กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำเกิดจากอะไร?

ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่มักเกิดจากการนอนนานๆ การขาดน้ำ การติดเชื้อ ความเครียดและความกังวล การตั้งครรภ์ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา ภาวะนี้หมายถึงการมีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาการที่พบบ่อยประกอบด้วย เวียนหัวและมึนหัว เป็นลม ไม่มีสมาธิ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ขี้เกียจ ใจสั่น และหายใจลำบากหรือหายใจช้า ต่อไปนี้เป็น 10 วิธีการช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำแบบง่ายๆ

1.กินเกลือให้เพียงพอ

ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเกลือในปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้ทำงานได้ตามปกติ รักษาสมดุลของสารน้ำ และป้องกันการเกิดความดันโลหิตต่ำ คนส่วนใหญ่ควรรับประทานเกลือโดยเฉลี่ย วันละ 1 ช้อนชา หรือคิดเป็นโซเดียมประมาณ 2300 มิลลิกรัม หากคุณมีอาการความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ ให้ลองปรับหรือเพิ่มปริมาณเกลือที่รับประทานหลังจากปรึกษาแพทย์ หรืออาจดื่มเครื่องดื่มที่ผสมเกลือเช่นเกลือแร่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.กินอาหารมื้อเล็กแต่สม่ำเสมอ

ผู้ที่รับประทานอาหารมื้อใหญ่ และเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตนั้นอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำอย่างฉับพลันหลังรับประทานได้ วิธีหนึ่งในการป้องกันก็คือให้รับประทานอาหารมื้อเล็ก และมีคาร์โบไฮเดรตน้อยลงตลอดทั้งวัน และให้เพิ่มการกินขนมทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพระหว่างมื้ออาหาร

3.เปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ

อาการความดันต่ำส่วนมากนั้นมักจะเกิดเวลาที่มีการเปลี่ยนท่าทางจากนอนเป็นนั่งหรือยืน วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันได้ก็คือการเปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ เวลาตื่นนอนให้ค่อยๆ ลุกขึ้นนั่งในขณะที่ขายังวางอยู่บนเตียง นานอย่างน้อย 60 วินาทีเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวก่อนจะค่อยๆ หย่อยเท้าลงข้างเคียง ข้างไว้ 1-2 นาทีก่อนลุกขึ้นยืน

4.นอนหนุนหมอนเพิ่มขึ้น

การนอนหัวสูงกว่าหัวใจนั้นจะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของลูกได้

5.ใส่ถุงน่อง

วิธีง่ายๆ ในการบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำก็คือการใส่ถุงน่อง เนื่องจากมันจะไปเพิ่มความดันให้กับขา ทำให้ช่วยสูบฉีดเลือดจากขาและช่วยในการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย

6.ดื่มกาแฟ

การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาความดันโลหิตต่ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

7.ดื่มน้ำมากขึ้น

การขาดน้ำนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดความดันโลหิตต่ำได้ ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอจึงสำคัญในการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ

8.ยืนไขว้ขา

หากคุณกำลังยืนต่อแถวแล้วเริ่มมีอาการของความดันโลหิตต่ำ ให้ลองไขว้ขาก่อนหนีบขาเข้าหากัน หรือถ้าหากเป็นไปได้ ให้นอนราบและวางข้อเท้าให้อยู่ในระดับเหนือกว่าระดับของหัวใจ

9.หลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่าง

การเจอเหตุการณ์น่ากลัว น่ากังวล หรือสถานการณ์ที่คุณไม่ชื่นชอบนั้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลันได้ บางนั้นควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว

10.ลองรับประทาน licorice root

Licorice root เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งทีเชื่อว่าสามารถช่วยรักษาภาวะนี้ได้โดยการสนับสนุนให้ต่อมหมวกไตนั้นทำงานได้ตามปกติและทำให้มีความดันโลหิตปกติ แต่ก่อนที่คุณจะรับประทานสมุนไพรเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Low blood pressure (hypotension). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/low-blood-pressure-hypotension/)
Low blood pressure: Natural remedies, causes, and symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319506)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม