ปัญหาการแพ้นมในเด็กทารก

การแพ้นมแม่มักเกิดจากสารตกค้างที่มาจากอาหาร ยา หรือเวชสำอางค์ที่แม่ใช้ ในขณะที่นมผงนั้นเกิดจากการที่เด็กไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ปัญหาการแพ้นมในเด็กทารก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการแพ้นมในเด็กทารกสามารถเกิดขึ้นได้ มักพบในช่วง 1 ปีแรก และจะหายได้เองเมื่อโตเป็นวัยรุ่น
  • นมแม่ เป็นนมที่ดีที่สุดในการเลี้ยงเด็กทารก เพราะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทารกส่วนใหญ่ที่แพ้นมแม่ ไม่ได้แพ้นมแม่โดยตรง แต่แพ้สารตกค้างที่มาจากอาหาร หรือยาที่แม่ใช้
  • เด็กทารกมักแพ้นมผง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมเหล่านี้ได้ หากจำเป็นต้องเลี้ยงด้วยนมผง ควรปรึกษากุมารแพทย์
  • ในรายที่มีอาการแพ้นมมาก อาจมีอาการหายใจติดขัด อาเจียน ผื่นแดง ท้องร่วง หรืออุจาระเป็นเลือด หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรพาไปหาแพทย์ทันที
  • มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เมื่อโตขึ้นก็ยังมีอาการแพ้นมอยู่ การตรวจภูมิแพ้อาหารจะช่วยให้สามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารได้ที่นี่)

ปัญหาเรื่อง การแพ้นมในเด็กทารก เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ พบมากที่สุดในช่วงอายุ 1 ปีแรก โดยอาการแพ้นมมักจะหายไปเองภายใน 10 ปี เนื่องจากกระเพาะและลำไส้แข็งแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยที่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังมีอาการแพ้นมอยู่

อาการแพ้นมในเด็กทารก

อาการแพ้นมในเด็กทารกสามารถเกิดขึ้นได้ และมีอาการแพ้ตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง จนถึงระดับรุนแรงมาก (พบได้น้อย)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างอาการแพ้นมระดับรุนแรง เช่น ทำให้หายใจติดขัด ผิวหนังลอก เป็นแผล อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด เมื่อมีอาการเหล่านี้ถือว่า เป็นภาวะฉุกเฉิน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรไปพบแพทย์ทันที

นมแบบไหนที่เด็กทารกมีโอกาสแพ้?

ในปัจจุบัน มีนมจากหลายแหล่งที่สามารถนำไปเลี้ยงทารกแรกเกิดได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 

  1. นมจากธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “นมแม่” 
  2. นมที่มาจากการผสมระหว่างนมของสัตว์กับแร่ธาตุอาหารอื่นๆ เช่น นมผงที่มาจากนมวัว นมแพะ หรือนมผงที่มาจากถั่วเหลือง

ไม่ว่าจะเป็นนมชนิดไหนก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้นมในเด็กทารกได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ภูมิคุ้มกันของทารก อาหาร หรือยาที่แม่รับประทาน

นมแม่ เป็นนมจากธรรมชาติที่ปลอดภัยที่สุดในโลกจริงเหรอ?

นมแม่จัดเป็นนมที่ปลอดภัยที่สุด มีโอกาสที่เด็กจะแพ้นมแม่น้อยมาก หากเด็กเกิดอาการแพ้ สาเหตุมักไม่ได้มาจากนมแม่ แต่มาจากอาหาร ยา หรือสารพิษต่างๆ ที่แม่ได้รับในระหว่างที่อยู่ในช่วงให้นม

แต่โดยธรรมชาติแล้ว แม้ว่าแม่จะได้รับสารอาหารไม่ดีแค่ไหนก็ตาม ร่างกายก็จะสกัดเอาสารพิษเหล่านั้นออกไปก่อนจะออกมาเป็นนมแม่ แต่ก็มีบางครั้งที่อาจจะมีสารตกค้างจากยา หรือสารพิษอื่นๆ ที่สามารถส่งต่อไปยังนมแม่ได้

วิธีแก้ไขและป้องกันไม่ให้เด็กแพ้นมแม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • แม่ควรจะดูแลตัวเองให้มาก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินต่างๆ อาหารจะต้องสะอาด ปลอดสารพิษ และมีคุณประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • ระมัดระวังเรื่องการกินยา ไม่ว่าจะเป็นยาใดๆ ก็ตาม หรือแม้กระทั่งเวชสำอางต่างๆ เช่น ยาทาสิว ยาแก้สิวอักเสบ โดยจะต้องสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงสารเคมีต่างๆ ในช่วงให้นม

นมผงจากนมวัว นมแพะ และนมถั่วเหลือง เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดหรือไม่?

ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกต้องมากินนมผงที่มีส่วนผสมจากนมวัว นมแพะ หรือนมถั่วเหลืองคือ เด็กทารกบางรายไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมเหล่านี้ได้ เพราะโครงสร้างของโปรตีนในน้ำนมเหล่านี้ ได้แก่ เคซีนเวย์ และ β-Lactoglobulin เป็นโปรตีนที่ย่อยยากกว่าโปรตีนในนมแม่

อาการเฉพาะของการแพ้โปรตีนในนมวัวกับระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆ ที่ควรรู้ ได้แก่

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น สำรอกนม อาเจียน ร้องกวนหลังกินนม
  • ระบบทางเดินอาหารส่วนกลาง เลี้ยงไม่โต ท้องอืด อุจจาระร่วงเรื้อรัง
  • ระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย อุจจาระเป็นมูกเลือด

นอกจากนั้นระบบการย่อยและจัดการของเสียต่างๆ ของเด็กทารกแรกเกิดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถย่อย “แลคโตส*” ในนมเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ 

เมื่อย่อยได้ไม่ดีก็จะเกิดเป็นของเสีย จึงเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืดตามมา บางครั้งยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการแพ้รุนแรงได้อีกด้วย

(*แลคโตสเป็นน้ำตาลที่พบในนม)

วิธีการแก้ไขและป้องกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ให้รับประทานนมแม่ต่อไป โดยแม่จะต้องงดรับประทานนมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิดในช่วงที่ให้นม หรือให้นมสูตรพิเศษสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว (ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากกุมารแพทย์)
  • ไม่แนะนำให้ใช้นมถั่วเหลืองในเด็กที่มีอาการแพ้มาก เนื่องจากเด็กที่แพ้นมวัว 15-45% มักแพ้นมถั่วเหลืองด้วย

หากจำเป็นต้องให้ลูกรับประทานนมผงจริงๆ ต้องทำอย่างไร?

หากแม่ตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมผง ก็ต้องคอยสังเกตอาการต่างๆ ของลูกให้ดี เพราะบางครั้งอาการแพ้นมผงอาจไม่ได้เกิดขึ้นรุนแรง โดยอาจมีอาการแค่ท้องเสีย ท้องอืดก็ได้

เมื่อสงสัยว่า เด็กอาจจะแพ้นมผงก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะช่วยตรวจดูว่า เด็กแพ้นมชนิดใด เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนไปใช้นมผงชนิดอื่นแทน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับนมแม่ และนมผง

สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่จะต้องทำความเข้าใจคือ ในปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตนมผงรายใดที่สามารถผลิต หรือผสมนงผงที่มีคุณประโยชน์เทียบเท่ากับนมได้

แม้ในระยะหลังๆ จะมีโฆษณาว่า ได้เติมสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก หรือวิตามินต่างๆ เพื่อให้ได้สารอาหารเทียบเท่าตามที่นมแม่มี แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถเติมลงไปได้ก็คือ “ภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันในนมแม่นั้นจะส่งต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางนมแม่เท่านั้น หากเด็กไม่ได้รับนมแม่ก็อาจส่งผลให้มีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงได้

จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกแพ้นม?

อาการแพ้นมเกิดจากเด็กไม่สามารถย่อยน้ำนมได้ โดยมากมักมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • บ้วน หรือพ่นน้ำลายบ่อยๆ หรืออาเจียนหลังจากกินนม
  • ร้องไห้บ่อย โดยเฉพาะหลังจากเพิ่งกินนมเข้าไป (เพราะเด็กย่อยน้ำนมไม่ได้จึงเกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง)
  • ท้องร่วง หรือถ่ายเป็นเลือด
  • มีผื่นตกสะเก็ดตามผิวหนัง (โดยมากจะเกิดขึ้นกรณีเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน)
  • มีผื่นแดงเป็นวงใหญ่ ลักษณะตุ่มคล้ายๆ รังผึ้ง เป็นวงสีแดงนูนบนผิวหนัง
  • หายใจติดขัด มีอาการบวมแถวๆ บริเวณปาก หรือลำคอ
  • มีอาการเซื่องซึม เฉื่อยชา

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่า เด็กมีอาการแพ้นม ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ เพื่อตรวจระดับความรุนแรงในการแพ้ นอกจากนี้แพทย์จะให้คำแนะนำในการรับมืออาการแพ้ด้วย

ข้อควรปฏิบัติหลังจากลูกได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการแพ้นม

หากเด็กได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่า “มีอาการแพ้นมเพียงเล็กน้อย” เช่น มีอาการปวดท้องที่ไม่รุนแรงเท่านั้น ลองสังเกตดูว่า เด็กสามารถรับประทานขนมอบที่มีส่วนประกอบของนมได้หรือไม่ 

เพราะจากการศึกษาพบว่า เด็กส่วนมากสามารถรับประทานนมที่อยู่ในรูปขนมอบได้ แต่จะแพ้นมที่ไม่ได้ผ่านความร้อน

การที่เด็กได้รับนมที่อยู่ในรูปขนมอบนาน 3 เดือน จะทำให้ “ปฏิกิริยาแพ้นม” ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการแพ้นมน้อยกว่าเด็กที่ใช้วิธีหลีกเลี่ยงการดื่มนมโดยเด็ดขาด และสามารถรับประทานอาหารนมในรูปแบบอื่นๆ ได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามการให้อาหารกับเด็กที่มีประวัติภูมิแพ้ควรกระทำอย่างระมัดระวัง หากไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่า เด็กแพ้นม ควรยึดหลักหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนั้นๆ ไว้ก่อน และหากเด็กมีอาการแพ้รุนแรงให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการแพ้นม หรืออาหารอื่นๆ ให้ขาด คุณควรจดบันทึกอาหาร โดยบันทึกอาการของเด็ก และพฤติกรรมต่างๆ อ้างอิงกับอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้ประเมินเบื้องต้นได้ว่า เด็กแพ้อาหารชนิดใด

อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และต้องสังเกตคือ การเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ปราศจากแลคโตส หรือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง อาจไม่ช่วยให้อาการแพ้ดีขึ้น เพราะทารกที่มีอาการแพ้นมวัวมักแพ้โปรตีนในนมวัวไม่ใช่แลคโตส 

ยิ่งไปกว่านั้นเด็กบางรายที่แพ้โปรตีนนมวัวมักมีปัญหาในการย่อยโปรตีนในถั่วเหลืองด้วย

หากลูกของคุณแพ้นมวัวรุนแรง สิ่งที่ดีที่สุดคือให้ความร่วมมือกับกุมารแพทย์ จัดสรรอาหารที่เหมาะสมต่อตัวเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างแข็งแรง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gupta, RC. KidsHealth (2015). Milk Allergy. (https://www.rchsd.org/health-articles/milk-allergy/)
BetterHealth (2017). Allergies. Cow’s Milk Allergy. (https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ConditionsAndTreatments/cows-milk-allergy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)