กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มาทำความรู้จักกับอาการ “ ร้อนวูบวาบ ” กันเถอะ

เผยแพร่ครั้งแรก 4 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มาทำความรู้จักกับอาการ “ ร้อนวูบวาบ ” กันเถอะ

" ร้อนวูบวาบ " หรือ Hot flashes ถือเป็นอาการพื้นฐานที่สุดของคนที่อยู่ในช่วงวัยทองหรือก่อนวัยทอง ซึ่งมีการค้นพบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันเหนือมากกว่า 2/3 ที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองนั้นมีอาการร้อนวูบวาบ นอกจากนี้มันยังมีผลต่อผู้หญิงที่เริ่มวัยทองหลังจากทำเคมีบำบัดหรือผ่าตัดรังไข่

อาการร้อนวูบวาบคืออะไร ?

ผู้ที่มีอาการร้อนวูบวาบจะรู้สึกร้อนในทันที และในบางครั้งก็มีใบหน้าแดงก่ำและมีเหงื่อออก ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แต่คาดว่ามันอาจมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบหมุนเวียนโลหิต ทั้งนี้อาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นในขณะที่คุณนอน หรือเรียกว่า ภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweats) และมันสามารถปลุกให้คุณตื่น และอาจทำให้ยากต่อการพักผ่อนให้เพียงพอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการร้อนวูบวาบจะคงอยู่นานเท่าไร ?

ระยะเวลาที่ผู้หญิงมีอาการร้อนวูบวาบของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ผู้หญิงบางคนมีอาการดังกล่าวเพียงแค่เวลาสั้นๆ ระหว่างที่อยู่ในช่วงวัยทอง ในขณะที่ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการร้อนวูบวาบตลอดชีวิตที่เหลือ แต่โดยทั่วไปแล้ว อาการจะค่อยๆ ทุเลาเมื่อเวลาผ่านไป

วิธีป้องกันอาการร้อนวูบวาบ

ไม่มีวิธีใดที่สามารถช่วยให้คุณรอดพ้นจากการเกิดอาการร้อนวูบวาบในช่วงวัยทอง แต่คุณสามารถอยู่ให้ห่างไกลจากตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการบ่อยหรือรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ความเครียด คาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารเผ็ด การใส่เสื้อผ้าที่คับแน่น ความร้อน การสูบบุหรี่ ฯลฯ

คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง ?

คุณสามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบโดยพยายามทำตัวเองให้เย็น โดยอาจใช้หมอนที่บรรจุน้ำ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยทำให้คุณรู้สึกเย็น สวมเสื้อผ้าที่หลวม และทำจากไฟเบอร์ธรรมชาติอย่างผ้าคอตตอน ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ (หายใจ6 - 8 ครั้งต่อหนึ่งนาที) โดยให้ฝึกหายใจลึกๆ ทั้งตอนเช้าและตอนกลางคืนให้ได้นาน 15 นาทีในแต่ละช่วงเวลาและเมื่อเริ่มมีอาการร้อนวูบวาบ นอกจากนี้การออกกำลังกายทุกวัน โดยใช้วิธีการเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และเต้น ล้วนแต่เป็นทางเลือกที่ดี     การทานถั่วเหลืองซึ่งมีสารที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนก็สามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้ นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยพบว่า Black cohosh อาจช่วยให้อาการดีขึ้นเช่นกัน แต่การทานพืชหรือสมุนไพรอาจมีผลข้างเคียง หรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของยา ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ

วิธีรักษาอาการร้อนวูบวาบ

ผู้หญิงบางคนอาจรอให้อาการร้อนวูบวาบหายไปเอง แต่หากมันทำให้คุณรำคาญหรือทำให้เกิดปัญหา คุณก็อาจคุยกับแพทย์เรื่องการใช้ฮอร์โมนทดแทนในเวลาที่จำกัด ซึ่งมักจะน้อยกว่า 5 ปี การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว และสามารถบรรเทาอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทองอย่างภาวะช่องคลอดแห้ง และความผิดปกติทางอารมณ์

หากการรักษาโดยวิธีฮอร์โมนทดแทนไม่เหมาะกับคุณ มันก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

  • ยาต้านซึมเศร้าแบบโดสต่ำอย่างฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) หรือเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)
  • ยาโคลนิดีน (Chonidine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
  • ยากาบาเพนติน (Gabapentin) เป็นยาในกลุ่มยากันชัก
  • วิตามินบีรวม วิตามินอี ไอบูโพรเฟน ก็อาจช่วยได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยา หรืออาหารเสริมชนิดใหม่ๆ ซึ่งหมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอยู่ตามร้านทั่วไป แม้ว่าอาการร้อนวูบวาบจะเป็นเรื่องธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเราเข้าสู่ช่วงวัยทอง แต่การทำตามวิธีที่เรากล่าวไปก็อาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

ที่มา : https://www.webmd.com/menopaus...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Menopausal symptoms: In depth. National Center for Complementary and Integrative Health. http://nccam.nih.gov/health/menopause/menopausesymptoms.
Menopause: Time for a change. National Institute on Aging. https://www.nia.nih.gov/health/publication/menopause-time-change/introduction.
Nonhormonal management of menopause-associated vasomotor symptoms: 2015 position statement of the North American Menopause Society. Menopause. 2015;22:1155.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)
อารมณ์หงุดหงิด (Irritable Mood)

อารมณ์หงุดหงิด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้โดยทั่วไป แต่ถ้าเกิดบ่อย หรือเกิดเป็นประจำ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเจ็บป่วย ฮอร์โมนแปรปรวน และโรคทางจิตเวช

อ่านเพิ่ม