การสวมถุงเท้าช่วยให้นอนหลับได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การสวมถุงเท้าช่วยให้นอนหลับได้จริงหรือ?

การนอนเป็นส่วนสำคัญของทุกชีวิต ซึ่งมนุษย์ใช้เวลาประมาณ 1/3 ของวันไปกับการนอน ทั้งนี้การนอนเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและร่างกาย แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่นอนหลับยาก และหนึ่งในวิธีที่อาจช่วยได้ก็คือ การใส่ถุงเท้านอน

ถุงเท้าช่วยให้นอนหลับ

การใส่ถุงเท้านอนอาจดูเหมือนว่าทำให้ฝ่าเท้าร้อนขึ้น แต่ความจริงแล้วมันกลับช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายทั้งนี้มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2007 พบว่า ผู้ใหญ่ที่ใส่ถุงเท้าปกติ หรือถุงเท้า Heated Socks ตอนเข้านอนสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายจะลดลงในระหว่างตอนกลางคืน และจะมีอุณหภูมิต่ำสุดช่วง 4.00 น. ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายคือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ แต่จะเปลี่ยนไป 1-2 องศา ในช่วง 24 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทำให้เท้าและมืออุ่นช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว ซึ่งมีการปลดปล่อยความร้อนผ่านทางผิวหนัง และช่วยลดอุณหภูมิที่แกนกลางของร่างกาย ทำให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองว่าถึงเวลาเข้านอน

การนอนและอุณหภูมิของร่างกาย

นาฬิกาชีวภาพมีผลต่ออุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเวลานอน ทำให้คนง่วงตอนกลางคืน และตื่นตอนกลางวัน อุณหภูมิของร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มในระหว่างวัน และจะมีค่าสูงสุดในช่วงบ่ายแก่ๆ เมื่อคนรู้สึกตื่นเต็มตาและกระตือรือร้น อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงในช่วงกลางคืน ทำให้คนรู้สึกง่วงนอน เมื่อเราเริ่มนอนหลับ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลง 1-2 องศา เพราะร่างกายกำลังเก็บพลังงานเพื่อทำงานอื่นๆ  ถ้าเราสวมถุงเท้าขณะนอน มันก็อาจช่วยเกี่ยวกับวงจรควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ประโยชน์อื่นๆ ของการสวมถุงเท้านอน

1. บรรเทาอาการของโรคเรเนาด์

การมีมือและเท้าเย็นเป็นประจำสามารถเป็นสัญญาณของโรคเรเนาด์ ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลต่อหลอดเลือดในผิว โดยมักเกิดขึ้นเมื่อคนรู้สึกหนาวหรือเครียด ในระหว่างที่อาการกำเริบ เลือดที่ไหลไปยังมือและเท้าจะลดลง ส่งผลให้นิ้วมือและนิ้วเท้าเริ่มเย็นและชา รวมถึงอาจเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีน้ำเงิน อย่างไรก็ตาม การสวมถุงเท้าขณะนอน และการทำตัวเองให้อุ่นตลอดวันสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

2. ป้องกันอาการร้อนวูบวาบ

ผู้หญิงหลายคนที่เข้าสู่ช่วงวัยทองจะประสบอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งจะรู้สึกอุ่นอย่างรุนแรง โดยเกิดแบบฉับพลันไปทั่วร่างกาย เหงื่อออก หรือหน้าแดง ทั้งนี้การสวมถุงเท้าสามารถช่วยลดอุณหภูมิที่แกนกลางของร่างกายในช่วงกลางคืน และที่มันสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการร้อนวูบวาบก็เพราะเชื่อกันว่าอาการดังกล่าวเกิดจากความผันผวนของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

3. เซ็กส์ดีขึ้น

มีงานวิจัยพบว่า คู่รักที่สวมถุงเท้าตอนอยู่บนเตียงนอนมีแนวโน้มที่จะไปถึงจุดสุดยอดในระหว่างที่มีเซ็กส์ ซึ่งมีการสำรวจการตอบสนองของสมองในระหว่างที่ร่วมรัก และพบว่าเท้าที่เย็นทำให้คนไปไม่ถึงฝั่งฝัน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ค่อนข้างเป็นงานวิจัยที่เล็ก เพราะมีผู้เข้าร่วมทดลองที่เป็นคู่รักเพียงแค่ 13 คู่เท่านั้น

ทางเลือกอื่นๆ นอกจากถุงเท้า

คนที่ไม่ชอบใส่ถุงเท้าตอนนอนสามารถลองใช้ตัวเลือกอื่นๆ ดังนี้

  • แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
  • ใส่สลิปเปอร์ก่อนเข้านอน
  • นอนโดยมีขวดน้ำร้อนวางใกล้กับฝ่าเท้า
  • ห่มผ้าให้คลุมฝ่าเท้า
  • แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ 1 หรือ 2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
  • หากใส่ Heated Socks คุณไม่ควรปรับระดับความร้อนสูงเกินไป เพราะมันอาจทำให้ผิวไหม้ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใส่ถุงเท้าจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังฝ่าเท้า แต่คุณก็ไม่ควรเลือกถุงเท้าที่คับแน่นจนเกินไป เพราะมันจะทำให้เลือดไหลเวียนลดลง หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่นอนหลับยาก ไม่แน่ว่าการสวมถุงเท้าขณะนอนอาจช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wearing Socks to Bed. Sleep.org. (https://www.sleep.org/articles/wearing-socks-to-bed/)
Effects of feet warming using bed socks on sleep quality and thermoregulatory responses in a cool environment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5921564/)
Sleeping with Socks On: Benefits, Risks, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sleeping-with-socks-on)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 สาเหตุของอาการร้อนวูบวาบที่ไม่เกี่ยวกับวัยทอง
6 สาเหตุของอาการร้อนวูบวาบที่ไม่เกี่ยวกับวัยทอง

อาการนี้ถึงไม่ร้ายแรงแรงต่อสุขภาพ แต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้เช่นกัน รีบแก้ไขก่อนจะเป็นปัญหาสะสมในระยะยาว

อ่านเพิ่ม