เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

วิธีประสบความสำเร็จสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เด็กนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้จะสามารถประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

นักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่พวกเขาจะต้องเผชิญได้ด้วยการใช้วิธีการต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในการศึกษาขั้นสูง

มหาวิทยาลัยเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ใหญ่ตอนต้น แต่นอกเหนือจากเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น การหาเพื่อนร่วมห้องและห้องนอนที่ปลอดภัยในราคาที่รับได้แล้ว เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังต้องหาวิธีเพื่ออยู่ภายในสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเรียนรู้สิทธิ์ที่พวกเขามี การพัฒนาวิธีการเรียนและทักษะในการเขียนเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จะทำให้เด็กกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จในระดับมหาวิทยาลัย

อะไรที่ทำให้การเรียนระดับมหาวิทยาลัยแตกต่างจากเดิม

เด็กมหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะไม่มีระบบช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือห้องเรียนพิเศษส่วนบุคคลเหมือนที่พวกเขาเคยมีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายอีกต่อไป แต่เด็กมหาวิทยาลัยที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังคงมีสิทธิ์ภายใต้มาตรา 504 ในความเป็นจริงแล้วการทำความเข้าใจกับสิทธิ์นี้ร่วมกับการทุ่มเทของพวกเขาอาจจะสร้างความแตกต่างของผลการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้

มีกฎเฉพาะของแต่ละรัฐที่ใช้ได้ในมหาวิทยาลัยของรัฐที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การบริการจาก Office for Civil Rights และผลประโยชน์จากความพิการจาก Social Security Administration ซึ่งอาจจะนำมาใช้กับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือการรับรู้อย่างรุนแรง เช่น หูหนวกหรือตาบอด

วิธีการเรียนเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

มหาวิทยาลัยอาจฟังดูน่ากลัวสำหรับนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ พวกเขาอาจหงุดหงิดเมื่อพบว่าต้องอ่านหนังสือจำนวนมากหรืออาจรู้สึกท้าทายเวลาพบกับศาสตราจารย์บางท่าน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันอาจทำให้พวกเขารู้สึกว่าประสบการณ์ของการเรียนมหาวิทยาลัยนี้ชวนให้ท้อถอยได้

ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ควรเริ่มลงมืออย่างรวดเร็วตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยเด็กกลุ่มนี้ต่อสู้กับความท้าทายทางวิชาการได้

  • เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทำความรู้จักกับแหล่งข้อมูลทางการเรียนภายในมหาวิทยาลัย ลองสอบถามเกี่ยวกับการติวพิเศษและความช่วยเหลือทางด้านการเขียนที่มีภายในมหาวิทยาลัยหรือจากหน่วยงานเอกชนภายในพื้นที่ และลองถามว่ามีความช่วยเหลือให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่
  • ทำความรู้จักกับผู้ประสานงานผู้ที่มีความบกพร่องของมหาวิทยาลัย โดยส่วนใหญ่แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาสามารถให้ช่องทางการติดต่อของผู้ประสานงานคนนี้แก่คุณได้ ผู้ประสานงานอาจสามารถบอกแหล่งข้อมูลที่อาจช่วยคุณทางด้านการเรียนและความช่วยเหลืออื่น ๆ
  • ทำความรู้จักกับผู้ตรวจการทางด้านวิชาการ เขาสามารถช่วยคุณต่อรองกับอาจารย์ในเรื่องที่เกี่ยวกับความบกพร่องที่คุณมี หากอาจารย์สร้างความแตกต่างระหว่างคุณกับคนอื่น ๆ หรือทำให้คุณรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม

สรุป

เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่นอกเหนือไปจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยได้

พวกเขาสามารถแจ้งอาจารย์เกี่ยวกับภาวะที่เป็น ค้นหาเด็กคนอื่นที่มีภาวะเดียวกัน และขอรับตัวช่วยหรือหาแหล่งช่วยเหลือทางออนไลน์ผ่านการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือหรือค้นหาบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนที่รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนในมหาวิทยาลัยยังอาจเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตวิทยาบำบัดเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับภาวะดังกล่าวได้อีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tips for College Students With Learning Disabilities. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/learning-disabilities-in-college-2162004)
Learning disabilities and the college student: identification and diagnosis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6677152)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
การวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่ม
Learning Disorder (LD) คืออะไร?
Learning Disorder (LD) คืออะไร?

รู้จัก เข้าใจ เพื่อดูแลเด็ก LD ได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากเด็กปกติ

อ่านเพิ่ม