กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แผลที่ริมฝีปาก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

แม้ไม่รุนแรง แต่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและทำให้ขาดความมั่นใจได้ ควรรีบรักษาอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 28 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แผลที่ริมฝีปาก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในช่วงอากาศหนาวเย็นและแห้งมักมาพร้อมกับริมฝีปากที่แห้ง แตก ลอกเป็นขุย จนบางครั้งเป็นแผลและมีเลือดซึม จึงควรปกป้องริมฝีปากให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ด้วยการใช้ลิปมัน ขี้ผึ้ง หรือปิโตรเลียมเจลทาบ่อยๆ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ
  • แผลที่ริมฝีปากซึ่งเกิดจากโรคเริมสามารถบรรเทาความรุนแรงได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวด ยาควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ประคบเย็นบริเวณที่ปวด ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และทาขี้ผึ้งเพื่อบรรเทาอาการปวด และหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อ 
  • แผลที่ริมฝีปากซึ่งเกิดจากโรคปากนกกระจอกที่มักพบในเด็กและผู้สูงอายุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดวิตามินบีและธาตุเหล็ก การสะสมของเชื้อรา สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา การทำความสะอาดแผลที่ริมฝีปาก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดรอบแผล
  • ควรดูแลตนเองให้ดีทั้งในเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรักษาความสะอาด สุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ดื่มน้ำสะอาดมากๆ บำุงริมฝีปากให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

แผลที่ริมฝีปากเป็นแผลที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บ แสบจนแทบไม่อยากขยับปาก เวลากินอะไรก็เจ็บแสบไปหมด ยิ่งถ้าเป้นของเปี้ยว ของเผ็ดยิ่งกินไม่ได้เลย

นอกจากแผลที่ริมฝีปากจะทำให้เกิดความทรมานเหล่านี้แล้ว ยังทำให้เราขาดความมั่นใจไปด้วยเวลาต้องไปพบปะกับคนอื่น เพราะทำให้เราดูคล้ายกับคนที่ไม่ได้ดูแลสุขอนามัยไม่ดี หรือมีการติดเชื้อบางอย่างเกิดขึ้น

มาดูกันว่า แผลที่ริมฝีปากเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วเราจะรักษาและป้องกันได้อย่างไร

สาเหตุของแผลริมฝีปากแตก

ริมฝีปากแห้งแตก

อากาศหนาวเย็นและแห้งมักมาพร้อมกับริมฝีปากที่แห้ง แตก ลอกเป็นขุย จนบางครั้งเป็นแผลและมีเลือดซึมออกมาตามรอยแตกซึ่งพบได้บ่อยๆ หากไม่ดูแลริมฝีปากให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ 

นอกจากอากาศเย็นและแห้งแล้ว การแพ้เครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก ก็อาจทำให้เกิดปากแตก ลอก และเป็นแผลได้เช่นกัน

การรักษา

  • หลีกเลี่ยงการกัดและเลียริมฝีปาก รวมถึงไม่แกะริมฝีปากที่ลอก เพราะจะทำให้บาดแผลระคายเคืองยิ่งกว่าเดิม
  • ใช้ลิปมัน ขี้ผึ้ง หรือปิโตรเลียมเจล ทาที่ริมฝีปากบ่อยๆ เพื่อให้ความชุ่มชื้น จะช่วยให้สภาพปากที่แห้งแตกดีขึ้นได้

การป้องกัน

  • ดูแลริมฝีปากให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในอากาศหนาวเย็น โดยการดื่มน้ำสะอาดมากๆ ทาลิปมัน ขี้ผึ้ง หรือปิโตรเลียมเจลเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ลิปสติก หรือน้ำยาทำความสะอาดเครื่องสำอาง หากเกิดการระคายเคืองให้หยุดใช้ทันที และหากมีอาการแพ้รุนแรงให้รีบไปพบแพทย์

โรคเริม (Herpes)

เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ทำให้เกิดแผลพุพอง หรือตุ่มน้ำขึ้นที่อวัยวะเพศและที่ริมฝีปากด้วย แผลที่เกิดขึ้นจะมีอาการเจ็บปวด แสบร้อน 

แม้อาการในแต่ละครั้งจะทุเลาลงได้จนดูเกือบเป็นปกติ แต่เชื้อไวรัสนี้ก็จะไม่หมดไปจากร่างกายแต่จะไปซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทแทน เมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง แผลดังกล่าวก็จะขึ้นมาใหม่ 

โรคเริมติดต่อได้ทางการสัมผัสแผลที่มีเชื้ออยู่ รวมถึงการจูบ การมีเพศสัมพันธ์ และออรัลเซ็กส์ แผลพุพองจากเชื้อเริมอาจลุกลามไปบริเวณรอบๆ อวัยวะเพศและต้นขาด้านใน ดังนั้นแม้จะสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ก็อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเริมได้

การรักษา

  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแผลพุพองจะหายได้เองภายใน 2-6 สัปดาห์ แต่หากร่างกายอ่อนแอ แผลที่ริมฝีปาก หรืออวัยวะเพศก็อาจเกิดขึ้นได้อีก
  • ใช้ยาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ได้แก่ ยาอะไซโคลเวียร์ (acyclovir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) ซึ่งมีทั้งยารับประทานและยาทา ใช้สำหรับลดความรุนแรงของอาการ และป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
  • รักษา หรือบรรเทาอาการด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ประคบเย็นบริเวณที่ปวด ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และทาขี้ผึ้งเพื่อบรรเทาอาการปวด 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด 

หากไม่แน่ใจว่า แผลที่ริมฝีปากซึ่งเกิดจากโรคเริมจะบรรเทาความรุนแรงได้อย่างไรจึงจะได้ผล เชื้อโรคไม่แพร่กระจาย สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้แล้ววันนี้ 

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ โดยไม่สัมผัสกับแผลพุพองจากโรคเริม งดการมีเพศสัมพันธ์ ออรัลเซ็กส์ การจูบ รวมถึงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเริม และควรดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) 

เป็นโรคที่มักพบในเด็กและผู้สูงอายุ โดยจะมีการระคายเคืองแสบร้อนที่มุมปาก ปากแห้งแตก เป็นแผล มีเลือดออก บางครั้งอาจมีตุ่มพองที่มุมปาก มีของเหลวไหลออกมา หรือแตกแห้งเป็นสะเก็ด จนทำให้รับประทานอาหารได้ลำบาก 

ปากนกกระจอกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำลายจากการเลียปากหมักหมมอยู่ที่มุมปาก กลายเป็นที่สะสมของเชื้อรา จนทำให้ริมฝีปากเกิดแผลติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่ขาดวิตามินบีและธาตุเหล็ก ก็อาจเป็นโรคปากนกกระจอกได้เช่นกัน

การรักษา

  • ใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น ยาไมโคนาโซล (Miconazole) ยาไนสเตติน (Nystatin) และยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งมีทั้งยาทาและยารับประทาน สำหรับกำจัดเชื้อราที่มุมปาก เพื่อรักษาแผลติดเชื้อ
  • ทำความสะอาดแผลที่ริมฝีปาก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดรอบแผล และหมั่นล้างทำความสะอาดบริเวณแผลบ่อยๆ
  • ใช้ยาประเภทสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาการอักเสบ โดยยาดังกล่าวควรใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ทาลิปมัน ขี้ผึ้ง หรือปิโตรเลียมเจล เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปาก

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการเลีย หรือกัดริมฝีปาก เพราะจะทำให้ปากแห้ง และแตกเป็นแผลได้ง่าย
  • ทาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปาก เช่น ลิปมัน เป็นประจำ
  • หมั่นทำความสะอาดช่องปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะในผู้ที่ใส่ฟันปลอม และผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเชื้อราในช่องปาก

แม้ปัญหาแผลที่ริมฝีปากอาจไม่ได้ร้ายแรงที่ก็บั่นทอนคุณภาพชีวิตและความมั่นใจลงไปได้ ดังนั้นควรดูแลตนเองให้ดีทั้งในเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรักษาความสะอาด สุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และพักผ่อนให้เพียงพอ 

หากไม่แน่ใจว่า แผลที่ริมฝีปากมีความรุนแรงระดับไหน ต้องดูแลรักษาอย่างไร สามารถใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้แล้ววันนี้ สะดวกสบายอยุ๋ที่ไหนก็ปรึกษาแพทย์เบื้องต้นได้ง่ายๆ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
A Persistent Lip Ulcer. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2018/0801/p185.html)
Mouth ulcer. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/mouth-ulcer/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป