การผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทเป็นกระบวนการผ่าตัดรักษาอาการเส้นประสาทกดทับที่ส่วนกระดูกสันหลังส่วนล่าง (ลัมบาร์) เป็นการผ่าตัดที่ใช้กับคนไข้ที่ผ่านการรักษาด้วยกรรมวิธีอื่นนอกจากการผ่าตัดมาแล้วไม่ได้ผลเท่านั้น
การผ่าตัดมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ อย่างอาการเจ็บปวดเรื้อรังและอาการชาที่ขาทั้งสองข้าง ซึ่งเกิดมาจากการที่เส้นประสาทที่ไขสันหลังถูกกดทับ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทมักดำเนินการขึ้นเพื่อรักษา:
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ: ซึ่งเป็นภาวะที่ส่วนของกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทที่อยู่ภายใน
- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท: ที่ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดเสียหายและกดลงไปบนเส้นประสาทที่อยู่ข้างใต้
- การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง: อย่างเช่นการแตกหัก หรือการบวมของเนื้อเยื่อ
- ภาวะกระดูกกดทับเส้นประสาทจากมะเร็ง: ที่ซึ่งเชื้อมะเร็งที่อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายอย่างปอด กระจายเข้าไปยังกระดูกสันหลัง และทำให้เกิดการกดเบียดขึ้นที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาท
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท
หากแพทย์แนะนำว่าคุณควรเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท มักจะดำเนินการตามกระบวนการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง:
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี: ที่ซึ่งส่วนของกระดูกสันหลังจะถูกนำออกมาเพื่อบรรเทาอาการกดทับเส้นประสาท
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูก: ที่ซึ่งเป็นการผ่าตัดนำส่วนหมอนรองกระดูกที่เสียหายออกมาเพื่อบรรเทาอาการกดทับเส้นประสาท
- การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง: ที่ซึ่งส่วนของกระดูกสันหลังสองชิ้นหรือมากกว่าถูกเชื่อมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้สันหลังมีความสม่ำเสมอและเพื่อเสริมความแข็งแรงให้สันหลัง
ในหลาย ๆ กรณี อาจมีการใช้เทคนิคเหล่านี้เข้าด้วยกันก็ได้
การผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทมักดำเนินการโดยการใช้ยาสลบทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดหลับไปตลอดกระบวนการโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด ซึ่งการผ่าตัดมักใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการ
การฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท
ร่างกายของคุณจะฟื้นสภาพมากพอจะออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 1 ถึง 4 วันหลังการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการและระดับความสามารถในการเคลื่อนไหวของคุณเอง
ผู้คนส่วนมากสามารถเดินไปมาโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยภายในหนึ่งวันหลังการผ่าตัด แต่ยังคงต้องเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือการขับรถนาน ๆ ประมาณ 6 อาทิตย์อยู่ดี
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณจะพร้อมกลับไปทำงานหลังจากนั้น 4 ถึง 6 สัปดาห์ แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน ยกของหนัก หรือขับรถนาน อาจต้องหยุดงานนานกว่าที่กล่าวไป
ประสิทธิภาพของการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท
มีหลักฐานยืนยันว่าการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทเป็นกระบวนการรักษาผู้ที่มีอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ดีที่สุด
ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะมีอาการเจ็บปวดลดน้อยลง และพบว่าผู้ที่ประสบกับการเดินลำบากก่อนผ่าตัดเนื่องมาจากความเจ็บปวดหรืออ่อนแรงที่ขาจะสามารถกลับมาเดินเหินได้ง่ายดายขึ้นหลังการผ่าตัด
ความเสี่ยงของการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท
การผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทมักประสบความสำเร็จ แต่ก็เหมือนกับกระบวนการผ่าตัดอื่น ๆ ที่มันเองก็มีความเสี่ยงจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทมีดังนี้:
- การติดเชื้อ ณ บริเวณที่ผ่าตัด หรืออาจเกิดการติดเชื้อที่บริเวณอื่น (หายาก)
- ลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำในขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือเรียกกันว่าภาวะเส้นเลือดดำตีบขอด (DVT): ในกรณีที่หายาก ลิ่มเลือดอาจเคลื่อนไปยังปอด ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาก
- ความเสียหายที่เส้นประสาทที่สันหลังหรือไขสันหลัง: ทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ในกรณีที่หายากอาจเกิดภาวะอัมพาตได้
เมื่อไรที่แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดนี้?
- การผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทมักนำมาพิจารณาหากว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษากระดูกสันหลังส่วนล่างด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากการผ่าตัด และอาการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาอย่างมาก
- การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่นการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และการบำบัดด้วยการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งเป็นกระบวนการรักษาที่เป็นการผสานกันระหว่างการบำบัดประเภทอื่นกับยาไขสันหลัง โดยจะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่กับสเตียรอยด์เข้าไปลดอาการบวมและการอักเสบลง
- การผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทอาจถูกพิจารณาก็ต่อเมื่อคนไข้มีภาวะข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้รุนแรงก็ได้
- การผ่าตัดจะดำเนินการกับคนไข้ที่มีสุขภาพดีพร้อมจะรับมือกับผลข้างเคียงของยาระงับประสาทกับการผ่าตัดเท่านั้น
ภาวะที่ต้องใช้การผ่าตัดลัมบาร์มีดังนี้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบเป็นภาวะที่ซึ่งช่องว่างรอบไขสันหลังเกิดตีบขึ้นจนไปกดทับเนื้อเยื่อประสาท อาการหลัก ๆ ของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบมีอาการเจ็บปวด ชา อ่อนแรง และคันยุกยิกที่ขาข้างหนึ่งหรือสองข้างจนทำให้การเดินลำบาก
กรณีผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบส่วนมากจะเกิดในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีคุณแก่ตัวลง กระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบสันหลังจะเริ่มเสื่อมลงตาม จนก่อให้เกิดภาวะตีบแคบนี้ขึ้นมานั่นเอง
กลุ่มอาการรากประสาทหางม้า
เป็นภาวะความผิดปรกติของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบที่พบได้ยาก ที่ซึ่งเส้นประสาททั้งหมดในส่วนหลังด้านล่างถูกกดทับอย่างรุนแรง
ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น อย่างเช่นอาการชาในผิวหนังรอบทวารหนัก ไม่สามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะได้ และสูญเสียการควบคุมลำไส้ใหญ่ไป
ผู้ที่ประสบกับกลุ่มอาการรากประสาทหางม้าต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรับการผ่าตัดฉุกเฉินในทันที เนื่องจากว่าหากปล่อยทิ้งไว้เวลานาน จะยิ่งเพิ่มโอกาสกลายเป็นภาวะอัมพาตหรือภาวะกลั้นของเสียไม่อยู่ได้
หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือภาวะที่หมอนรองกระดูกในสันหลังเกิดฉีกจนทำให้มีของกึ่งเหลวคล้ายเยลลี่ออกมา หมอนรองที่ฉีกขาดจะเข้าไปกดทับเส้นประสาทโดยรอบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ขา
อาการเจ็บปวดนี้มักพ่วงมากับอาการคันยุกยิกราวกับโดนเข็มแทง และชาหรืออ่อนแรงที่ขา โดยเรียกอาการเจ็บปวดเช่นนี้ว่าไซอาทิกา หรืออาการปวดร้าวลงขา ซึ่งจะมีความรุนแรงมากขณะไอ จาม หรือออกแรง
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยได้ แต่มักจะพบได้มากกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ถึง40 ปี หากหมอนรองเสียหาย มันอาจนำไปสู่การบิดกลับมากขึ้นจนทำให้ของเหลวภายในออกมามากขึ้นตาม
สาเหตุการเกิดภาวะนี้ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด
กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทจากมะเร็ง
มะเร็งที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างที่ปอด สามารถกระจายไปยังสันหลังและก่อให้เกิดการกดทับขึ้นได้
อาการแรกเริ่มมีดังนี้:
- ปวดหลัง อาจเกิดขึ้นอ่อน ๆ ก่อนในตอนแรก แต่จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นตามกาลเวลาและอาจสร้างความเจ็บปวดขณะนอนหลับได้ด้วย
- ชาที่นิ้วมือและนิ้วเท้า
- มีปัญหากับการปัสสาวะ
หากไม่ทำการรักษา ภาวะกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทจากมะเร็งสามารถสร้างความเสียหายให้รุนแรงขึ้นอย่างการทำให้เป็นอัมพาตที่ขาถาวรได้
สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงพอจะทนการผ่าตัด การรักษาภาวะกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทจากมะเร็งสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากภาวะนี้แสดงอาการในช่วงท้าย ๆ แล้ว จะทำให้หลาย ๆ คนไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้เนื่องจากอาการป่วยที่ลุกลามมากเกินไป
การบาดเจ็บที่สันหลัง
การบาดเจ็บที่สันหลัง (อย่างการเคลื่อน หรือแตกหัก) หรือการบวมของเนื้อเยื่อสามารถทำให้เกิดการกดทับที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาทได้
เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง
ที่กระดูกสันหลังก็สามารถมีเนื้องอกเติบโตขึ้นมาได้เช่นกัน โดยมักจะเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งมากที่สุด แต่ก็มีโอกาสที่เนื้องอกนี้จะโตจนไปกดทับรากเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัด
หากคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท คุณจะถูกจัดเข้ากลุ่มสำรองชื่อก่อน
แพทย์หรือศัลยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งระยะเวลาที่คาดว่าต้องรอแก่คุณ
ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
เพื่อช่วยเรื่องการฟื้นฟูร่างกายของคุณและลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณาหาแนวทางการผ่าตัดให้อย่างถี่ถ้วน
ทันทีที่คุณทราบว่าตนเองต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะนำให้คุณงดสูบบุหรี่ ให้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุล และออกกำลังกายเป็นประจำก่อนถึงวันนัดหมาย
การประเมินก่อนเข้ารับการผ่าตัด
คุณจะถูกจัดให้เข้านัดหมายเพื่อประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ระหว่างการนัดหมายครั้งนี้ คุณอาจต้องรับการตรวจเลือดและสุขภาพโดยรวมของคุณ เพื่อให้แพทย์มั่นใจว่าคุณพร้อมรับมือกับการผ่าตัดจริงหรือไม่ อีกทั้งยังมีการเอกซเรย์หรือถ่ายภาพสะท้อนแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูโครงสร้างกระดูกสันหลังของคุณอีกด้วย การประเมินนี้เป็นโอกาสที่คุณจะพูดคุยปรึกษา และสอบถามความกังวลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการผ่าตัดกับแพทย์ผู้ดำเนินการ คุณควรต้องได้รับแจ้งว่าใครเป็นผู้ดำเนินการผ่าตัดแก่คุณ โดยการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทนั้นมักดำเนินการโดยศัลยแพทย์ด้านประสาทหรือศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ
การผ่าตัด
คุณจะถูกจัดเข้าโรงพยาบาลในวันเดียวกับวันผ่าตัด หรือวันก่อนหน้าก็ได้ ทางศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้อธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดแก่คุณ ซึ่งนี่ยังเป็นโอกาสที่คุณจะพูดคุยสอบถามกับแพทย์ผู้ดูแลคุณได้ ก่อนเริ่มการผ่าตัด คุณจะต้องลงชื่อคำยินยอมเพื่อยืนยันว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณแล้ว คุณมักจะถูกแนะนำให้งดการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง
ระหว่างการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท คุณจะต้องนอนคว่ำลงบนเตียงผ่าตัดเพื่อให้แพทย์สามารถเข้าถึงส่วนที่เสียหายได้ง่าย และจะมีการใช้เบาะรองเตียงที่ลดแรงกดบนหน้าอกและเชิงกรานของคุณไว้ตลอด
หัตถการนี้จะใช้ยาสลบกับคนไข้ ทำให้คุณนอนหลับไปตลอดกระบวนการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใด ๆ กระบวนการมักดำเนินการอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง แต่อาจจะยืดเยื้อกว่านั้นได้ตามความซับซ้อนของกระบวนการ
ระดับการกดทับภายในจะถูกตรวจก่อนด้วยการเอกซเรย์ ก่อนที่แพทย์จะกรีดผิวหนังกลางแผ่นหลังตามรอยกระดูกสันหลังของคุณ ความยาวของรอยกรีดจะขึ้นอยู่กับ:
- จำนวนข้อกระดูกสันหลังและ/หรือหมอนรองกระดูกที่ต้องได้รับการรักษา
- ความซับซ้อนของการผ่าตัด
- ต้องมีการเชื่อมกระดูกหรือไม่
- กล้ามเนื้อหลังของคุณจะถูกยกออกจากกระดูกหลัง เพื่อเปิดส่วนหลังของกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อและเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบจะถูกกำจัดออกทีละน้อย เมื่อแพทย์แก้การกดทับจนถึงระดับที่พอใจแล้ว กล้ามเนื้อจะถูกเย็บติดเช้าด้วยกันก่อนที่แพทย์จะทำการปิดรอยกรีดที่ผิวหนัง
กระบวนการผ่าตัด
เป้าหมายของการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทก็เพื่อบรรเทาการกดทับที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาทของคุณ โดยที่พยายามคงสภาพความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของสันหลังของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จำนวนกระบวนการที่ใช้ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ทำให้คุณต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยมีอยู่ 3 หลักกระบวนการดังนี้:
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี: ที่ซึ่งส่วนของกระดูกสันหลังจะถูกนำออกมาเพื่อบรรเทาอาการกดทับเส้นประสาท
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูก: ที่ซึ่งเป็นการผ่าตัดนำส่วนหมอนรองกระดูกที่เสียหายออกมา
- การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง: ที่ซึ่งส่วนของกระดูกสันหลังสองชิ้นหรือมากกว่าถูกเชื่อมด้วยการปลูกถ่ายกระดูก
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมีคือการกำจัดพื้นที่กระดูกหรือเนื้อเยื่อที่เข้าไปกดทับไขสันหลังออก ศัลยแพทย์จะกรีดเหนือบริเวณที่มีอาการเข้าไปยังลามินา (ส่วนโค้งของสันหลัง) เพื่อเข้าถึงเส้นประสาทที่ถูกกด เส้นประสาทดังกล่าวจะถูกดึงกลับเข้าไปยังศูนย์กลางของแถวกระดูกสันหลัง และส่วนของกระดูกหรือกระดูกอ่อนที่กดทับเส้นประสาทจะถูกนำออกมา หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการข้างต้น ศัลยแพทย์จะเย็บปิดรอยกรีดด้วยด้ายเย็บแผลหรือคลิปผ่าตัด
การผ่าตัดหมอนรองกระดูก
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเป็นการผ่าตัดเพื่อปล่อยเส้นประสาทสันหลังที่ถูกกดทับโดยหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนหรือเป่งออก คล้ายกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี ศัลยแพทย์จะกรีดเปิดเหนือบริเวณที่มีอาการเข้าไปยังลามินา
แพทย์จะค่อย ๆ ดึงเส้นประสาทออกจากสุดที่เกิดการซ้อนทับหรือการเป่งออกของหมอนรองกระดูก ซึ่งจะกระเถิบออกมาไกลพอที่จะป้องกันการกดทับอีกได้ ส่วนมากแล้วหมอนรองกระดูกส่วนต้นเหตุจะถูกปล่อยทิ้งเอาไว้เพื่อให้มันทำงานเป็นตัวรับแรงกระแทกตามเดิม หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการข้างต้น ศัลยแพทย์จะเย็บปิดรอยกรีดด้วยด้ายเย็บแผลหรือคลิปผ่าตัด
การเชื่อมกระดูกสันหลัง
การเชื่อมข้อกระดูกสันหลังเป็นกระบวนการที่เชื่อมส่วนสันหลังสองส่วนเข้าด้วยกันด้วยการใช้กระดูกใหม่ดามเข้าไปในช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังสองส่วน
วิธีการนี้จะช่วยป้องกันการเคลื่อนไหวมากเกินไประหว่างสันหลังสองส่วน ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองหรือการกดทับขึ้นที่เส้นประสาทใกล้เคียง และลดความเจ็บปวดกับอาการต่าง ๆ ลง
ชิ้นส่วนกระดูกที่นำมาเติมจะนำมาจากส่วนอื่นในร่างกายของคุณ (มักเป็นส่วนเอว) หรือมาจากกระดูกที่ได้รับบริจาคมา และ ณ ปัจจุบันก็มีการใช้กระดูกเทียมแทนอีกด้วย หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการข้างต้น ศัลยแพทย์จะเย็บปิดรอยกรีดด้วยด้ายเย็บแผลหรือคลิปผ่าตัด
การผ่าตัดแบบรูกุญแจ
การผ่าตัดกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทมักดำเนินการด้วยการกรีดเปิดแผ่นหลังขนาดใหญ่ หรือการผ่าตัดแบบ “เปิด”
ในบางกรณี อาจมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่าการผ่าตัดแบบ “รูกุญแจ” ที่มีการใช้กล้องและเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กสอดเข้าร่างกายผู้ป่วยแทน โดยศัลยแพทย์จะสามารถมองเห็นภาพภายในได้จากหน้าจอ
การผ่าตัดแบบสอดกล้องเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและไม่เหมาะสมกับทุกคน แต่ความเหมาะสมนี้จะขึ้นอยู่กับปัญหาสันหลังที่คุณเป็นอยู่ อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการผ่าตัดสูงมากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดอีกด้วย
อาจมีการใช้เทคนิคอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่นการใช้เลเซอร์หรือใช้ความร้อนทำลายส่วนหมอนกระดูกที่เสียหาย ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคใหม่มากจนยังไม่มีรายงานเรื่องผลกระทบหรือประเด็นเรื่องของความปลอดภัยระยะยาวมารองรับ
ประโยชน์ของการผ่าตัดแบบรูกุญแจคือคนไข้จะมีเวลาพักฟื้นร่างกายสั้นกว่า ในหลาย ๆ กรณี ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดรูปแบบนี้จะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในวันที่ทำการผ่าตัด
การพักฟื้น
การพักฟื้นหลังการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาทจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายคุณก่อนเข้าผ่าตัด จึงเป็นเหตุผลให้มีโปรแกรมกายภาพบำบัดก่อนเข้ารับการผ่าตัด
คุณจะถูกจับให้เดินและเคลื่อนไหวไปมาภายหลังการผ่าตัดหนึ่งวันในทันที ซึ่งทำให้คุณออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น 1 หรือ 3 วันหลังจากผ่าตัด
แต่การที่ร่างกายจะกลับไปเคลื่อนไหวได้ตามเป้านั้นอาจใช้เวลา 4 ถึง 6 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะและอาการก่อนผ่าตัด)
เมื่อคุณฟื้นจากการพักฟื้นหลังการผ่าตัดกระดูกลัมบาร์กดทับเส้นประสาท หลังของคุณจะรู้สึกปวดเมื่อยและอาจมีท่อเชื่อมต่อกับร่างกายของคุณหนึ่งหรือสองท่อได้
โดยท่อดังกล่าวมีเพื่อ:
- หยดน้ำเกลือเข้าเส้นเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ดูดของเหลวออกจากบาดแผลของคุณ
- เป็นสายสวนดูดปัสสาวะออกในกรณีที่คุณมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก
- ปั๊มสูบฉีดยาแก้ปวดเข้าเส้นเลือดดำ ซึ่งจะทำงานทุก ๆ สองสามชั่วโมง
- ท่อเหล่านี้มักติดอยู่กับคุณไม่นานหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น
ความเจ็บปวด
ภายหลังการผ่าตัด คุณจะมีอาการเจ็บปวดภายในและรอบบาดแผลที่ทำการผ่าตัด ซึ่งคุณจะได้รับยาแก้ปวดกดอาการเหล่านี้เอาไว้ สำหรับอาการเจ็บปวดขาก่อนเข้ารับการผ่าตัดก็จะดีขึ้นในทันที แต่หากไม่ ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลในทันที
มีผู้คนจำนวนน้อยที่จะประสบกับภาวะขับปัสสาวะยากหลังการผ่าตัด และมักเป็นภาวะชั่วคราว แต่หากเป็นกรณีภาวะแทรกซ้อนที่หายากอย่างการเสียหายของเส้นประสาท อาจทำให้ขาหรือกระเพาะปัสสาวะหยุดทำงานไปได้ คุณจึงต้องรีบแจ้งแพทย์และพยาบาลทันทีที่คุณรู้สึกถึงปัญหาเหล่านี้
อาการปวดและเหนื่อยล้าจะหายไปเองภายในระยะเวลามากกว่า 6 สัปดาห์
การเย็บแผล
คุณจะมีรอยด้ายเย็บหรือคลิปติดแผลที่รอยกรีด หากแพทย์ใช้ด้ายเย็บแผลที่สามารถละลายเองได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องถูกพาเข้าห้องรักษาเพื่อดึงด้ายออก
ด้ายเย็บหรือคลิปติดแผลที่ละลายเองไม่ได้จะถูกนำออกวันหลังจากการผ่าตัดประมาณ 5 ถึง 10 วัน ซึ่งก่อนที่คุณจะกลับบ้าน แพทย์จะนัดหมายวันที่คุณต้องกลับมาดึงด้ายออกอีกที
รอยเย็บของคุณจะถูกปิดด้วยแผ่นกาวติดแผลทั่วไป อย่างแผ่นพลาสเตอร์ขนาดใหญ่ พยายามอย่าให้แผ่นปิดดังกล่าวเปียกชื้น และหลังจากที่แพทย์ดึงด้ายออกแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องติดแผลและสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
เวชกรรมฟื้นฟู
ทีมรักษาของคุณจะพยายามช่วยให้คุณลุกขึ้นเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยส่วนมากมักเป็นหนึ่งวันหลังการผ่าตัด เนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่มีกิจกรรมอะไรจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในขาของคุณได้ (DVT) อีกทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกายจะช่วยให้กระบวนการฟื้นตัวเร็วขึ้น
หลังการผ่าตัด นักกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกายให้คุณ พวกเขาจะสอนวิธีออกกำลังกายง่าย ๆ ให้คุณนำไปปฏิบัติที่บ้าน
กลับบ้าน
คุณจะสามารถกลับบ้านได้ประมาณ 1 หรือ 4 หลังการผ่าตัด ระยะเวลาที่คุณต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับประเภทการผ่าตัดกับสุขภาพโดยรวมของคุณ
เมื่อคุณกลับถึงบ้าน ควรทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างระมัดระวังพร้อมกับพยายามเพิ่มระดับกิจกรรมของคุณทุกวัน บางคนอาจต้องการความช่วยเหลือที่บ้านอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์หลังการผ่าตัด
ความกระปรี้กระเปร่าจะช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องยกของหนัก หรือต้องทำการบิดงอร่างกายไปมาจนกว่าคุณจะหายเป็นปกติ
คุณอาจต้องกลับไปโรงพยาบาลเพื่อไปรับการตรวจติดตามผลภายหลังการผ่าตัดไม่กี่สัปดาห์ซึ่งแล้วแต่กำหนดการที่แพทย์แจ้งไว้กับคุณ
การทำงาน
เวลาที่คุณสามารถกลับไปทำงานได้นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความเร็วในการรักษาตัวเองของคุณเอง ผู้คนส่วนมากสามารถกลับไปทำงานได้ภายหลังผ่าตัด 4 ถึง 6 สัปดาห์ หากเป็นงานที่ไม่จำต้องใช้แรงมากนัก หากงานของคุณเกี่ยวกับการขับรถ ยกของหนัก หรือกิจกรรมใช้แรงอื่น ๆ ควรหยุดงานไว้อย่างมากสุด 12 สัปดาห์
การขับรถ
ก่อนที่จะเริ่มขับรถ คุณต้องไม่ใช้ยาแก้ปวดใด ๆ ก่อนเป็นอันขาด เนื่องจากฤทธิ์ยาจะทำให้คุณง่วงนอนได้ คุณควรจัดที่นั่งขับรถให้มีความสบายที่สุด โดยผู้คนส่วนมากจะพร้อมขับรถภายหลังการผ่าตัด 2 ถึง 6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของการผ่าตัด
ความเสี่ยง
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดแบบอื่น ๆ การผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทก็มีความเสี่ยงจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นกัน
อาการป่วยกลับมา
การผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทเป็นกระบวนการรักษาที่นับว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 3 กลับมามีอาการอีกครั้งภายหลังการผ่าตัด หรือมีอาการอีกครั้งหลังจากผ่านไปไม่กี่ปี
การกลับมาของอาการอาจเกิดมาจากความอ่อนแอของกระดูกสันหลัง มีหมอนรองกระดูกเลื่อนอีกจุด หรือมีตำแหน่งที่กระดูกใหม่หรือกระดูกอ่อนเข้าไปกดทับไขสันหลัง อีกทั้งภายหลังการผ่าตัดก็อาจสร้างบาดแผลที่อยู่รอบเส้นประสาทขึ้นได โดยจะแสดงอาการคล้ายกับเส้นประสาทถูกกดทับ
ในตอนแรก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัดอย่างกายภาพบำบัด แต่หากยังคงมีอาการอยู่ อาจต้องทำการผ่าตัดเพิ่มเติม แต่ต้องพึงจำไว้ว่าการผ่าตัดซ้ำจะมีความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าครั้งแรก
ณ ตอนนี้ยังไม่มีการรักษาบาดแผลรอบเส้นประสาท คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้จากการออกกำลังกายเป็นประจำตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด
การติดเชื้อ
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมักเกิดบริเวณที่แพทย์กรีดเปิดผิวหนังเข้าไป คาดกันว่าภาวะนี้เกิดกับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาท 1 คนจาก 25 คน และสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
ลิ่มเลือด
มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ (DVT) ที่ขาหลังการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทอยู่
โดย DVT จะสร้างความเจ็บปวดและทำให้ขาบวมได้ และในกรณีที่หายาก อาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงที่เรียกว่าลิ่มเลือดอุดตันในปอดได้อีกด้วย
ความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจะลดลงอย่างมากหากผู้ป่วยคอยเคลื่อนไหวไปมาตลอดระยะเวลาพักฟื้น หรือสวมถุงเท้าป้องกันการกดทับที่ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของเลือด
การฉีกขาดของเยื่อดูรา
มีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาดขึ้นจากกระบวนการผ่าตัดสันหลังทุกประเภท รวมไปถึงการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทเช่นกัน โดยดูราคือถุงน้ำของเนื้อเยื่อที่ปกคลุมไขสันหลังและเส้นประสาทสันหลังไว้
ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนของโอกาสการฉีกขาดของถุงน้ำนี้ แต่ก็คาดประมาณกันว่าอยู่ที่ระหว่าง 2 ถึง 17% ของการผ่าตัดกระดูกสันหลังทั้งหมด
หากแพทย์ไม่ได้ตรวจเจอการฉีกขาดของดูราระหว่างการผ่าตัด จะทำให้น้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง (CSF) เกิดรั่วไหลภายหลังการผ่าตัดได้
ศัลยแพทย์จะทราบดีถึงความเสี่ยงข้อนี้ และจะจัดการกับการฉีกขาดด้วยการเย็บปิด ในกรณีส่วนมากจะสามารถซ่อมแซมได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง แต่ในกรณีน้อย ๆ ที่เกิดภาวะนี้ขึ้นต้องมีการผ่าตัดแก้ไขขึ้น
การรั่วไหลของน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง
ระหว่างการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาท มีความเสี่ยงที่เยื่อบุของเส้นประสาทจะเสียหายโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งก่อให้เกิดการรั่วซึมของน้ำในโพรงสมองและไขสันหลังขึ้น
หากปัญหานี้ถูกตรวจพบระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะทำการเย็บปะและซ่อมแซมให้ได้ แต่หากเป็นการรั่วซึมขนาดเล็กจนตรวจพบอีกทีคือหลังการผ่าตัดแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และมีของเสียซึมตามบาดแผล ทำให้ต้องมีการผ่าตัดรักษาเพื่อซ่อมแซมขึ้น
ปวดใบหน้าและสูญเสียการมองเห็น
เนื่องจากว่าคุณต้องนอนคว่ำหน้า โดยมีหน้าผากและคางของคุณรองรับน้ำหนักศีรษะของคุณตลอดกระบวนการผ่าตัด
แม้ว่าวิสัญญีแพทย์จะคอยระมัดระวังไว้แล้วก็ตาม แต่คนไข้หลายคนก็จะฟื้นมาพร้อมอาการปวดบนใบหน้าอยู่ดี ในบางกรณีอาการปวดจะแสดงออกมาเป็นจุดสีแดงรอบหน้าผากหรือคางซึ่งจะคงอยู่เช่นนี้นานหลายวัน
ในกรณีที่หายากมาก ๆ (ประมาณ 1 ใน 30,000 เคส) ศีรษะของคนไข้จะไหลจากที่จนไปกดทับที่ลูกตาแทนหน้าผากกับคาง ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการมองเห็นได้
การบาดเจ็บที่ประสาทและอัมพาต
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทหนึ่งคนจาก 20 – 100 คนจะมีอาการชาหรือขาอ่อนแรงที่ขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่าตัด
ภาวะอัมพาตเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ร้ายแรงมาก โดยภาวะแทรกซ้อนนี้จะเกิดเป็นผลลัพธ์ของการผ่าตัดเอง โดยคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นน้อยกว่า 1 ครั้งจาก 300 ครั้ง
การบาดเจ็บที่ประสาทและภาวะอัมพาตสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น:
- มีเลือดออกภายในกระดูกสันหลัง
- การรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง
- ความเสียหายของหลอดเลือดที่เชื่อมไปยังไขสันหลัง
- ความเสียหายที่เส้นประสาทจากการผ่าตัด
การเสียชีวิต
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดแบบอื่น ๆ ผู้เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาทเองก็มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตระหว่างกระบวนการได้ แม้ว่าจะหายากมากก็ตาม โดยสามารถเกิดมาจากลิ่มเลือดอุดตัน แพ้ยาระงับประสาท และสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด
คาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากการผ่าตัดแก้ไขกระดูกกดทับเส้นประสาท 1 คนจากการผ่าตัดรักษาภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบ 350 ครั้ง และจากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเคลื่อน 1 คนจากการผ่าตัด 700 ครั้ง
ความเสี่ยงของผู้เข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบมีมากกว่าการรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อน เนื่องมาจากผู้ป่วยภาวะนี้ส่วนมากมีอายุมากและมีสุขภาพแย่กว่านั่นเอง