โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ เมื่องานที่ทำส่งผลให้คุณเป็นโรคภูมิแพ้

เช็กกันแล้วหรือยัง ว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของคุณ เอื้อต่อการเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ เมื่องานที่ทำส่งผลให้คุณเป็นโรคภูมิแพ้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพมีสาเหตุหลักๆ มาจากสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยต้องคลุกคลีทำงานด้วย
  • ระบบของร่างกายที่ได้ผลกระทบจากการประกอบอาชีพมากที่สุดคือ ระบบทางเดินหายใจและทางผิวหนัง
  • สุขอนามัยที่ไม่สะอาด คืออีกสาเหตุสำคัญที่มักทำให้คนป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพได้
  • ตัวอย่างอาชีพที่มักจะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มากที่สุดจะได้แก่ ช่างทาสี ช่างเสริมสวย ช่างต่อเฟอร์นิเจอร์ ช่างก่อสร้าง เจ้าหน้าที่โรงงาน
  • การตรวจร่างกายก่อนเริ่มเข้าทำงาน จะทำให้คุณทราบความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันในร่างกายตนเอง และทำให้คุณดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจก่อนเข้างาน ตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ในยุคปัจจุบัน ผู้คนมักทำงานกันมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งในระหว่างเวลาเหล่านั้น เราทุกคนต่างต้องสัมผัสกับเชื้อโรค ฝุ่นละออง แบคทีเรียในอากาศมากมายที่มองไม่เห็น และยังรวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่เราได้สัมผัสโดยไม่รู้ตัวอีก 

ซึ่งท้ายที่สุด ทุกอย่างก็อาจจบลงที่การป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น การดูแลตนเองอย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ จึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ เพื่อให้ตนเองห่างไกลจากโรคที่ยากจะรักษาให้หายขาดชนิดนี้

ความหมายของโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ

โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma) หมายถึง โรคภูมิแพ้ที่มีต้นเหตุมาจากการรับสารก่อภูมิแพ้ในสถานที่ทำงาน หรืออาชีพของตนเอง ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเรื่องความสะอาดของสถานที่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น 

  • ลักษณะของงานที่ทำ 
  • ความเครียดจากการทำงาน 
  • สุขอนามัยของตัวคุณเอง และเพื่อนร่วมงานด้วย

ประเภทของภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ

ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพอะไรก็สามารถเกิดโรคภูมิแพ้ได้ทั้งนั้น แต่จากสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับสารเคมี ฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศ เราจึงสามารถจำแนกโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพได้ 3 ประเภทดังต่อไป

1. โรคหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

มักเกิดจากการสัมผัสสารประกอบโลหะ สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งอยู่ในสีทาบ้าน สารป้องกันปลวกและแมลง หรือเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่เป็นไม้ หรือสิ่งทอ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนมากมักประกอบอาชีพช่างไม้ ช่างต่อเฟอร์นิเจอร์ ทำงานในโรงงานผลิตวัสดุเคลือบ พนักงานทาสีบ้าน หรือผลิตสีทาบ้าน ส่วนอาการหลักๆ ของโรคจะมีดังต่อไปนี้

2. โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากการประกอบอาชีพ (Occupational rhinitis)

มักเกิดกับผู้ที่ประกอบอาชีพต้องเจอมลพิษในอากาศอยู่เป็นประจำ จนเยื่อบุจมูกเกิดการอักเสบ มีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากขึ้น และอาจลุกลามไปจนถึงเป็นโรคปอดอักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งในปัจจุบัน ผู้คนเกือบทุกอาชีพต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่เพียงแต่ผู้ที่ประกอบอาชีพในโรงงานสารเคมี หรือที่ต้องคลุกคลีกับมูลสัตว์เท่านั้น แต่เราทุกคนสามารถป่วยเป็นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบกันได้ทั้งนั้น หากไม่ป้องกันตนเองให้ดี

สำหรับอาการหลักๆ ของโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ จะได้แก่

  • คัดจมูก
  • จามบ่อย
  • ไอเรื้อรัง
  • มีเสมหะในลำคอ
  • หลอดลมตีบ
  • มีน้ำมูกไหล
  • ปวดหัว
  • หูอื้อ
  • ตาแฉะ หรือมีน้ำตามากผิดปกติจนน้ำตาไหล
  • ระคายเคืองตา
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง

3. โรคผิวหนังอักเสบจากการประกอบอาชีพ (Occupational dermatitis)

เกิดจากผู้ป่วยได้รับสารก่อภูมิแพ้ซึ่งสร้างความระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น สารยางในธรรมชาติ ผงซักฟอก สบู่ แอมโมเนียเปอร์ซัลเฟต (Ammonium Persulphate) สารนิเกิล (Nickel) สารโคบอลต์ (Cobalt) น้ำยาย้อมผม ละอองฝุ่นจากคอนกรีต

กลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนังอักเสบจากการประกอบอาชีพ จะได้แก่ ช่างเสริมสวย ช่างเครื่องยนต์ ช่างก่อสร้าง บุคลาการทางการแพทย์ พนักงานทำความสะอาด ส่วนอาการหลักๆ ของโรคผิวหนังอักเสบนั้นมีดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังมีสีคล้ำและหนาขึ้น
  • มีผื่นแดงหรือผดขึ้นตามตัว หรือแค่บริเวณที่ได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้
  • มีตุ่มน้ำแห้งกรังตามผิวหนัง
  • ผิวเป็นสะเก็ด และมีขุยคล้ายกับผิวแห้ง
  • คันบริเวณผิวหนังที่ได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หรืออาจคันทั้งตัว

การป้องกันโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ

นอกเหนือจากประเภทของโรคภูมิจากการประกอบอาชีพด้านบน คุณก็สามารถป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน หากไม่รู้จักป้องกันตนเองจากสารก่อภูมิแพ้รอบตัว

คุณสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพของตนเอง

  • สวมชุดป้องกันการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หรือถุงมือ หมวก แว่นตา หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ
  • ไม่รับประทานอาหารขณะทำงาน
  • เตรียมน้ำยาทำความสะอาดแบบพกพาไว้กับตัว และหมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานหรือบริเวณที่ตนเองทำงานอยู่เสมอ
  • ไม่วางสิ่งของซึ่งมักเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือเชื้อแบคทีเรียไว้ใกล้ตัว
  • อย่าใส่เสื้อผ้าซ้ำ หรือเสื้อผ้าที่เปียกชื้นไปทำงาน และควรตากเสื้อผ้าไว้ในที่แดดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • หากในที่ทำงานมีเครื่องปรับอากาศ ควรมีการล้างความสะอาดอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้แหล่งรวมของเชื้อโรค
  • ศึกษาสภาพแวดล้อมรอบๆ ที่ทำงานของคุณ ว่ามีบริเวณใดเป็นแหล่งรวมของสารก่อภูมิแพ้บ้าง เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวรับมือถูก เช่น 
    • ร้านอาหารริมทางใกล้ๆ 
    • มลพิษทางอากาศบริเวณโดยรอบ 
    • ความสะอาดของห้องน้ำ 
    • สุขอนามัยของเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับคุณ
  • หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้กับเพื่อนร่วมงานที่กำลังป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เพราะอาจจะทำให้คุณได้รับเชื้อโรค และสารก่อภูมิแพ้มาก่อนที่จะไปแพร่เชื้อกับคนอื่นต่อไปอีก และควรแนะนำให้เพื่อนร่วมงานที่ป่วยรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอาการจั้งแต่เนิ่นๆ
  • หากคุณป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ควรลาป่วยเพื่อไปพบแพทย์ อย่าฝืนมาทำงานเพราะจะทำให้อาการทรุดหนักกว่าเดิม และทำให้ผู้อื่นติดเชื้อโรคจากคุณไปด้วย

โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพนั้นรับมือได้ไม่ยาก เพียงแค่ต้องหัดสังเกตว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรครอบๆ ตัวคุณมีมากเท่าไร มีปัจจัยมากน้อยขนาดไหนที่อาจทำให้คุณเป็นโรคภูมิแพ้ได้ และเตรียมพร้อมรับมือให้ดี

เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรให้ความสำคัญอันดับหนึ่ง อย่าให้ความสำคัญกับงานที่ทำมากเกินไป จนลืมเลือนความแข็งแรงของร่างกายที่มีแต่ตัวคุณเท่านั้นที่จะดูแลมันได้ดีที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจก่อนเข้างาน ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ.นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, โรคภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ (http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=102), 17 February 2011.
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, สาเหตุของโรคแพ้อากาศ (ตอนที่ 1) (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=197), 8 ตุลาคม 2553.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสแบบก่อภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ (http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/83).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป