กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ข้อควรรู้ก่อนนวด นวดอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

เป็นประจําเดือนนวดได้ไหม ใครบ้างที่ไม่ควรนวด ใครที่ชอบนวด อ่านเลย
เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ข้อควรรู้ก่อนนวด นวดอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

การนวด ไม่ว่าจะเป็นนวดแผนโบราณ หรือนวดแผนปัจจุบัน ล้วนได้รับความนิยมจากคนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากช่วยคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นเวลานานๆ ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยรักษาอาการของโรคบางอย่างได้อีกด้วย โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การนวดที่ถูกต้องนั้น จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งจิตใจและร่างกายได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถนวดได้ ยิ่งถ้าหากว่าบางคนเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว หากนวดผิดวิธี ก็มีโอกาสส่งผลถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ทันที 

ผู้ที่มีอาการอะไรบ้าง ที่ไม่ควรนวด?

การนวด เป็นศาสตร์ของแพทย์ไทยมาช้านาน ช่วยรักษาโรคได้จริง ซึ่งไม่ใช่แค่โรคทางกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ลดความเมื่อยล้าของร่างกายได้ด้วย แต่ในขณะเดียวกัน การนวดก็มีข้อยกเว้นในโรคหรืออาการบางอย่าง ที่ไม่แนะนำให้นวด ดังนี้

1ผู้ที่เป็นโรคเลือดผิดปกติ

หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เพราะการนวด เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ถ้าหากมีอาการของทั้ง 2 โรคนี้ อาจพบอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง รวมทั้งเกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆ และกล้ามเนื้อ 

ถ้าหากมีเลือดออกมากก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการช็อค และเสียชีวิตตามมาภายหลังได้ หรือถ้ามีลิ่มเลือดอุดตัน จะสามารถทำให้ลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันตามเส้นเลือดฝอยได้ และหากไปอุดที่ปอดอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

2ผู้ที่มีปัญหากับกระดูกสันหลังและไขสันหลัง 

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จริงอยู่ว่าวิธีการรักษา สามารถใช้วิธีการนวดเป็นทางเลือกได้ แต่ต้องมั่นใจว่าผู้นวดมีความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญในการรักษาจริงๆ เพราะถ้าหากนวดผิดจุด ก็อาจทำให้กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนตัว หรือยุบตัวลงไป ทำให้เกิดความเจ็บปวดและอันตรายที่รุนแรงขึ้น 

หากต้องการนวดรักษา แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาด้วยการนวด เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3ผู้ป่วยเบาหวาน

เพราะเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องของลิ่มเลือดในหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการมีไขมันอุดตันอยู่ในหลอดเลือดจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มักจะพบที่บริเวณน่อง หากมีการกดนวดด้วยความรุนแรง อาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอดซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิตอีกด้วย

4ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน รวมถึงผู้ที่มีปัญหากระดูกเปราะ

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ หากได้รับการนวดที่รุนแรง อาจเป็นเหตุทำให้กระดูกแตกหรือหักได้ ดังนั้น คนที่เป็นโรคดังกล่าวนี้จึงไม่ควรนวด

5ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง 

เช่น โรคอีสุกอีใส โรคงูสวัด กลาก เกลื้อน หรือโรคอื่นๆ ที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส เมื่อมานวดก็มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากอาจมีการใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น ยานวด หรืออุปกรณ์นวด รวมถึงผู้นวดเองก็มีโอกาสติดเชื้อได้ 

ดังนั้น ถ้าพบว่าตนเองกำลังป่วยด้วยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อไปสู่กันได้อยู่ ไม่ควรไปนวดเด็ดขาด ควรรักษาให้หายดีก่อน

6ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออักเสบ รวมถึงปัญหาข้ออักเสบ

ในขณะที่ยังมีอาการอักเสบอยู่ ไม่ควรนวดเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจจะทำให้มีอาการอักเสบและบวมแดงที่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจส่งผลให้พบอาการไข้ได้ในภายหลัง

7.ผู้ที่เพิ่งผ่าตัดมา

คนที่เพิ่งผ่าตัด แล้วแผลยังปิดไม่สนิท การนวดอาจทำให้แผลปริแตก รวมถึงอาจทำให้แผลมีอาการอักเสบมากกว่าเดิม จึงควรหลีกเลี่ยงการนวดและรอให้แผลหายดีก่อน แล้วถึงจะนวดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8ผู้ที่เพิ่งรับประทานยาแก้ปวด

ตั้งแต่ 1 - 120 นาทีแรกหลังรับประทานยาแก้ปวด ยาจะบดบังอาการปวด ทำให้ทนต่อแรงกด ส่งผลให้ผู้นวดต้องออกแรงกดมากขึ้น คุณถึงจะรู้สึกได้ แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นจนถึงขั้นกล้ามเนื้ออักเสบได้ เนื่องจากแรงกดของผู้นวดที่แรงกว่าปกตินั่นเอง 

ดังนั้น จึงไม่นวดทันทีหลังจากที่เพิ่งรับประทานยาแก้ปวด และยาแก้ปวดบางอย่างอาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาได้

9ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทุกชนิด

ไม่ควรนวดในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทุกชนิด เพราะการนวดจะส่งผลให้เชื้อโรคมีการกระจายตัวไปยังอวัยวะอื่นๆ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาจมีการแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งอาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

ไม่สบายเป็นไข้ตัวร้อน สามารถนวดได้หรือไม่?

ไม่สบายเป็นไข้ตัวร้อน หากไม่นับเรื่องของอาการอ่อนเพลีย และอุณหภูมิของร่างกายที่สูงกว่าปกติ ร่างกายก็ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไปเลย แต่ในตำรานวดแผนโบราณ (รวมถึงนวดแผนปัจจุบัน) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนเลยว่า ผู้ที่ไม่สบาย ป่วยเป็นไข้ หรือมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 องศาขึ้นไป ไม่ควรนวดเป็นอันขาด เพราะในช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าหากมีการนวดที่ต้องออกแรงมาก ก็อาจเป็นผลทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่มากขึ้นกว่าเดิม และถ้าหากอาการอักเสบนั้นรุนแรงมาก ก็อาจถึงขั้นต้องไปตรวจร่างกายในโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว

ผู้หญิงเป็นประจำเดือนนวดได้ไหม ?

สำหรับผู้หญิงที่เป็นประจำเดือน แล้วเกิดความรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว อยากจะนวดนั้น ต้องรอจนกว่าประจำเดือนหมดเสียก่อนถึงจะนวดได้ เพราะถ้าหากนวดในช่วงที่ประจำเดือนมา หรือประจำเดือนใกล้จะหมดนั้น อาจทำให้มีเลือดออกมาผิดปกติ หรือเกิดความแปรปรวนจากปัญหาเลือดลมภายในร่างกาย 

บางรายอาจถึงขั้นมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมากับประจำเดือนด้วย และถ้าหากว่านวดไม่ถูกต้องหรือนวดอย่างรุนแรงจนกล้ามเนื้ออักเสบ ก็มีโอกาสที่จะทำให้เป็นโรคไข้ทับระดู ที่ก่อให้เกิดอาการปวดกระดูกและเป็นไข้อย่างรุนแรงได้นั่นเอง

ถึงแม้ว่าการนวด จะมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ควรจะนวด ทางที่ดีหากต้องการนวดรักษาแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่า เพราะจะได้รับการตรวจ การวินิจฉัย และรักษาได้ตรงกับโรค และยังได้คำแนะนำการดูแลตนเองที่ถูกต้องกลับไปทำต่อที่บ้านด้วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
39 ข้อห้ามและข้อควรระวังก่อนไปนวดแผนไทย (http://www.healthcareandspa.co...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ

ทำความรู้จักการนวดแผนไทย ประโยชน์ของการนวดไทย และลิสต์ผู้ที่เข้าข่ายไม่ควรนวด

อ่านเพิ่ม