ภาวะทุพโภชนาการ

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการเป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ได้รับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต

คำว่า “ทุพโภชนาการ” นั้นหมายถึงโภชนาการที่ไม่ดี ซึ่งยังสื่อถึง:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะโภชนาการต่ำ: เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ

ภาวะโภชนาการเกิน: เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการ

ข้อมูลต่อไปนี้จะเน้นไปยังภาวะโภชนาการต่ำเป็นอันดับหนึ่ง

ใครสามารถประสบกับภาวะทุพโภชนาการได้บ้าง?

ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นบ่อย โดยคาดประมาณว่ามีประชากรในประเทศอังกฤษที่มีภาวะโภชนาการผิดปกตินี้ 3 ล้านคน และมีอีกหลายล้านคนที่มีความเสี่ยง

จากข้อมูลข้างต้น ผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือที่บ้านหนึ่งในสามถูกวินิจฉัยว่าเป็นหรือมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือมีปัญหาที่ระบบดูดซึมสารอาหาร แต่ก็มีอีกหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ขึ้นรวมไปถึงความเกียจคร้าน ภาวะสุขภาพระยะยาว หรือมีรายได้ต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สัญญาณของภาวะทุพโภชนาการ

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะทุพโภชนาการคือมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ (เสียมวลร่างกายไป 5-10% ภายในช่วงเวลาสามถึงหกเดือน) สัญญาณอื่น ๆ มีดังนี้: กล้ามเนื้ออ่อนแอ รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา อารมณ์ไม่ดี โอกาสเจ็บป่วยหรือติดเชื้อเพิ่มขึ้น

สัญญาณหลักของภาวะโภชนาการเกินคือมีน้ำหนักร่างกายมากหรือมีภาวะอ้วน แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการต่ำก็สามารถมีน้ำหนักตัวมากได้เช่นกันหากว่าพวกเขาชอบรับประทานแต่อาหารพลังงานสูง (แคลอรี) แต่มีการทานอาหารประเภทอื่นน้อย

สัญญาณของภาวะทุพโภชนาการในเด็กมีทั้งการเจริญเติบโตน้อยกว่าที่ควรเป็นและพฤติกรรมเปลี่ยน อย่างเช่นมีอารมณ์ฉุนเฉียวผิดปรกติ ขี้เกียจ หรือวิตกกังวล

น้ำหนักและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กควรถูกประเมินโดยแพทย์เป็นประจำตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ให้ปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญหากว่าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพหรือพัฒนาการของลูกคุณ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ให้ไปพบแพทย์หากว่าดัชนีมวลกาย (BMI) มีค่าน้อยกว่า 18.5 หรือคุณสังเกตเห็นอาการของภาวะที่กล่าวมาข้างต้น

BMI เป็นตัวชี้วัดว่าคุณมีน้ำหนักสอดคล้องกับความสูงของคุณหรือไม่ คุณสามารถใช้แผนผัง BMI ในการคำนวณและตรวจสอบค่า BMI ของคุณได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณควรเข้าพบแพทย์หากคุณหรือผู้อื่นมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ แพทย์จะสามารถตรวจหาสัญญาณของภาวะทุพโภชนาการและภาวะอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้

การรักษาภาวะทุพโภชนาการ

การรักษาภาวะทุพโภชนาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะรายบุคคลและความรุนแรงของภาวะ ซึ่งการรักษาสามารถดำเนินการขึ้นตามโรงพยาบาลหรือที่บ้านก็ได้

การเปลี่ยนการบริโภคอาหารเป็นการรักษาภาวะทุพโภชนาการที่ง่ายที่สุด หากคุณมีภาวะโภชนาการต่ำ คุณจำต้องเพิ่มปริมาณสารอาหารที่คุณได้รับจากการรับประทานอาหาร หรือทานอาหารเสริมโภชนาการเพิ่มเข้าไป

หากคุณไม่สามารถทานอาหารได้ตรงตามความต้องการของร่างกาย คุณอาจต้อง: เปลี่ยนไปใช้วิธีรับสารอาหารทางหลอดที่สอดเข้าสู่ระบบย่อยอาหารของคุณโดยตรง หยดยาที่อุดมด้วยสารอาหารและของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง

การป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

วิธีการป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่ดีที่สุดคือการทานอาหารให้ถูกสุขภาพและสมดุล

การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุลเป็นหลักการเพื่อคงสภาพและความแข็งแรงร่างกายที่สำคัญที่สุด ในการที่คุณจะมีร่างกายที่แข็งแรง คุณต้องทานอาหารที่หลากหลายจากสารอาหารทั้งห้าหมู่ ซึ่งรวมไปถึง: การทานผักผลไม้เยอะ ๆ ทานขนมปัง ข้าว มันฝรั่ง และอาหารจำพวกแป้งเยอะ ๆ ทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์และนมในปริมาณที่พอเหมาะ ทานเนื้อ ปลา ไข่ ถั่ว และอาหารอุดมโปรตีนอื่น ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ

อาการของภาวะทุพโภชนาการ

อาการของภาวะทุพโภชนาการที่พบได้บ่อยคือน้ำหนักร่างกายหายไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้

ผู้ใหญ่

หากคุณเสียน้ำหนักร่างกายไป 5-10% ภายในเวลาสามถึงหกเดือนโดยที่คุณไม่ได้พยายามลดน้ำหนักอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการได้

บางครั้งการสูญเสียน้ำหนักร่างกายไปก็ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเพราะว่าภาวะเช่นนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ คุณอาจสังเกตเห็นเมื่อเสื้อผ้า เข็มขัด และเครื่องประดับที่คุณใส่เป็นประจำหลวมกว่าเดิม

สัญญาณอื่น ๆ ของภาวะทุพโภชนาการมีดังนี้: รู้สึกหมดแรงและเหนื่อยตลอดเวลา ประสบกับภาวะติดเชื้อบ่อย ๆ การติดเชื้อที่ประสบใช้เวลานานกว่าจะหาย แผลสมานตัวช้า สมาธิไม่ดี ทำความอบอุ่นให้ร่างกายลำบาก มีภาวะซึมเศร้า

วิธีที่จะประเมินว่าคุณมีภาวะทุพโภชนาการหรือไม่คือการคำนวณดัชนีมวลกายของตนเอง (BMI) โดย BMI จะเป็นการวัดที่แสดงให้เห็นว่าคุณมีน้ำหนักสอดคล้องกับส่วนสูงของคุณหรือไม่

ผู้ใหญ่ส่วนมากที่มี BMI ในเกณฑ์สุขภาพดีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 18.5 กับ 24.9 หากน้อยกว่านั้นอาจสื่อได้ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการสูง กระนั้นคุณก็อาจถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงหากมีค่า BMI ระหว่าง 18.5 กับ 20 อยู่ดี

สิ่งที่คุณต้องพึงจำคือ BMI และน้ำหนักตัวที่หายไปไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะทุพโภชนาการเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยบางคนที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักร่างกายสูงก็สามารถเป็นภาวะทุพโภชนาการได้เนื่องจากการรับประทานแต่อาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันและน้ำตาลสูง แต่มีการทานอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ อย่างวิตามินและแร่ธาตุต่ำ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ให้ไปพบแพทย์หากว่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณน้อยกว่า 18.5 คุณเสียน้ำหนักร่างกายไปมากกว่า 5-10% จากปกติในช่วงสามถึงหกเดือน หรือคุณประสบกับอาการที่กล่าวไปข้างต้น

เด็ก

อาการของภาวะทุพโภชนาการในเด็กมีดังนี้: อัตราการเจริญเติบโตไม่ถูกต้อง ทั้งเรื่องของน้ำหนักและส่วนสูง (เลี้ยงไม่โต) พฤติกรรมเปลี่ยน อย่างเช่นมีอารมณ์ฉุนเฉียวผิดปกติ ขี้เกียจ หรือวิตกกังวล สีผมและสีผิวเปลี่ยน

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

น้ำหนักและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กควรถูกประเมินโดยแพทย์เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กเล็ก

ให้ติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพหรือพัฒนาการของลูกคุณ

สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ

สาเหตุการเกิดภาวะทุพโภชนาการเป็นได้ทั้งการรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือปัญหาการดูดซึมสารอาหารจากอาหารก็ได้

ภาวะทางการแพทย์

ภาวะทางการแพทย์ที่นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการมีดังนี้:

ภาวะที่ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง อย่างเช่นมะเร็ง โรคตับ อาการปวดหรือคลื่นไส้ต่อเนื่อง

ภาวะทางจิต อย่างเช่นภาวะซึมเศร้า หรือโรคจิตเภทที่ส่งผลต่อความสามารถในการดูแลตนเอง

ภาวะสุขภาพที่จำต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ

ภาวะสุขภาพที่ยับยั้งความสามารถในการย่อยและดูดซับสารอาหาร อย่างเช่นโรคโครห์น หรือแผลในกระเพาะอาหาร

สมองเสื่อม: ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไม่สามารถสื่อสารความต้องการของพวกเขาได้

อาการกลืนลำบาก: ภาวะที่ทำให้การกลืนยากลำบากหรือมีความเจ็บปวดขณะกลืน

อาการอาเจียนหรือท้องร่วงต่อเนื่อง

โรคการกินผิดปรกติ อย่างเช่นโรคอะนอเร็กเซีย

การใช้ยาบางประเภทอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการขึ้นได้เช่นกัน โดย ณ ขณะนี้มียามากกว่า 250 ประเภทที่ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับและย่อยสลายสารอาหารของร่างกาย

คุณอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้นหากว่าร่างกายมีความต้องการพลังงานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นคุณกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นหลังการผ่าตัดใหญ่หรือหลังการบาดเจ็บร้ายแรงเช่นการถูกไฟเผา หรือคุณประสบกับการเคลื่อนไหวนอกเหนืออำนาจจิตใจอย่างเช่นอาการสั่น เป็นต้น

ปัจจัยทางกายภาพ

ตัวอย่างปัจจัยทางร่างกายที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการมีดังนี้:

ถ้าฟันของคุณมีสภาพไม่ดีหรือหากฟันปลอมไม่เข้าที่ จะทำให้การเคี้ยวอาหารลำบากหรือสร้างความเจ็บปวดขึ้น

หากคุณสูญเสียประสาทรับกลิ่นหรือรับรส คุณอาจสูญเสียความอยากอาหารไปด้วยเช่นกัน

ความพิการทางร่างกายหรือความทุพพลภาพที่ทำให้การทำอาหารหรือจัดหาอาหารด้วยตนเองลำบากขึ้น

ปัจจัยทางสังคม

ตัวอย่างสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการมีดังนี้:

อาศัยอยู่ตัวคนเดียวและไม่ชอบเข้าสังคม

มีความรู้เรื่องสารอาหารหรือการประกอบอาหารน้อย

มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

ติดแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด

ยากจนหรือมีรายได้ต่ำ

เด็ก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการกับเด็กคือการเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวที่: ส่งผลให้ความอยากอาหารลดน้อยลง ยับยั้งกระบวนการย่อยอาหารของร่างกายตามปกติ ทำให้ร่างกายมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของภาวะเหล่านี้มีทั้งมะเร็งวัยเด็ก โรคหัวใจแต่กำเนิด โคซิสติก ไฟโบรซิส และโรคสมองพิการ

ภาวะทุพโภชนาการในเด็กมักเกิดกับเด็กที่ถูกละเลย อาศัยอยู่อย่างยากจน หรือถูกทำร้ายจากคนรอบข้าง บางครั้งภาวะทุพโภชนาการในเด็กก็เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กเลี่ยงจะรับประทานอาหารเพราะกังวลเรื่องรูปลักษณ์ของตนเอง

การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ

จะมีการนำปัจจัยหลายอย่างเข้ามาพิจารณาในการตรวจสอบว่าคนคนนั้นเป็นภาวะทุพโภชนาการหรือไม่ หรือความเสี่ยงสูงหรือไม่

สำหรับผู้ใหญ่ ปัจจัยที่นำมามีดังนี้:

ดัชนีมวลกาย (BMI): ตัววัดที่สามารถใช้ชี้วัดว่าคุณมีน้ำหนักตามเกณฑ์ผู้มีสุขภาพดีตามความสูงหรือไม่

คุณมีน้ำหนักร่างกายลดหายไปโดยไม่ตั้งใจในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาหรือไม่

คุณมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้คุณไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดูดซับสารอาหารหรือไม่

คุณมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นภาวะทุพโภชนาการหากมี BMI น้อยกว่า 18.5 หรือคุณมีการสูญเสียน้ำหนักมากกว่า 5% ของน้ำหนักร่างกายในช่วงสามถึงหกเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีแพทย์ก็อาจคาดว่าคุณมีภาวะทุพโภชนาการได้หากว่าคุณมีค่า BMI ระหว่าง 18.5 กับ 20

แพทย์พิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการสูงหากว่า:

คุณมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้คุณทานอาหารได้น้อยลงในช่วงห้าวันที่ผ่านมา หรือคุณมีความเสี่ยงที่จะทานอาหารไม่ลงในช่วงห้าวันข้างหน้า

คุณมีการดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี ยกตัวอย่างเช่นคุณมีภาวะอย่างโรคโครห์นที่ทำให้ระบบย่อยอาหารอักเสบ

คุณมีภาวะที่อาจทำให้ร่างกายต้องใช้สารอาหารมากขึ้นหรือทำให้ร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น

คุณมีอาการกินหรือดื่มลำบาก

ส่วนภาวะขาดแร่ธาตุหรือวิตามินสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือด

การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการในเด็กจะดำเนินด้วยการวัดค่าน้ำหนักและส่วนสูงก่อนนำค่าทั้งสองที่ได้มาเทียบกับค่าส่วนสูงและน้ำหนักมาตรฐานสำหรับเด็กในวัยนั้น ๆ

เด็กบางคนอาจมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานเพราะเกิดมาตัวเล็กตามธรรมชาติ ซึ่งหากค่าที่ได้มีน้อยกว่าระดับที่ควรเป็นมากจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการที่สูงมากตาม

การตรวจเลือดก็สามารถใช้เพื่อวัดระดับโปรตีนในเลือดได้ ซึ่งระดับโปรตีนที่ต่ำอาจบ่งบอกถึงภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

การรักษาภาวะทุพโภชนาการ

การรักษาภาวะทุพโภชนาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดภาวะและผู้ป่วยขาดสารอาหารในรูปแบบไหน

แพทย์อาจแนะนำให้คุณกลับบ้านไปดูแลตนเองตามคำแนะนำ หรือเริ่มการรักษาที่บ้านโดยมีนักโภชนาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคอยกำกับอยู่ก็ได้ บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้คุณพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแทน

การรักษาภาวะทุพโภชนาการที่บ้าน

หากคุณต้องการรักษาภาวะทุพโภชนาการที่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะคอยช่วยเหลือคุณด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินที่คุณควรได้รับในแต่ละมื้อ

แผนการรับประทานอาหารจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคล แต่ส่วนมากมักจะแนะนำให้คุณเพิ่มปริมาณพลังงานที่ควรได้รับ (แคลอรี) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ของเหลว และวิตามินกับเกลือแร่ เป้าหมายของแผนการคือลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างเช่นการติดเชื้อ และเพื่อเลี่ยงการรักษาตัวที่โรงพยาบาล

แพทย์อาจแนะนำให้ให้คุณทานอาหารเสริมทางโภชนาการเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณพลังงานกับโปรตีนที่ได้รับ โดยจะมีการตั้งเป้าหมายของการรักษาและมีการติดตามผลอยู่เป็นประจำ

ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะทุพโภชนาการของคุณ คุณอาจถูกแนะนำให้ใช้ตัวช่วยเพิ่มเติมอย่างเช่นการใช้ผู้ดูแลหากคุณมีภาวะพิการจนทำให้คุณไปหาซื้ออาหารหรือทำอาหารลำบาก

หากว่าคุณมีปัญหาการกลืนหรือดื่มน้ำ แพทย์อาจส่งตัวคุณไปพบนักบำบัดภาษาและการพูด (SLT) ที่จะประเมินการกลืนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารชนิดพิเศษแก่คุณ

หากคุณยังคงทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แพทย์อาจเปลี่ยนไปใช้วิธีการป้อนอาหารเทียมอย่างการป้อนผ่านหลอดซึ่งสามารถดำเนินการตามโรงพยาบาลหรือที่บ้านก็ได้

การรักษาภาวะทุพโภชนาการที่โรงพยาบาล

หากคุณต้องทำการรักษาภาวะทุพโภชนาการที่โรงพยาบาล คุณจะได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายท่าน ดังนี้: แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะของระบบย่อย นักโภชนาการ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสารโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์

หากคุณไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน อาจมีการวางแผนการรับประทานอาหารแก่คุณโดยอาจจะมีหรือไม่มีการใช้อาหารเสริมโภชนาการก็ได้

หากคุณไม่สามารถกลืนอาหารได้ คุณอาจต้องใช้หลอดสวนส่งอาหาร ซึ่งจะมีอยู่สองประเภท: สายสอดกระเพาะอาหารทางสอดจมูก: ท่อที่สอดเข้าจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร สายสวนกระเพาะอาหาร (PEG): ท่อที่สอดเข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านทางช่องบนหน้าท้อง

การให้สารอาหารทางหลอดเลือด

หากคุณไม่สามารถใช้ท่อส่งอาหารได้ แพทย์อาจใช้วิธีให้สารอาหารแก่คุณโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดโดยตรงผ่านการหยดยา วิธีการนี้สามารถช่วยให้ร่างกายคุณได้รับสารอาหารได้แม้จะไม่ได้รับประทานเข้าไป

คุณจะได้รับสารละลายสารอาหารที่ตรงตามความต้องการของร่างกายคุณมา โดยสารละลายดังกล่าวอาจเป็นการผสมกันของสารอาหารอย่างคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล โปรตีน ไขมัน เกลือ และวิตามินกับเกลือแร่ต่าง ๆ

การรักษาเพิ่มเติม

หากมีภาวะต้นเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ แพทย์จะทำการรักษาภาวะนั้นด้วย

ระยะเวลาที่คุณต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของคุณและสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้น ในบางกรณีคุณสามารถกลับบ้านได้ขณะที่ยังคงต้องรับการรักษาอยู่

การรักษาเด็ก

ภาวะทุพโภชนาการในวัยเด็กสามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มสารอาหารที่ควรได้รับขึ้น เด็กอาจต้องได้รับสารอาหารเพิ่มเติมชนิดพิเศษและทานอาหารที่อุดมไปด้วยพลังงานและสารอาหาร อีกทั้งยังต้องมีการรักษาภาวะต้นเหตุไปพร้อมกันด้วย

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงอาจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษและต้องไม่ให้อาหารปกติแก่พวกเขาทันที เมื่อภาวะของพวกเขาคงที่แล้วจึงจะสามารถค่อย ๆ จัดอาหารพวกเขาทานได้เรื่อย ๆ จนถึงระดับตามปกติ ภาวะทุพโภชนาการที่เกิดขึ้นเพราะเด็กขาดแคลนอาหารเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ซึ่งอาจต้องมีการช่วยเหลือจากตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วย


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Malnutrition: Practice Essentials, Background, Pathophysiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/985140-overview)
Malnutrition: Definition, Symptoms and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/malnutrition)
Malnutrition. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/malnutrition/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป