สูตรสครับเท้า

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สูตรสครับเท้า

สูตรสครับเท้าจากเบกกิ้งโซดา

ผสมเบกกิ้งโซดา 3 ช้อนโต๊ะลงในอ่างน้ำอุ่น หากต้องการให้ผลัดเซลล์ผิวได้มากขึ้น ให้ค่อยๆ สครับเท้าด้วยครีมที่ผสมเบกกิ้งโซดา 3 ส่วนกับน้ำ 1 ส่วน

สูตรสครับเท้าจากกากกาแฟ

อย่าเพิ่งโยนกากกาแฟทิ้งไป คุณสามารถเปลี่ยนมันให้กลายเป็นสครับเท้าที่จะช่วยผลัดเซลล์ผิวและทำให้เท้านุ่มขึ้นได้ ให้ผสมกากกาแฟจำนวนหนึ่งเข้ากับน้ำตาลใส่สัดส่วนที่เท้ากัน และน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวอีก 1 ช้อนโต๊ะก่อนนำมาถูที่ผิวหนัง และล้างให้สะอาด เนื่องจากสูตรสครับนี้มีน้ำมันเป็นส่วนผสม ดังนั้นคุณจะล้างให้สะอาดเพื่อป้องกันการลื่น หากคุณสครับเท้าในตู้อาบน้ำ คุณอาจจะต้องใส่ที่กรองกากกาแฟเหนือต่อรูขะบาวน้ำเพื่อป้องกันการอุดตัน

สูตรสครับจากน้ำผึ้งและน้ำตาล

หากคุณมีเท้าที่แตกและแห้ง ให้ลองใช้สูตรนี้ ผสมน้ำตาลไม่ขัดสี ¼ ถ้วยเข้ากับน้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์หอมระเหย 3 หยด ก่อนนะมาสครับที่เท้าด้วยแรงที่สม่ำเสมอ ล้างออกด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้าขนหนู คุณสามารถเก็บสครับส่วนที่เหลือไว้ในกล่องที่ปิดฝาและจะมีอายุ 1 เดือน

สูตรสครับจากเกลือทะเลและเปปเปอร์มิ้นท์

สครับสูตรนี้จะช่วยทำให้ผิวหนังที่แข็งนั้นนุ่มลงและมีกลิ่นหอม ให้ผสมเกลือ 1 ถ้วย น้ำมันแอลมอนด์หรือน้ำมันมะกอก 1/3 ถ้วย สบู่จากเปปเปอร์มิ้นท์ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์หอมระเหยบริสุทธิ์ 6 หยดและน้ำเกลือ (ให้ผสมน้ำอุ่น 3 ควอทลงในอ่างก่อนเติมเกลือยิปซั่ม ¼ ถ้วย) ผสมส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน แช่เท้าลงในน้ำเกลือนาน 10-15 นาที่ก่อนจะนำสครับที่ทำไว้มานวดเท้าแล้วล้างออก

สูตรสครับเท้าจากน้ำตาล

น้ำตาลที่ไม่ขัดสีนั้นสามารถละลายในน้ำอุ่นได้ดีและทำให้เป็นส่วนผสมที่ดีในการช่วยผลัดเซลล์ผิวออกจากเท้าที่แห้ง นอกจากนั้นน้ำมันในสูตรนี้ยังจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเท้าและเก็บความชื้นไว้ได้นานหลายชั่วโมง วิธีทำ ให้ผสมน้ำตาล ½ ถ้วย น้ำมันอะไรก็ได้ที่เหลว ¼ ถ้วย (เช่นน้ำมันมะกอก, น้ำมันดอกคำฝอย หรือน้ำมันแอลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่เป็นกึ่งแข็งกึ่งเหลวเช่นน้ำมันมะพร้าวซึ่งจะทำให้ผสมได้ยาก) เข้ากับกลีบดอกไม้ที่มีกลิ่น ¼ ถ้วย เวลาที่ผสม ให้ถูกันแรงๆ เพื่อให้กลีบดอกไม้นั้นแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และปล่อยน้ำมันออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้สครับของคุณนั้นมีสีสวยและกลิ่นหอม เวลาใช้งาน ให้สครับเบาๆ ลงบนผิวที่เปียกเป็นวงกลมแล้วจึงล้างออก คุณสามารถเก็บสครับส่วนที่เหลือไว้ในโถได้นาน 1 สัปดาห์ หรือหากแช่ตู่เย็นอาจจะอยู่ได้นานกว่านั้น

สูตรสครับจากนมและน้ำตาล

นมนั้นดีต่อร่างกายโดยเฉพาะหากคุณสามารถนำมันมาช่วยดูแลเท้าได้ วิธีใช้ ให้เริ่มจากการแช่เท้าให้เปียก ผสมนมสดและน้ำร้อนในสัดส่วนที่เท่ากัน (และให้มากพอที่จะแช่เท้าได้) ในอ่างหรือกะละมังที่มีขนาดใหญ่พอที่จะแช่เท้า แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาทีหรือจนกว่าน้ำจะหายร้อน น้ำร้อนนั้นจะช่วยทำให้ผิวนุ่มในขณะที่กรดแลคติกในนมนั้นจะช่วยทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออก ไขมันในนมนั้นยังจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเท้าอีกด้วย หากต้องการทำเป็นสครับ ให้ผสมน้ำตาลเข้ากับน้ำมันมะพร้าวเพื่อให้เป็นครีมข้น ขนาดของเม็ดน้ำตาลที่แตกต่างกันนั้นจะช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้ นำมาสครับที่เท้าโดยเน้นที่ส้นเท้าและบริเวณที่แข็ง ล้างออกและเพิ่มความชุ่มชื้นด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าว หากต้องการเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากยิ่งกว่าเดิม ให้ใส่ถุงเท้าครอบไว้ 1 ชั่วโมงหรือข้ามคืน

สูตรสครับจากน้ำผึ้งและเลมอน

ผสมเกลือยิปซั่ม น้ำตาล และน้ำมันมะพร้าวอย่างละครึ่งถ้วยเข้าด้วยกันก่อนเติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันเลมอนหอมระเหย 5 หยดลงไป นำมาสครับบนเท้าที่เปียก ก่อนจะล้างออกและเช็ดให้แห้ง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเท้าด้วยครีม หากคุณสครับเท้าก่อนนอน ให้ใส่ถุงเท้าทันทีเพื่อเก็บความชุ่มชื้น แล้วคุณจะตื่นมาพบกับเท้าที่ดี

สูตรสครับเท้าจากมิ้นท์

ผสมน้ำตาลที่ไม่ขัดสี 2 ถ้วย น้ำมันมะพร้าว ½ ถ้วย และน้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์เล็กน้อย ก่อนนำมาสครับที่เท้าและทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกและเช็ดให้แห้ง สูตรนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่น ก่อนทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้หนาและใส่ถุงเท้าทิ้งไว้ข้ามคืน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Listerine foot soak: Does it work?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317588)
How to Remove Dead Skin from Feet: 7 Methods to Try. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-remove-dead-skin-from-feet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป