การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

พ่อแม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงการวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นอาจจะพบกับเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบจำนวนมาก รวมทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และอีกหลายอย่าง ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีระบบในการวินิจฉัยภาวะนี้ที่แตกต่างกันอีกด้วย การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นไม่ได้ใช้วิทยาศาสตร์โดยตรง ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีที่ดีที่สุดในการระบุว่ามีภาวะนี้จริงหรือไม่

ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ชวนให้สับสน ?

  • ประการแรก คือ มีระบบในการวินิจฉัยที่ใช้อยู่หลายระบบ วิธีการและมาตรฐานที่ใช้วินิจฉัยภาวะนี้ในโรงเรียนรัฐบาลนั้นแตกต่างจากที่ทำโดยผู้ประเมินในภาคเอกชน
  • ประการที่สอง มีความแตกต่างในการวินิจฉัยภาวะนี้ในโรงเรียนรัฐบาลและนอกโรงเรียน ผู้ประเมินในโรงเรียนและภาคเอกชนนั้นอยู่ภายใต้หน่วยงานของภาครัฐที่แตกต่างกัน มีผู้บริหารและกฎระเบียบที่ระบุถึงภาวะนี้ไว้แตกต่างกัน
  • กฎหมายว่าด้วยผู้ที่มีความบกพร่องทางการศึกษาได้ควบคุมการวินิจฉัยภาวะนี้และความผิดปกติอื่น ๆ ที่พบในโรงเรียนรัฐบาลโดยทั่วไป และในส่วนข้อกำหนดเฉพาะอื่น ๆ นั้นเป็นหน้าที่ของรัฐในการให้คำนิยาม ทำให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละรัฐ เด็กที่เข้าข่ายว่ามีภาวะนี้ในรัฐหนึ่งอาจไม่เข้าเกณฑ์ในอีกรัฐหนึ่งได้ ซึ่งส่งผลต่อครอบครัวที่มีการย้ายจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่ง
  • ข้อกำหนดและระบบในการวินิจฉัยที่ควบคุมผู้ประเมินในภาคเอกชน เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนนั้นระบุรายละเอียดน้อยกว่าทางภาครัฐด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น คู่มือการวินิจฉัยและประเมินภาวะความผิดปกติทางจิต (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders – DSM) นั้นก็มักใช้เกณฑ์เชิงคุณภาพมากกว่าวิธีทางสถิติ ทำให้ความเห็นของผู้ประเมินนั้นมีความสำคัญมากกว่าระบบในการวินิจฉัยภาวะนี้
  • โดยส่วนมาก ภาวะบกพร่องทางการเรียนที่ได้รับการประเมินจากภาครัฐนั้นใกล้เคียงกันเมื่อเปรียบเทียบกับแต่ละโรงเรียนภายในรัฐเดียวกัน แต่ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
  • แต่ละรัฐอาจมีมาตรฐานและการปฏิบัติในการวินิจฉัยภาวะนี้ที่แตกต่างกัน ทำให้มีโอกาสที่เด็กที่ผ่านเกณฑ์ในรัฐหนึ่งอาจไม่ผ่านเกณฑ์ในอีกรัฐได้ ระบบโรงเรียนรัฐบาลนั้นมักใช้เกณฑ์เหล่านี้ร่วมกัน
  • การประเมินอย่างเป็นทางการ โดยใช้ความแตกต่างระหว่างผลสำเร็จทางการเรียนเพื่อกำหนดว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่ รวมทั้งความรุนแรงของภาวะนี้
  • วิธีในการตอบสนองต่อการแก้ไข หากภาวะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนของเด็ก
  • ผู้ประเมินในภาคเอกชนมักใช้คู่มือในการวินิจฉัยและสถิติ (Diagnostic and Statistical Manual – DSM-IV) หรือระบบ International Statistical Classifications of Diseases (ICD-10) เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะนี้
  • ทั้งระบบ ICD และ DSM นั้นให้น้ำหนักกับความเห็นของผู้ประเมินอย่างมาก ซึ่งอาจมีความแตกต่างระหว่างผู้ประเมินแต่ละคน คำศัพท์ที่ใช้เรียกและอธิบายภาวะนี้ในระบบดังกล่าวก็มีความแตกต่างจากที่ใช้ในโรงเรียนรัฐบาล

จากความหลากหลายในระบบการวินิจฉัยทำให้พ่อแม่บางคนอาจสงสัยว่าระบบไหนจะเป็นระบบที่ดีและแม่นยำที่สุด นอกจากนั้นพวกเขาอาจจะสงสัยว่าพวกเขาควรจะมองหาผู้ประเมินที่นอกเหนือไปจากโรงเรียนหรือเข้ารับการประเมินกับผู้ประเมินในภาคเอกชนหรือไม่ คำตอบของคำถามเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล หากคุณต้องการรู้ว่าลูกของคุณจะเข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการศึกษาพิเศษหรือไม่ การเข้ารับการประเมินผ่านโรงเรียนนั้นอาจจะดีกว่าเนื่องจากผลที่ได้นั้นจะรับรองได้ว่ามันเข้ากับกฎของโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ผู้ประเมินภายนอกโรงเรียนอาจสงสัยว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นและอาจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินของโรงเรียนซึ่งอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นได้ ตัวอย่างเช่น วิธี Augmentative Communication นั้นเป็นการประเมินแบบเฉพาะด้านซึ่งอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ พ่อแม่ควรรู้ว่าโรงเรียนอาจจะพิจารณาข้อมูลที่มาจากการประเมินภายนอกเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไหร่จึงจะสามารถวินิจฉัยภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ ?

  • กฎหมายว่าด้วยผู้ที่มีความบกพร่องทางการศึกษา (IDEA) นั้นระบุว่าภาวะนี้ไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำจนกว่าเด็กนักเรียนจะได้รับการสอนในวิชาพื้นฐานอย่างเป็นทางการ
  • นักจิตวิทยาส่วนใหญ่แนะนำให้รอจนกระทั่งเด็กมีอายุอย่างน้อย 6 ปีก่อนที่จะประเมินความฉลาดทางสติปัญญาเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่แม่นยำ
  • เด็กนักเรียนจากชนกลุ่มน้อยที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมอาจได้รับประโยชน์จากการได้รับการศึกษาอย่างน้อย 2 ปีก่อนที่จะเข้ารับการทดสอบ นอกจากนั้นกฎนี้ยังอาจใช้ได้ในผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย นี่จะช่วยลดผลของความแตกต่างที่เกิดจากวัฒนธรรมและภาษาที่มีความแตกต่างในการทดสอบ โรงเรียนมักจะให้พ่อแม่ของเด็กนักเรียนที่เพิ่งเรียนภาษาอังกฤษมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลที่เหมาะสมที่สุด
  • หากพ้นช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว การทดสอบความสำเร็จทางการเรียนนั้นจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Process for Diagnosing Learning Disabilities. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/the-process-for-diagnosing-learning-disabilities-3996446)
Types of Tests Used to Diagnose Learning Disabilities. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/learning-disability-tests-in-public-schools-2161894)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

วิธีประสบความสำเร็จสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

อ่านเพิ่ม
Learning Disorder (LD) คืออะไร?
Learning Disorder (LD) คืออะไร?

รู้จัก เข้าใจ เพื่อดูแลเด็ก LD ได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากเด็กปกติ

อ่านเพิ่ม