กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ปลอดภัยหรือไม่

สตรีมีครรภ์ต้องระวัง กินยาพาราเซตามอลช่วงตั้งครรภ์ มีผลกระทบอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ปลอดภัยหรือไม่

แพทย์พิจารณาแล้วว่า ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ “พาราเซตามอล (Paracetamol)” เป็นยาบรรเทาอาการปวดและยาลดไข้ที่ปลอดภัย ยาอะเซตามิโนเฟนใช้กันอย่างแพร่หลายมานานหลายสิบปี ทั้งยังมีงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า ยาชนิดนี้ปลอดภัยเมื่อนำมาใช้ระหว่างตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ไม่มียาชนิดใดในโลกที่การันตีได้ว่าปลอดภัย 100% สำหรับทุกคน บรรดานักวิจัยเองยังคงศึกษาผลที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการใช้อะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งน่าสนใจที่พบมีดังต่อไปนี้

  • ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของเด็กที่จะเกิดมา บางการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ในปริมาณมาก หรือใช้ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรืออาการไฮเปอร์ในเด็ก โดยหากใช้ในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 8 วัน จะไม่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป
  • โรคหอบหืด การศึกษาวิจัยระบุว่า การใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์อาจเชื่อมโยงกับการเป็นโรคหอบหืดในเด็ก และแน่นอน ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการป่วยของมารดา หรืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาโดยใช้ยาอะเซตามิโนเฟน มีการศึกษาชิ้นหนึ่ง ผู้ศึกษาทำการติดตามเด็กกลุ่มหนึ่งเป็นระยะเวลา 6 ปีหลังคลอด พบว่าไม่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างโรคหอบหืด กับการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ทว่าการศึกษาดังกล่าวยังถือว่าใช้ระยะเวลาติดตามผลสั้นเกินไป ในขณะที่อีกการศึกษาพบว่าการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสที่ลูกจะเกิดมาเป็นหอบหืด ถึง 19 %
  • อาการอัณฑะค้างในท้อง (ทองแดง) บางการศึกษาบ่งชี้ว่า การใช้ยาอะเซตามิโนเฟนนานติดต่อกันเกินกว่า 4 สัปดาห์ โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เด็กผู้ชายเกิดมาพร้อมกับอาการอัณฑะค้างในท้อง หรือลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไม่ลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ ในขณะที่งานวิจัยอีกชิ้น แทบจะไม่พบว่ายามีความสัมพันธ์กับการเกิดทองแดงแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่เชื่อว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องปฏิเสธการใช้ยาอะเซตามิโนเฟน แต่หากคุณแม่ต้องการบรรเทาอาการปวดใดๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ และอาจดีกว่าหากใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ยาในปริมาณมากเกินกว่ากำกับไว้ฉลากยาหรือแพทย์แนะนำ เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อตับ ทั้งของคุณแม่เองและของลูกน้อยในครรภ์

นอกจากนี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ดังต่อไปนี้

การพิจารณาการใช้ยาขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และโรคประจำตัวของคุณแม่ด้วย เช่น หากคุณแม่เป็นโรคตับอักเสบชนิดเอ บี หรือซี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาอะเซตามิโนเฟนวันละไม่เกิน 2 กรัม หรือ 4 เม็ดที่มีปริมาณยา 500 มิลลิกรัม/เม็ด ให้ใช้เพียง 1-2 วัน และหากมีภาวะตับแข็งรุนแรงระยะสุดท้ายละก็ ห้ามใช้ยาอะเซตามิโนเฟนโดยเด็ดขาด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gurney J, Analgesia use during pregnancy and risk of cryptorchidism: a systematic review and meta-analysis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 19 February 2019
Gou X et al., Association of maternal prenatal acetaminophen use with the risk of attention deficit/hyperactivity disorder in offspring: A meta-analysis. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 19 February 2019
Gerald Briggs, Is it safe to take acetaminophen during pregnancy? (https://www.babycenter.com/404_is-it-safe-to-take-acetaminophen-during-pregnancy_1246887.bc), 7 February 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม