Learning Disorder (LD) คืออะไร?

รู้จัก เข้าใจ เพื่อดูแลเด็ก LD ได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากเด็กปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Learning Disorder (LD) คืออะไร?

Learning Disorder (LD) คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นโรคที่เกิดในเด็กวัยเรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือสูงกว่า 

คุณครู หรือผู้ปกครองหลายท่านมักเข้าใจผิดคิดว่า เด็ก LD คือ เด็กเรียนช้า หรือมีเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ แต่จริงๆ แล้ว LD เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเรียนทำให้ผลการเรียนลดต่ำลง ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวในชั้นเรียน เป็นภาวะบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมักแสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ การใช้เหตุผล รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อมือและทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

LD เกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดโรค LD ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาสามารถสรุปสาเหตุ ได้ 3 ปัจจัยดังนี้

  • ความผิดปกติของสมองซีกซ้าย  

สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่ควบคุมการแสดงออกทางด้านภาษา เด็กปกติสมองซีกซ้ายจะมีขนาดโตกว่าสมองซีกขวา แต่ในเด็ก LD จะมีสมองสองซีกเท่ากัน จากการศึกษาพบว่า เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ เด็กที่มีไข้สูง หรือภาวะสมองขาดออกซิเจนต่างมีภาวะเสี่ยงต่อโรค LD

  • พันธุกรรม 

จากการศึกษาพบว่าเด็ก LD มีความความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 และสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับอาการ LD แต่อาจไม่ส่งผลต่อการเรียน การทำงาน และพฤติกรรมการปรับตัวที่เด่นชัดนัก

  • สิ่งแวดล้อม  

เช่น การได้รับพิษตะกั่วปนเปื้อนในอาหาร อากาศ น้ำ ซึ่งพิษตะกั่วจะทำลายเซลล์สมองบางส่วน หรือจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอทำให้พัฒนาการทางสมองไม่สมบูรณ์

LD แยกตามอาการสำคัญ 

  • ด้านคำนวณหรือคณิตศาสตร์ (Arithmetic) 

ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขและจำนวน เช่น ไม่รู้ค่าของเลขหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยฯลฯ นับเลขไปข้างหน้า หรือถอยหลังไม่ได้ จำสูตรคูณไม่ได้ ไม่สามารถทำตามขั้นตอนคูณ-หารได้  โดยเฉพาะเลขหลายหลัก มีปัญหาการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ด้านการอ่าน (Reading) 

มีความยากลำบากในการอ่าน เช่น อ่านช้า อ่านคำต่อคำ อ่านข้ามคำ อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันวรรณยุกต์ไม่ได้ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้ อ่านแล้วจับประเด็น หรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้

  • ด้านการเขียนสะกดคำ (Spelling) 

เด็กมักเขียนตัวอักษร หรือตัวเลขสลับกลับกัน เช่น ม เป็น น  ค เป็น ด  p เป็น q  d เป็น b, 6 เป็น 9 และไม่สามารถเขียนพยัญชนะ ก ถึง ฮ ได้ แต่สามารถบอกให้เขียนเป็นตัวๆ ได้

จะช่วยเด็ก LD ได้อย่างไร

ผู้ปกครอง คุณครู ครูการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ควรมีบทบาทในการช่วยเหลือเด็ก LD ร่วมกัน ดังนี้

  • ฝึกให้เด็กอ่าน เขียนพยัญชนะควบคู่ไปกับการดูภาพประกอบ ซึ่งเป็นวิธีฝึกจำแบบเชื่อมโยง เด็กจะสามารถจดจำคำซึ่งสอดคล้องกับภาพและเสียงได้ง่ายขึ้น
  • สร้างแรงจูงใจให้เด็กสนุกกับการอ่าน เริ่มจากหนังสือนิทาน การ์ตูน ข่าว สารคดี แล้วค่อยๆ พัฒนาสู่เนื้อหาที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อฝึกให้เด็กได้จับใจความสำคัญของเรื่องได้ง่ายขึ้น
  • ฝึกการคิดเชิงเหตุผลบ่อยๆ โดยใช้ศิลปะ หรือเกมช่วยให้เกิดการเรียนรู้
  • สร้างกำลังใจในการเรียนโดยการให้รางวัล เช่น คำชมเชยเมื่อเด็กทำได้สำเร็จ หรือเด็กได้พยายามทำในสิ่งนั้นอย่างเต็มความสามารถ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
  • การจัดระบบชั้นเรียนที่เหมาะสมซึ่งจำเป็นมากที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะทาง เช่น การเข้าชั้นเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ  การเข้าชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
  • เข้าคอร์สปรับพฤติกรรมกับนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาพิเศษ

โรค LD สามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆ ที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยให้มีสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นายแพทย์เทอดพงศ์ ทองศรีราช, Learning disorder (ความบกพร่องในการเรียนรู้) (http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161215143257.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่ม
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

วิธีประสบความสำเร็จสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

อ่านเพิ่ม