เนื้องอกที่ตับ

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เนื้องอกที่ตับ

ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย ตั้งอยู่ทางด้านขวาของกระเพาะอาหาร และทางด้านขวาของช่องท้อง ตับนั้นมีหน้าที่หลายอย่างตั้งแต่การกำจัดสารพิษในเลือด การสร้างน้ำดี (ซึ่งช่วยให้อาหารแตกตัวระหว่างการย่อยอาหาร) และการเก็บรักษาพลังงานในรูปแบบของน้ำตาลที่เรียกว่าไกลโคเจน

เนื้องอกนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีการเจริญที่ผิดปกติและทำให้เกิดก้อน หากมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ตับก็จะทำให้ตับนั้นทำงานผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ประเภทของเนื้องอก

เนื้องอกนั้นอาจจะเป็นเนื้อดีหรือมะเร็งก็ได้

เนื้องอกที่เป็นเนื้อดี ส่วนใหญ่ในตับนั้นมักจะพบตั้งแต่กำเนิด ส่วนมากเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติขณะที่ทารกนั้นอยู่ในครรภ์ ตัวอย่างเนื้องอกในกลุ่มนี้เช่น mesenchymal hamartomas, adenomas, และ hemangiomas เนื้องอกเหล่านี้อาจจะใช้การติดตามเป็นระยะ หรืออาจจะผ่าตัดออกและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมหลังจากนั้น

มะเร็งตับ นั้นพบได้น้อยกว่าแต่ต้องใช้การรักษาที่มากกว่าและรุนแรงกว่าเช่นยาเคมีบำบัดและการผ่าตัด

มะเร็งตับ

  • Hepatoblastoma เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก (ส่วนมากมักมีอายุน้อยกว่า 3 ปี) หากพบตั้งแต่ระยะแรกมักจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการผ่าตัดได้ดี
  • Hepatocellular carcinoma นั้นพบได้บ่อยในผู้ใหญ่แต่ก็สามารถพบได้ในเด็กโตเช่นกัน มะเร็งชนิดนี้มักจะผ่าตัดออกได้ลำบาก และมักไม่ค่อยตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดทำให้สามารถรักษาได้ยาก

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ แต่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด hepatoblastoma ประกอบด้วยการเป็นโรค Beckwith-Wiedemann syndrome (ความผิดปกติที่ทำให้ร่างกายนั้นเจริญเติบโตมากกว่าปกติ), familial adenomatous polyposis (ภาวะที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อจำนวนมากภายในลำไส้ใหญ่) เพศชาย และการมีน้ำหนักตัวแรกคลอดที่น้อย

โรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิด hepatocellular carcinoma นั้นประกอบด้วยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี หรือภาวะที่ทำให้เกิดตับแข็งเช่น hereditary hemochromatosis และโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกันของตัวเอง 

อาการที่พบ

ในระยะแรก เด็กที่มีเนื้องอกที่ตับนั้นมักจะไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อก้อนนั้นมีขนาดโตขึ้นอาจจะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ได้

  • คลำได้ก้อนที่ท้องหรือท้องบวม
  • ปวดที่บริเวณท้องด้านขวาบริเวณตำแหน่งของตับ (หากเนื้องอกนั้นกดเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้ออาจทำให้มีอาการปวดร้าวไปด้านบนและหลังได้)
  • เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ
  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
  • อาเจียน
  • ตัวเหลืองตาเหลือง 

การวินิจฉัย

แพทย์ที่สงสัยว่าผู้ป่วยนั้นมีเนื้องอกในตับจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและส่งตรวจเพิ่มเติมต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

การตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่นการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจเหล่านี้จะทำให้ระบุขนาดและตำแหน่งของก้อนและทำให้พบว่ามะเร็งนั้นมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่

การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นการตัดส่วนหนึ่งของก้อนเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้

การตรวจเลือด เช่นการดูจำนวนเม็ดเลือด การทำงานของตับ และสารเคมีในเลือดซึ่งจะช่วยประเมินการทำงานของตับและอวัยวะอื่นๆ หากแพทย์คิดว่าเนื้องอกนั้นเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมอาจมีการส่งตรวจทางพันธุกรรมเพิ่มเติมด้วย

การรักษา

การรักษามะเร็งที่ตับนั้นจะขึ้นกับระยะของการดำเนินโรค ซึ่งเป็นการประเมินขนาดของก้อน ความยากง่ายในการผ่าตัดและการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

ร่วมกับการประเมินอายุและสุขภาพโดยรวมของเด็กก่อนที่จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสม แผนการรักษานั้นอาจจะประกอบด้วยตัวเลือกต่อไปนี้รวมกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

การผ่าตัด เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งนั้นมักจะรักษาด้วยการผ่าตัดออก มะเร็งนั้นอาจจะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อตัดเซลล์มะเร็งออกให้ได้มากที่สุด ข้อดีอย่างหนึ่งของตับก็คือแม้ว่าบางส่วนจะถูกตัดออกไปแต่ส่วนที่เหลือก็สามารถงอกกลับขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งตับเป็นอวัยวะเดียวที่สามารถทำอย่างนี้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้ยาเคมีบำบัดนั้นเป็นการรักษาเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ส่วนมากมักจะใช้ยาหลายชนิดรวมกันเพื่อโจมตีเซลล์มะเร็งจากหลายทิศทาง วิธีนี้สามารถใช้ในการรักษาโรค hepatoblastoma ได้ อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นระหว่างการรักษาแต่มักจะลดลงเมื่อสิ้นสุดการรักษา

การฉายแสง การฉายแสงนั้นเป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งในบริเวณที่จำเพาะ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ไม่บ่อยในการการรักษา hepatoblastoma

การปลูกถ่ายตับ หากเนื้องอกนั้นไม่สามารถตับออกได้โดยไม่ทำให้ตับสูญเสียการทำงาน อาจจำเป็นต้องใช้การเปลี่ยนตับ เด็กส่วนใหญ่ที่ทำการเปลี่ยนตับนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและมีสุขภาพที่ดี แต่ต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมาตรวจติดตามเป็นประจำเพื่อประเมินการทำงานของตับ

การจัดการกับอารมณ์

ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นมะเร็งนั้นอาจจะมีความเครียดสูง คุณสามารถปรึกษาทีมแพทย์ได้ทุกเรื่อง พวกเขาพร้อมที่จะช่วยดูแลคุณในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Liver Cancer?. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/liver-cancer/about/what-is-liver-cancer.html)
Liver cancer: Causes, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172408)
Liver Cancer Causes, Survival Rate, Tumor Types, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/understanding-liver-cancer-basic-information)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป