กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 สาเหตุของอาการร้อนวูบวาบที่ไม่เกี่ยวกับวัยทอง

อาการนี้ถึงไม่ร้ายแรงแรงต่อสุขภาพ แต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้เช่นกัน รีบแก้ไขก่อนจะเป็นปัญหาสะสมในระยะยาว
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
6 สาเหตุของอาการร้อนวูบวาบที่ไม่เกี่ยวกับวัยทอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการร้อนวูบวาบถือเป็นหนึ่งในอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ตัวแดง และมีเหงื่อออกร่วมด้วย
  • นอกจากภาวะหมดประจำเดือน หรือภาวะวัยทอง แล้ว อาการร้อนวูบวาบยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ยาบางชนิด มีน้ำหนักมากเกินไป แพ้อาหาร หรือมีความไวต่อสิ่งต่างๆ มีความวิตกกัวล มีโรคประจำตัว นอนในห้องที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป 
  • อาการร้อนวูบวาบอาจเป็นผลข้างเคียงของการรับประทานยาร่วมกันหลายๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น ยาโอปิออยด์ ยาต้านซึมเศร้า ยาที่ช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน หากสงสัยว่า อาการดังกล่าวอาจมีสาเหตุจากการใช้ยา ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาพร้อมแจ้งรายการยาที่ใช้อย่างละเอียด
  • งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่า การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายร่วมด้วย 200 นาทีต่อสัปดาห์ มีอาการร้อนวูบวาบ "น้อยกว่า" คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและเป็นโรคอ้วนมากถึง 2 เท่า
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

อาการร้อนวูบวาบถือเป็นหนึ่งในอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ตัวแดง และมีเหงื่อออกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หลายคนมักจะเชื่อมโยงอาการดังกล่าวกับ "ภาวะหมดประจำเดือน หรือภาวะวัยทอง" 

แต่ความจริงแล้ว อาการร้อนวูบวาบยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน แต่จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้

1.ยาบางชนิด

อาการร้อนวูบวาบอาจเป็นผลข้างเคียงของการรับประทานยาร่วมกันหลายๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น ยาโอปิออยด์ ยาต้านซึมเศร้า ยาที่ช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน

สิ่งที่ควรทำ: บอกให้แพทย์ทราบถึงอาการร้อนวูบวาบที่เกิดขึ้น รายการยาทั้งหมดที่ได้รับและรับประทานไป เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยว่า อาการร้อนวูบวาบมีโอกาสเกิดจากการใช้ยาหรือไม่ หรือยาชนิด แพทย์จะได้พิจารณาปรับเปลี่ยนชนิดของยาให้เหมาะสม หรือให้คำแนะนำอื่นๆ 

2.มีน้ำหนักมากเกินไป

การมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐานมากเกินไป สามารถรบกวนการทำงานของกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย และทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบได้ในที่สุด

สิ่งที่ควรทำ: การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกาย สามารถช่วยทำให้อาการร้อนวูบวาบบรรเทาลงได้ เพราะมีงานวิจัยจาก The University of California ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่วมกับออกกำลังกาย 200 นาทีต่อสัปดาห์ 

ผู้หญิงกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีอาการร้อนวูบวาบ "น้อยกว่า" คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและเป็นโรคอ้วนมากถึง 2 เท่า

3.แพ้อาหาร หรือมีความรู้สึกไวต่อสิ่งต่างๆ

มีหลายคนที่ประสบอาการร้อนวูบวาบเมื่อรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดมาก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่ถ้าคุณแพ้อาหารที่ไม่สามารถระบุได้ แนะนำให้ลองสพิจารณาส่วนผสม เช่น วัตถุดิบ เครื่องปรุงรส หรือสารบางอย่างในอาหาร ที่อาจเป็นต้นเหตุทำให้มีอาการดังกล่าวได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สิ่งที่ควรทำ: ตัวการที่ทำให้มีอาการร้อนวูบวาบ เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ซัลไฟต์ ฯลฯ ทั้งนี้ให้ลองสังเกตปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้ ซึ่งคุณอาจพบความเชื่อมโยงบางอย่าง เช่น อาการร้อนวูบวาบจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่รับประทานอาหารเมนูนี้ หรือดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ 

อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจอาจลองปรึกษาแพทย์ก็ได้

4.ความวิตกกังวล

ในขณะที่เกิดความวิตกกังวล หัวใจจะเต้นเร็วมากขึ้น และรู้สึกกระสับกระส่าย นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวอย่างการเกิดความรู้สึกร้อนวูบวาบตามมาได้

สิ่งที่ควรทำ: การฝึกหายใจเข้า-ออก ถือเป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถช่วยให้อาการวิตกกังวลสงบลงได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายบางประเภท การทำสมาธิ และการเล่นโยคะ ก็นับว่า เป็นวิธีที่ช่วยให้มีสติ รับมือกับความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หากไม่ได้ผลจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักบำบัดด้านความคิดและพฤติกรรม เพื่อแก้ปัญหานี้

5.เป็นโรคประจำตัว

ปัญหาด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนและระบบต่อมไร้ท่อ สามารถนำไปสู่การเกิดอาการที่คล้ายกับคนที่อยู่ในช่วงวัยทองได้ ทั้งนี้หากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปจะส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น คุณจึงรู้สึกอุ่นขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่หากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป อุณหภูมิในร่างกายก็จะต่ำลง คุณจะรู้สึกหนาว หรือเรียกวา ขี้หนาวก็ไม่ผิดนัก นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือเชื้อไวรัสบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกร้อนวูบวาบได้เช่นกัน

สิ่งที่ควรทำ: ถ้าปัญหาคือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกตื คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการร้อนวูบวาบจามมา เช่น หัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เข้าห้องน้ำบ่อย รู้สึกเพลียมาก ฯลฯ 

แต่ถ้าเป็นเรื่องของการติดเชื้อก็อาจมีอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น ท้องเสีย หรือรู้สึกไม่สบายท้อง หากมีอาการดังกล่าวเกิดร่วมกับอาการร้อนวูบวาบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

6.นอนในห้องที่ร้อนเกินไป

อุณหภูมิของร่างกายจะเกิดการผันผวนตลอดช่วงกลางคืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงและผู้ชายจะตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมกับความรู้สึกร้อน หรือเหงื่อออกตามร่างกายแม้ว่า ร่างกายจะไม่มีได้ป่วยใดๆ ก็ตาม บางคนก็หลับๆ ตื่นๆ จนกลายเป็นคนพักผ่อนไม่เพียงพอ ง่วงในตอนกลางวันก็มี 

สิ่งที่ควรทำ: หากสังเกตว่า อาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นช่วงกลางดึก บางทีอาจเป็นเพราะห้องนอนมีอุณหภูมิที่อุ่น หรือร้อนเกินไป การห่มผ้า การใส่ชุดนอนที่หนาเกินไป วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ คือ ให้เปิดหน้าต่างช่วยเพื่อระบายอากาศ เปิดพัดลมให้แรงขึ้น ปรับแอร์ให้เย็นขึ้น หรือจะเปิดพัดลมร่วมกับเปิดแอร์ก็ได้ 

อีกทั้งควรเปลี่ยนชุดนอนให้มีเนื้อผ้าบางลง สวมใส่สบาย ห่มผ้าที่ผืนบางลง เช่น เปลี่ยนจากการห่มผ้านวมผืนโต มาห่มผ้าแพรแทน 

แม้ว่าอาการร้อนวูบวาบจะดูเหมือนเป็นอาการที่ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพมากเท่าไรนัก แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้เช่นกัน หากลองใช้วิธีที่แนะนำข้างต้นแต่อาการร้อนวูบวาบก็ยังไม่หาย อีกทั้งตัวคุณเองก็ยังไม่ถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือภาวะวัยทองซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้  

ก็อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์เพื่อปรึกษา รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hot Flashes Causes, Symptoms & Treatment Medicine for Men & Women. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hot_flashes/article.htm)
Hot Flashes: What Can I Do?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/hot-flashes-what-can-i-do)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินบี 3
วิตามินบี 3

ประโยชน์ของวิตามินบี 3 นอกจากจะช่วยเรื่องบำรุงผิวพรรณแล้ว ยังช่วยเผาผลาญไขมัน และป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรนได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม