วยเม็ดยา 2 เม็ด
  • ใน 1 เม็ด มีตัวยา Levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม 
  • ใน 1 แผงประกอบด้วยเม็ดยา 1 เม็ด
  • ใน 1 เม็ด มีตัวยา Levonorgestrel 1.5 มิลลิกรัม

เม็ดยาของ แมรี่ พิงค์ 2 เม็ด รวมกันแล้วก็มีปริมาณยา Levonorgestrel เท่ากับ เมเปิ้ล ฟอร์ท 1 เม็ด ดังนั้น ในภาพรวมแล้ว ยาคุมฉุกเฉินทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ไม่ได้แตกต่างกันเลยค่ะ ยกแรกจึงตัดสินให้เสมอกันไปก่อนนะคะ

แลกหมัดยกที่ 2 : วิธีการใช้

  • วิธีที่ 1 : รับประทานครั้งละ 1 เม็ด จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง 
  • ใน 1 เม็ด มีตัวยา Levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม 

ทั้ง 2 วิธี ให้รับประทานโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ รับประทาน 1 เม็ด ครั้งเดียว ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์

  • รับประทาน 1 เม็ด ครั้งเดียว ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์

ในปัจจุบัน แนะนำวิธีรับประทานยาคุมฉุกเฉินไว้ 2 แบบค่ะ วิธีดั้งเดิมก็คือให้รับประทาน Levonorgestrel ครั้งละ 0.75 มิลลิกรัม จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง และวิธีใหม่ก็คือรับประทานครบขนาด 1.5 มิลลิกรัมในครั้งเดียว โดยทั้งสองวิธีแนะนำให้รับประทานโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ

หากมองในแง่ของทางเลือกที่หลากหลาย แมรี่ พิงค์ จะเหนือกว่านะคะ เพราะสามารถรับประทานแบบ ครั้งละ 1 เม็ด จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมงก็ได้ หรือจะรับประทาน 2 เม็ดพร้อมกันในครั้งเดียวก็ได้  แต่เมื่อมองในแง่ของความสะดวก เมเปิ้ล ฟอร์ทจะเหนือกว่า ตรงที่แกะเม็ดยามารับประทานครั้งเดียวได้เลย ไม่ยุ่งยาก

อย่างไรก็ตาม ถือว่าใช้ได้ง่ายทั้งคู่ จึงตัดสินให้เสมอกันอีกแล้วค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แลกหมัดยกที่ 3 : อัตราการตั้งครรภ์

การใช้ 2 เม็ดครั้งเดียว :

ตั้งครรภ์ 6.4 – 12.8 ราย ต่อผู้ใช้ 1000 ราย
ตั้งครรภ์ 6.4 – 12.8 ราย ต่อผู้ใช้ 1000 ราย

การใช้ 1 เม็ด 2 ครั้ง :

ตั้งครรภ์ 5.7 – 20 ราย ต่อผู้ใช้ 1000 ราย

***ตัวเลขในตารางเป็นข้อมูลจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังมีเพศสัมพันธ์***

ยาคุมฉุกเฉิน ควรรับประทานโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์จึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ฉุกเฉินได้นะคะ

งานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีการออกแบบวิจัยอย่างดี (Randomized controlled trial, RCT) ในปี ค.ศ. 2010 ของ Olukayode A. Dada และคณะ พบว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน Levonorgestrel แบบ 1.5 มิลลิกรัม ครั้งเดียว กับ 0.75 มิลลิกรัม แยกรับประทาน 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่แตกต่างกัน 

แต่จากการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ  (Systematic review) ในปี ค.ศ. 2014 โดย Shohel และคณะ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังมีเพศสัมพันธ์ พบว่าการรับประทานครบขนาดในครั้งเดียว (รับประทานเม็ดละ 1.5 มิลลิกรัม หรือ เม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม 2 เม็ดพร้อมกัน) จะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการรับประทานแยกเป็น 2 ครั้งค่ะ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเข้มข้นของยาในเลือดที่สูงกว่าเมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน จึงมีผลป้องกันการตกไข่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่านั่นเอง

ดังนั้น ในปัจจุบัน หน่วยงานและสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก จึงแนะนำให้รับประทานยาคุมฉุกเฉิน Levonorgestrel ให้ครบขนาด 1.5 มิลลิกรัมในครั้งเดียว โดยใช้ยาให้เร็วที่สุด หรืออย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์จากการใช้ แมรี่ พิงค์ และ เมเปิ้ล ฟอร์ท หากพิจารณาจากวิธีการใช้แบบครบขนาดในครั้งเดียว ก็คือ รับประทานแมรี่ พิงค์ 2 เม็ดพร้อมกันในครั้งเดียว ก็มีการตั้งครรภ์ 6.4 – 12.8 ราย ต่อผู้ใช้ 1000 ราย ไม่แตกต่างจากการรับประทานเมเปิ้ล ฟอร์ท 1 เม็ดนั่นเองค่ะ ดังนั้น ยกนี้ก็เสมอกันอีกแล้ว แว้ว... แว้ว..... แว้ว.......

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แลกหมัดยกที่ 4 : ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียง
1 เม็ด 2 ครั้ง 2 เม็ดครั้งเดียว 1 เม็ดครั้งเดียว
คลื่นไส้ 22.0% 21.7% 21.7%
อ่อนเพลีย 12.4% 12.5% 12.5%
ปวดศีรษะ 11.6% 12.0% 12.0%
วิงเวียน 10.1% 8.6% 8.6%
อาเจียน 8.7% 9.1% 9.1%

เหตุผลที่ผู้ใช้บางรายยังนิยมรับประทานยาคุมฉุกเฉินแบบแยกเป็น 2 ครั้ง อาจเนื่องมาจากความกังวลว่าการรับประทานวิธีใหม่ที่ใช้ครบขนาดในครั้งเดียวจะมีผลข้างเคียงรุนแรงมากกว่าวิธีเดิม

ซึ่งงานวิจัยแบบ RCT ในปี ค.ศ. 2010 ของ Olukayode A. Dada และคณะ ชี้ว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน Levonorgestrel ทั้ง 2 วิธี มีผลข้างเคียงไม่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลแล้วนะคะ

เมื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงของยาคุมทั้ง 2 ยี่ห้อ จึงไม่มีความแตกต่าง และเสมอกันไปในยกที่ 4 ค่ะ

แลกหมัดยกที่ 5 : ราคา

กล่องละ 40 – 60 บาท กล่องละ 40 – 60 บาท

หลังจากที่เสมอกันมาตลอด ก็ถึงเวลาจะชี้ชะตาในยกสุดท้ายซะทีค่ะว่า แมรี่ พิงค์ กับ เมเปิ้ล ฟอร์ท ยาคุมฉุกเฉินยี่ห้อไหนจะเหนือกว่ากัน แต่เมื่อพิจารณาราคาของทั้งคู่แล้ว อะไรกันเนี่ย! ดันอยู่ในช่วงราคาเดียวกันซะอีก!! สรุปก็ต้องเสมออีกแล้วสิคะคุณผู้อ่าน!!! เสมอกันตลอดทุกยกอย่างนี้ นี่มันเป็นการชกชิงแชมป์หรือการชกกระชับมิตรกันเนี่ย (ฮ่า)

ก็นั่นล่ะค่ะ แม้ว่าจะมีรูปแบบต่างกัน แต่ตัวยา, วิธีการใช้, ประสิทธิภาพ, ผลข้างเคียง และราคาไม่ได้ต่างกันเลย ดังนั้น หากหาซื้อยาคุมฉุกเฉินยี่ห้อเดิมที่เคยใช้ไม่ได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ สามารถใช้ยี่ห้ออื่น ๆ ที่มีแทนได้เลยนะคะ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกันแล้ว การคุมกำเนิดด้วยวิธีปกติ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, แผ่นแปะคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด, ห่วงอนามัย หรือแม้แต่การใช้ถุงยาง ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่ายาคุมฉุกเฉินมากค่ะ การใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนวิธีคุมกำเนิดปกติ จึงมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้มากกว่า ดังนั้นอย่าลืมว่า “ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อฉุกเฉิน” นะคะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Maple Forte Dosage & Drug Information. MIMS.com. (https://www.mims.com/thailand/drug/info/maple%20forte)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)