อาการร้อนวูบวาบระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติมาก ผู้หญิงมากกว่าหนึ่งในสามมีอาการนี้ สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ขึ้นลงไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนด้วย
ความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเผาผลาญอาหารที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์โดยจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสที่ 3 จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนวูบวาบบริเวณศีรษะ ลำคอ หน้าอก จนคุณแม่ต้องคอยเขี่ยผ้าห่มออกกลางดึก หรือยืนร้อนเหงื่อไหลระหว่างรอจ่ายเงินในซูเปอร์มาร์เกต อาการนี้สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่หลายวินาทีไปจนถึงหลายนาที
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยทั่วไปแล้ว อาการร้อนวูบวาบมักเกิดขึ้นในช่วงเดือนที่สี่ถึงก่อนคลอด และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงหลังคลอดบุตร นั่นเพราะหลังคลอดระดับฮอร์โมนจะผันผวน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงมาก และจะยังคงต่ำอยู่เช่นนั้นหากคุณแม่ให้นมบุตรเอง
สิ่งที่สำคัญคือ คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองให้รู้ถึงความแตกต่าง ระหว่างอาการร้อนวูบวาบกับอาการไข้ เนื่องจากอาการไข้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งอันตรายมากต่อการตั้งครรภ์ ความแตกต่างระหว่างสองอาการนี้คือ อาการไข้จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนอาการร้อนวูบวาบจะไม่เพิ่มอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย
เมื่อไหร่ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 38ºC คุณแม่จำเป็นต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
วิธีช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย
- เปิดพัดลมระบายอากาศ
- เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
- ดื่มน้ำเย็น
พึงระลึกไว้ว่า อาการร้อนวูบวาบก็เหมือนกับอาการอื่นซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายระหว่างตั้งครรภ์ แต่สุดท้ายทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี