แชร์หลากวิธีดีท็อกซ์ร่างกายหลังเลิกบุหรี่

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แชร์หลากวิธีดีท็อกซ์ร่างกายหลังเลิกบุหรี่

หนึ่งในนิสัยที่ทำร้ายสุขภาพของคุณอย่างช้าๆ ก็คือ การสูบบุหรี่นั่นเอง ซึ่งมันสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากถึง 25 เท่า อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมานับไม่ถ้วน หากคุณเพิ่งเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ และอยากดีท็อกซ์ปอดให้กลับมาสะอาดอีกครั้ง วันนี้เราจะมาแชร์ขั้นตอนการดีท็อกซ์ปอดให้คุณอ่านเป็นแนวทาง มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

สัปดาห์แรกหลังเลิกบุหรี่

ผลที่เกิดจากการเลิกบุหรี่จะปรากฏให้เห็นเกือบจะในทันที เมื่อคุณไม่สูบบุหรี่ประมาณ 8 ชั่วโมง ระดับของออกซิเจนภายในร่างกายจะกลับมาสู่ระดับปกติ ในขณะที่ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์และนิโคตินลดลงกว่าครึ่ง ซึ่งระดับของก๊าซและสารดังกล่าวจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อผ่านไป 2 วัน หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มกำจัดเมือกในปอด และเศษซากที่เกิดจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้คุณจะสามารถดมกลิ่นและรับรสได้ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2 วัน ในวันที่ 3 เมื่อหลอดลมภายในปอดคลายตัว คุณสามารถหายใจได้สะดวกมากกว่าเมื่อสูบบุหรี่ นอกจากนี้คุณจะรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลิกบุหรี่ช่วยให้ปอดมีสุขภาพดี แต่คุณก็ยังจำเป็นต้องทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอย่างบริเวณบ้านหรือออฟฟิต เพราะมันอาจมีสารพิษที่สามารถทำให้ปอดเสียหาย ทั้งนี้ให้คุณกำจัดเศษบุหรี่และควันที่อาจหลงเหลืออยู่ตามบริเวณบ้าน ส่วนการดูแลเรื่องอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้มีเมือกส่วนเกินในปอด โดยให้คุณดื่มน้ำให้มากขึ้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่คุณแพ้ นอกจากนี้คุณอาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้น้ำมันยูคาลิปตัสสำหรับสูดพร้อมกับไอน้ำเพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก

แข็งแรงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2-12

คุณจะพบว่าระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้คุณสามารถมีส่วนช่วยให้ระบบดังกล่าวทำงานดีขึ้นโดยออกกำลังกายที่ไม่ได้ใช้แรงมากเกินไปอย่างการเดินระยะสั้นหรือการว่ายน้ำ รวมถึงฝึกบริหารลมหายใจเพื่อให้ความจุปอดมากขึ้น

ทั้งนี้ The American Lung Association ได้แนะนำการออกกำลังกาย 2 ชนิดที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ซึ่งสามารถช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและทำให้ปอดและหัวใจทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น นั่นก็คือ Belly Breathing และ Pursed Lip Breathing การออกกำลังกายด้วยวิธีเหล่านี้ช่วยคืนความยืดหยุ่นให้ปอดและช่วยปรับปรุงระดับของออกซิเจนไปพร้อมกับกำจัดอากาศส่วนเกิน อย่างไรก็ดี อาหารที่ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งก็อาจช่วยกำจัดเมือกได้เช่นกัน ในขณะที่อาหารบางชนิดสามารถช่วยให้สุขภาพปอดดีขึ้น และทำให้ระบบหายใจทำงานได้ราบรื่น แต่ทั้งนี้คุณก็อย่าลืมทานอาหารเหล่านี้ให้ได้ต่อเนื่องไปตลอด สำหรับอาหารที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

  • น้ำผึ้ง: ให้คุณทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนชาทุกวันหรือหลายครั้งต่อวัน เพราะน้ำผึ้งมีสรรพคุณช่วยดีท็อกซ์ปอดและบรรเทาความเจ็บปวดที่คุณอาจประสบ
  • สับปะรด: สารโบรมีเลนในสับปะรดทำหน้าที่ต้านการอักเสบ อีกทั้งยังช่วยให้ปอดและร่างกายแข็งแรง และกลับคืนสู่ภาวะปกติ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังช่วยสลายเมือกและอาจช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น
  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น: ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เนื้อเยื่อปอดเสียหาย ซึ่งนักวิจัยบางคนเชื่อว่ามันสามารถช่วยให้เส้นเลือดแข็งแรง

3-9 เดือนหลังจากเลิกบุหรี่

การทำงานของปอดในระยะนี้ดีขึ้นประมาณ 10% คุณจะพบว่าปัญหาหายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงบรรเทาลง นอกจากนี้คุณยังไอลดลงอีกด้วย เมื่อคุณรู้สึกว่าระดับพลังงานและความแข็งแรงกลับมาแล้ว มันก็เป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้ออกกำลังกายโดยใช้เวลานานขึ้น การที่คุณจะมีสุขภาพดีและแข็งแรง คุณควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป อาหารดัดแปลงพันธุกรรม หรืออาหารชนิดใดๆ ก็ตามที่มีการเติมสารปรุงแต่งหรือสารเคมี และพยายามทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด รวมถึงทานผักและผลไม้สดให้มากขึ้นเพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ ตัวอย่างผลไม้ที่มีสารดังกล่าวสูง เช่น แครนเบอร์รี บลูเบอร์รี แอปเปิ้ล ส้ม ผักโขม บร็อกโคลี มันหวาน ฯลฯ

1 ปี และหลังจากนี้

หลังจากที่คุณเลิกบุหรี่ได้แล้ว คุณสามารถรักษาปอดให้สะอาดโดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่ นอกจากจะดีต่อสุขภาพปอดของคุณแล้ว มันก็ยังลดโอกาสที่คุณจะเผลอใจกลับไปสูบบุหรี่ อย่างไรก็ดี คุณยังคงจำเป็นต้องทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องและออกกำลังกายเป็นประจำ

การสูบบุหรี่อาจเป็นวิธีคลายเครียดสำหรับบางคน แต่มันกลับทำลายสุขภาพ และทำให้เกิดโรคร้ายตามมามากมาย หากคุณพยายามเลิกบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ การไปพบแพทย์เพื่อหาทางออกร่วมกันก็เป็นวิธีที่ดีค่ะ

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Full Body Detox: 9 Ways to Rejuvenate Your Body. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/how-to-detox-your-body)
7 natural ways to cleanse your lungs. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324483)
Lung Detox: Does It Really Work?. WebMD. (https://www.webmd.com/lung/copd/features/lung-detox-facts#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีเลิกบุหรี่แบบหักดิบ
วิธีเลิกบุหรี่แบบหักดิบ

เลิกบุหรี่แบบหักดิบ ความยากที่ตามมาด้วยผลลัพธ์ของสุขภาพที่ดี

อ่านเพิ่ม