พิษจากสารตะกั่ว

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
พิษจากสารตะกั่ว

ภาวะพิษจากสารตะกั่ว (Lead poisoning) ส่วนมากเกิดขึ้นจากการที่ตะกั่วปริมาณเล็กน้อยได้เข้าสู่ร่างกายและสะสมมากขึ้นตามกาลเวลาจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ

สาเหตุของภาวะพิษจากสารตะกั่ว

ในทุกวันนี้มนุษย์ส่วนมากจะมีความเสี่ยงต่อภาวะพิษจากสารตะกั่วอยู่น้อยมากเนื่องจากตะกั่วไม่ได้ถูกใช้ในสีทาหรือบรรจุภัณฑ์อาหารแล้ว แต่ผู้คนมักจะได้รับสารตะกั่วจากการดื่มน้ำจากก๊อกตะกั่ว จากถังน้ำตะกั่ว หรือน้ำจากท่อที่มีการใช้ตะกั่วเป็นตัวประกอบ ซึ่งแปลได้ว่ากรณีที่พบส่วนน้อยเป็นผลมาจากแหล่งน้ำดื่มนั่นเอง

อาการของภาวะพิษจากสารตะกั่ว

การต้องสารตะกั่วทำให้เกิดอันตรายมากมายโดยเฉพาะกับเด็กทารกในครรภ์และเด็กเล็ก เด็กจะดูดซึมสารตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากกระดูกและอวัยวะอื่น ๆ ของพวกเขายังคงอยู่ในช่วงเจริญเติบโตอยู่ ซึ่งจะทำให้สารตะกั่วสะสมในร่างกายได้ง่ายขึ้น

สัญญาณและอาการของภาวะพิษจากสารตะกั่วในเด็กเล็กมีดังนี้:

แม้ว่าเด็กจะมีความเสี่ยงต่อผลของภาวะพิษจากสารตะกั่วจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนมากกว่าผู้ใหญ่ และแม้ว่าคุณจะประสบกับอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะป่วยเป็นภาวะพิษจากสารตะกั่ว

อาการของภาวะพิษจากสารตะกั่วในผู้ใหญ่มีดังนี้:

หากในบ้านเรือนของคุณมีการใช้ท่อน้ำดื่มที่เป็นตะกั่ว หรือคุณหรือลูกคุณมีอาการเหล่านี้ให้รีบติดต่อแพทย์ในทันที

การป้องกันภาวะพิษจากสารตะกั่ว

มองหาว่าบ้านเรือนของคุณมีการใช้ท่อตะกั่วหรือไม่ ควรตรวจท่อบริเวณที่สมาชิกในครอบครัวใช้ดื่มกินให้ละเอียด โดยการสังเกตถึง:

ท่อน้ำตะกั่วที่ไม่ทาสีจะมีสีเทาและกลม บริเวณปลายข้อต่อของท่อจะกลมบวม

ท่อตะกั่วจะอ่อนนุ่มและหากขูดเบา ๆ คุณจะเห็นสีประกายสีเงินของเหล็กอยู่ข้างใต้

เมื่อเคาะท่อน้ำตะกั่วจะมีเสียงทึบแทนที่จะเป็นเสียงก้องกังวานเหมือนท่อทองแดงหรือท่อเหล็ก

ตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำส่วนมากจะมีปริมาณตะกั่วน้อยกว่าข้อกำหนด แต่หากผลการกรวดน้ำพบว่ามีปริมาณตะกั่วสูงกว่าที่กำหนด คุณควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามขั้นตอนเพื่อลดและควบคุมระดับตะกั่ว


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lead poisoning and health. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/lead-poisoning-and-health)
Lead Poisoning: Signs, Symptoms, and Complications. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/lead-poisoning-signs-symptoms-and-complications-4160770)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)