กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดคลอดนั้นเหมาะสมกับฉันหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การผ่าตัดคลอดนั้นเหมาะสมกับฉันหรือไม่

ผู้หญิงหลายคนอาจต้องการวางแผนสำหรับการผ่าตัดคลอด (Cesarean section) ด้วยเหตุผลหลายประการ สำหรับบางคน การผ่าตัดคลอดถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดคลอดนั้นก็มีความเสี่ยงอยู่เช่นเดียวกัน

ตราบใดที่ยังไม่มีเหตุฉุกเฉิน ไม่ต้องรีบร้อนในการเลือกชนิดการคลอดที่เหมาะสม ใช้เวลาในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับคุณ ตลอดจนแนวทางการคลอดในอนาคตของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เหตุใดบางคนจำเป็นต้องทำการผ่าตัดคลอด (C-section)

บางครั้งแพทย์จะเปลี่ยนไปใช้ชนิดการคลอดแบบผ่าตัดนี้ หลังจากผู้หญิงเริ่มเข้าระยะคลอดแล้วเกิดมีปัญหาขึ้น

แต่การวางแผนเพื่อผ่าตัดคลอดนั้นมีความแตกต่างจากกรณีฉุกเฉินดังกล่าว แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณอาจพบเหตุผลทางการแพทย์บางอย่างว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการ คลอดชนิดนี้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉินเสียทีเดียว ตัวอย่างเช่นว่า คุณเคยทำการผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อนหน้านี้ หรือคุณมีลูกน้อยที่กำลังวางแนวหัวลำตัวที่ผิดไปจากปกติ คุณและแพทย์ของคุณอาจจะตัดสินใจเป็นกรณีไป และเป็นไปได้ว่าภาวะทางการแพทย์บางอย่าง การคลอดทางช่องคลอดก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่าก็ได้

ผู้หญิงที่มีสุขภาพดีบางคนตั้งใจจะทำการผ่าตัดคลอดเพื่อที่จะสามารถเลือกวันคลอดเองได้ หรือหลีกเลี่ยงการคลอดทางช่องคลอดตามปกติ เหตุผลเหล่านี้ไม่ใช่เหตุผลทางการแพทย์ และแพทย์ของพวกเขาอาจไม่เห็นด้วยกับทางเลือกดังกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญจากแผนกสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาไม่แนะนำให้วางแผนจะผ่าตัดคลอดล่วงหน้าหากไม่จำเป็น พวกเขากล่าวว่าคุณไม่ควรทำการผ่าตัดคลอดใดๆ ก่อนอายุครรภ์จะครบ 39 สัปดาห์ และไม่แนะนำการผ่าตัดคลอดอย่างยิ่งหากคุณต้องการจะมีบุตรหลายคนในอนาคต

การผ่าตัดคลอดมีผลกระทบอย่างไร

แม้ว่าส่วนใหญ่ การผ่าตัดคลอดในปัจจุบันจะมีความปลอดภัยมาก แต่ก็ยังคงเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีขั้นตอนกระทบกระเทือนสูง เวลาในการพักฟื้นของคุณจะนานกว่าการคลอดแบบปกติทั้งในโรงพยาบาลและภายหลังจากนั้น และชนิดการคลอดแบบนี้ก็มีความเสี่ยงต่อคุณและลูกน้อย

โดยคุณมีโอกาสเกิดภาวะดังต่อไปนี้มากขึ้น:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้หญิงบางคนอาจต้องได้รับการถ่ายเลือดระหว่างการทำการผ่าตัด

ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้างที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหลังคลอด ด้วยเหตุดังกล่าว พวกเขาจึงอาจต้องใช้เวลาอยู่ในหน่วยดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวัง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

ผลกระทบต่อชีวิตในภายภาคหน้า

การผ่าตัดคลอดในครั้งต่อๆ ไปมีแนวโน้มที่จะทำได้ยากกว่าครั้งก่อนหน้า หากคุณกำลังวางแผนที่จะมีลูกอีกคนหนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณต้องการเป็นครอบครัวใหญ่ มีลูกหลายๆ คน ให้ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับผลกระทบที่ขั้นตอนการผ่าตัดคลอดนี้ อาจส่งผลต่อแผนการสร้างครอบครัวใหญ่ของคุณ

การผ่าตัดคลอดอาจทำให้การตั้งครรภ์ในอนาคตซับซ้อนขึ้นได้ รกอาจไม่ติดกับมดลูกของคุณในตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่า คุณจะมีโอกาสเกิดเลือดออกมากขึ้นและอาจต้องทำการผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) นอกจากนี้ แผลเป็นในบริเวณมดลูกของคุณมีโอกาสฉีกขาดออกจากกันได้ด้วย

ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่คุณต้องทำการผ่าตัดคลอด และสิ่งที่เกิดขึ้นในการผ่าตัดจริงๆ คุณอาจจะสามารถทำการคลอดบุตรทางช่องคลอดตามปกติในภายหลังได้ในบางกรณี อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเคยทำการผ่าตัดคลอดมามากกว่าหนึ่งครั้ง การคลอดตามธรรมชาตินั้นอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเท่าใดนัก

เด็กที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ และโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

พูดคุยกับแพทย์ หรือพยาบาลผดุงครรภ์เกี่ยวกับเหตุผลที่พวกเขาคิดว่าคุณควรได้รับการผ่าตัดคลอด ถ้าขนาดของทารกเป็นเหตุผลหลัก ให้สอบถามว่าการประมาณน้ำหนักตัวของทารกเป็นเท่าไร และอย่างไร ลองปรึกษาว่าคุณมีทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหาหรือไม่

คุณจะสามารถรอเพื่อได้รับการผ่าตัดคลอดจนกว่าอายุครรภ์จะถึง 39 หรือ 40 สัปดาห์ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาแนะนำได้หรือไม่

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดกับคุณและทารกถ้าคุณไม่ได้รับการผ่าตัดคลอด

หากการมีบุตรหลายคนมีความสำคัญกับชีวิตคุณ โปรดปรึกษาด้วยว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดคลอดสำหรับบุตรในอนาคตหรือไม่

คิดทบทวนก่อนว่าผลประโยชน์ของการผ่าตัดคลอดนั้นสำคัญ และคุ้มค่ามากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ คุณอาจจำเป็นต้องได้รับความคิดเห็นที่สองจากแพทย์ พยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

https://www.webmd.com/baby/guide/c-section-cesarean#1


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
C-Section (Caesarean Section): Procedure, Reasons, Recovery, Risks & VBAC. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/c-section_cesarean_birth/article.htm)
Vaginal Delivery vs. Cesarean Section: A Focused Ethnographic Study of Women’s Perceptions in The North of Iran. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4280556/)
Is a Planned C-Section Right for Me?. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/c-section-cesarean#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป